วิธีหาความไม่คงที่ของค่าคงที่จาก CMB

นักฟิสิกส์เสนอวิธีการใหม่ในการวัดค่าคงที่ ที่เรียกว่า


fine-structure constant ในช่วงประมาณ 13 พันล้านปีก่อน ซึ่งจะเป็นการตรวจสอบว่าค่าคงที่นี้แตกต่างจากค่าที่วัดได้ในปัจจุบันนี้หรือไม่

วิธีการนี้เกี่ยวข้องกับการวัดว่า


อะตอมไฮโดรเจนดูดกลืนโฟตอนจากรังสีพื้นหลังไมโครเวฟ หรือ CMB อย่างไร มันอาจจะช่วยให้เรามีหลักฐานเพิ่มเติมว่าค่าคงที่พื้นฐานของธรรมชาตินี้อันบ่งบอกถึงความแรงของอันตรกิริยาแม่เหล็กไฟฟ้า จริง ๆ แล้วอาจไม่ได้เป็นค่าคงที่

ภาพประกอบ: เทหวัตถุที่อยู่ห่างไกลที่เรียกว่าเควซาร์ภาพประกอบ: เทหวัตถุที่อยู่ห่างไกลที่เรียกว่าเควซาร์


ส่วนใหญ่แล้ว การวัดค่าคงที่พื้นฐานของธรรมชาติ fine-structure constant นี้


ถูกกระทำบนโลกตลอดช่วงหนึ่งร้อยปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม มันเป็นไปได้ว่าปริมาณเหล่านี้จะแตกต่างกันไปเมื่อวัดที่สถานที่อื่นในเอกภพ หรือที่เวลาอื่น <>bจริง ๆ แล้ว การที่ค่าคงที่พื้นฐานสามารถแปรเปลี่ยนได้ตามเวลา และสถานที่ในเอกภพ

มีบทบาทสำคัญในบางทฤษฎีที่พยายามรวมแรงทั้งสี่ อันได้แก่

แรงโน้มถ่วง

แรงแม่เหล็กไฟฟ้า

แรงนิวเคลียร์แบบเข้ม และ

แรงนิวเคลียร์แบบอ่อน เข้าด้วยกัน

ภาพประกอบ: เทหวัตถุที่อยู่ห่างไกลที่เรียกว่าเควซาร์ภาพประกอบ: เทหวัตถุที่อยู่ห่างไกลที่เรียกว่าเควซาร์


นักฟิสิกส์บางคนเชื่อว่า


ค่าของ fine-structure constant มีค่าโตขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่เอกภพช่วงเริ่มแรก คือตั้งแต่การระเบิดบิ๊กแบง เมื่อราว 13.5 พันล้านปีก่อน การสังเกตแสงจากเทหวัตถุที่อยู่ห่างไกลที่เรียกว่าเควซาร์ (quasar) บ่งบอกว่า ค่า fine-structure constant เมื่อ 11 พันล้านปีก่อนน่าจะมีค่าเป็นหนึ่งในแสนของค่าในปัจจุบัน ขณะที่การวัดค่าคงที่นี้บนโลกของเราซึ่งใช้การศึกษาการสลายตัวของธาตุที่มีไอโซโทปกัมมันตรังสี ให้ผลว่าค่าคงที่นี้เปลี่ยนแปลงไปหนึ่งส่วนในสิบล้าน จากช่วง 4.6 พันล้านปีก่อน

ล่าสุด Benjamin Wandelt และ Rishi Khatri


แห่งมหาวิทยาลัย the University of Illinois วิทยาเขต Urbana-Champaign มลรัฐ Illinois สหรัฐอเมริกา ได้เสนอวิธีการวัดค่า fine-structure constant ในช่วง 10 100 ล้านปีหลังการระเบิดบิ๊กแบง (หรือราว [13.5 ล้าน ลบด้วย (10 ถึง 100 ล้าน)] ปีก่อน) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เรียกว่า ยุคมืด (dark ages)

ภาพประกอบ: เทหวัตถุที่อยู่ห่างไกลที่เรียกว่าเควซาร์ภาพประกอบ: เทหวัตถุที่อยู่ห่างไกลที่เรียกว่าเควซาร์


เมื่อเอกภพเย็นพอที่อะตอมไฮโดรเจนซึ่งเป็นกลางทางไฟฟ้าจะมีขึ้นได้


แต่เป็นช่วงเวลาก่อนที่ดวงดาวและกาแล็กซี่จะก่อตัว ในช่วงเวลานั้น อะตอมไฮโดรเจนดูดซับรังสีพื้นหลังไมโครเวฟของเอกภพ หรือ cosmic microwave background (CMB) ที่ช่วงความยาวคลื่นประมาณ 21 เซนติเมตร ซึ่งสอดคล้องกับการเปลี่ยนระดับพลังงานระหว่าง 2 สถานะพลังงานของอะตอมไฮโดรเจน ผลที่ได้ก็คือเส้นสเปกตรัมของการดูดกลืนใน CMB เส้นนี้ยังคงอยู่มาจนถึงเราในปัจจุบัน

Wandelt และ Khatri ได้แสดงว่า


ความยาวคลื่นที่มีค่าแม่นตรงจากการเปลี่ยนสถานะพลังงานมีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงในค่า fine-structure constant อย่างมาก เนื่องจากรังสีไมโครเวฟจากยุคมืดสามารถตรวจวัดได้ในปัจจุบัน พวกเขาจึงคิดว่าตำแหน่งในแถบสเปกตรัมที่แม่นตรงของเส้น 21-เซนติเมตรสามารถใช้เพื่อหาว่าค่า fine-structure constant เปลี่ยนแปลงไปตามเวลาอย่างไร หลังจากแยกผล redshift หรือการเลื่อนของสเปกตรัมไปที่ความยาวคลื่นที่ยาวกว่า อันเกิดจากการขยายตัวของเอกภพออกมาแล้ว

ภาพประกอบ: เทหวัตถุที่อยู่ห่างไกลที่เรียกว่าเควซาร์ภาพประกอบ: เทหวัตถุที่อยู่ห่างไกลที่เรียกว่าเควซาร์


ขณะที่อะตอมไฮโดรเจนดูดกลืนโฟตอนตลอดช่วงยุคมืด


Wandelt และ Khatri เชื่อว่ามันน่าจะเป็นไปได้ที่จะตามรอยการเปลี่ยนแปลงในค่า fine-structure constant ตลอดช่วงเวลาราว 100 ล้านปี ที่จริง ด้วยเหตุที่ไฮโดรเจนมีอยู่ทุกหนแห่งทั่วไปในยุคมืด นักวิจัยเชื่อมั่นว่าเทคนิกของพวกเขาสามารถใช้เพื่อสร้างแผนที่ที่แสดงว่าค่า fine-structure constant มีความแปรผันในสถานที่ต่าง ๆ ในอวกาศในยุคนั้นอย่างไร ซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์ในการค้นหาพลังงานมืด (dark energy)

อย่างไรก็ตาม แผนการดังกล่าว


ไม่สามารถใช้ได้กับดาวเทียมตรวจวัด CMB รุ่นปัจจุบัน นั่นคือดาวเทียม Wilkinson Microwave Anisotropy Probe (WMAP) ซึ่งไม่ได้ออกแบบให้วัดช่วงสเปกตรัมของรังสีไมโครเวฟที่มีเส้นสเปกตรัมการดูดกลืน 21 เซนติเมตร จากยุคมืด อย่างไรก็ตาม Wandelt คิดว่าการวัดอาจทำได้โดยใช้กล้องโทรทรรศน์ Long Wavelength Array (LWA) ซึ่งกำลังถูกสร้างในมลรัฐนิวเม็กซิโก ของสหรัฐอเมริกา ในปัจจุบัน

ภาพประกอบ: เทหวัตถุที่อยู่ห่างไกลที่เรียกว่าเควซาร์ภาพประกอบ: เทหวัตถุที่อยู่ห่างไกลที่เรียกว่าเควซาร์


นอกจากนี้


เรายังมีสัญญาณที่บ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงในค่า fine-structure constant อยู่อีกแหล่ง นั่นคือสัญญาณที่ซ่อนเร้นอยู่กับรังสีพื้นหลังอันเข้มข้นที่กำเนิดมาจากภายในกาแล็กซี่ของเราเอง Wandelt เชื่อมั่นว่ารังสีพื้นหลังนี้สามารถถูกตัดทิ้ง เพื่อให้การวัดสัญญาณนี้มีความถูกต้องแม่นยำได้เพียงพอภายในทศวรรษนี้


ขอขอบคุณ ข้อมูลที่มีประโยชน์จาก เว็บไซต์วิชาการ ดอทคอม
เพื่อร่วมกันสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้บนโลกอินเตอร์เน็ต

ผู้มีบทความทางด้านวิทยาศาสตร์น่ารู้
สามารถส่งผลงานของท่านมาได้ที่ arunee@teeneemedia.com

วิธีหาความไม่คงที่ของค่าคงที่จาก CMB


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์