เพชร... เลอค่าอมตะ

เพชร... เลอค่าอมตะ


เพชรเม็ดโต สะท้อนแสงเป็นประกายงดงามยิ่งกว่าอัญมณีใดๆ

นอกจากความสวยงามที่ปรากฏให้เห็นเด่นชัดแล้ว เพชรยังเป็นวัตถุที่แข็งที่สุดในโลก และมีมูลค่าอันแพงโขทีเดียว เมื่อปี ค.ศ. 1995 Sotheby's ได้ขาย เพชร 100.1 กะรัตให้แก่ เจ้าอาหรับ ชาวซาอุดิอารเบีย เป็นมูลค่า 16,548,750 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐ เป็นเพชรที่ราคาแพงที่สุดในโลกเลย (1 กะรัตนี่ก็แค่ 1/5 กรัมเท่านั้นเอง โอ้ย... ทำไมรวยจัง!)

ที่มาของชื่อ: เพชร มาจากภาษากรีก 'adamas' หมายถึง 'ไม่สามารถจะปราบได้' ซึ่งก็คือ ความแข็งของเพชรนั่นเอง

สี
: ใส, เหลือง, น้ำตาล, เขียว, น้ำเงิน, ชมพู, แดง

แหล่งที่มา
: แอฟริกาใต้, อินเดีย, อินโอนีเซีย, จีน, รัฐเซีย, ออสเตรเลีย, บราซิล, แคลิฟอร์เนีย, โคโลราโด, แคนาดา (ประเทศไทยเราก็มีอยู่บ้างเล็กน้อย แถบภาคตะวันออกหนะ)

จริงๆ แล้ว เพชรนั้น ก็คือ กลุ่มของอะตอมคาร์บอน (carbon, C) อะตอมชนิดเดียวกันกับที่อยู่ใน ถ่าน

ไส้ดินสอ แกรไฟต์ หรือ แม้แต่เขม่าควันไฟ และก็เป็นชนิดเดียวกันกับที่เป็นส่วนประกอบพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตด้วย ร่างกายของเรามีคาร์บอนเป็นส่วนประกอบอยู่ประมาณ 18% ไม่รู้ว่าจะแบ่งไปขายได้ซักกี่บาทสิ?

ในศตวรรษที่ 18 นักขุดทองในประเทศบราซิล โยนเพชรที่ยังไม่ได้เจียรไนทิ้ง เพราะความรู้เท่าไม่ถึงการ คิดว่ามันไม่มีค่าอะไร แหม... เสียดายจัง!

เพชร... เลอค่าอมตะ


ทำไมเพชรจึงแข็งนักล่ะ?

เหตุผลหนึ่ง ก็คือ พันธะเคมีระหว่างอะตอมคาร์บอน แต่ละอะตอมในเพชรนั้นแข็งแรงมาก และ โครงสร้างของอะตอมในเพชรนั้น ก็แข็งแรง กล่าวคือ คาร์บอนแต่ละอะตอมจะมี คาร์บอนอีกสี่อะตอมล้อมรอบ สร้างเป็นเครือข่ายที่แข็งแรง พูดอย่างเดียวอาจจะมองไม่เห็นภาพ ยังไงลองมาดูภาพกันดีกว่า…

เพชร... เลอค่าอมตะ


แล้วทีนี้ลองมาดู ภาพโครงสร้างของแกรไฟต์ดูบ้าง แกรไฟต์นั้นมีโครงสร้างเป็นชั้นๆ ไม่เป็นเครือข่ายติดกันไปหมดซะทีเดียวเหมือนกับเพชร ภาพโครงสร้างแกรไฟต์ที่เห็นข้างล่างนี้ ก็เป็นเพียงชั้นเดียวเท่านั้น

เพชร... เลอค่าอมตะ


จากภาพจะเห็นว่า การที่จะขยับอะตอมคาร์บอนแต่ละอะตอมในเพชรนั้น

จะส่งผลกระทบถึง อะตอมรอบข้างอีกถึงสี่อะตอม ขณะที่ ในโครงสร้างที่เป็นชั้นๆ ของแกรไฟต์นั้น เราสามารถขยับแต่ละชั้นของคาร์บอนได้อย่างไม่ยากเย็นนัก (เหมือนลอกขนมชั้นทานทีละชั้นเลย... อร่อย!) นี่ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ แกรไฟต์นั้นเปราะบางกว่าเพชรอย่างมาก ทั้งๆ ที่ทั้งคู่มีธาตุคาร์บอนเป็นองค์ประกอบเหมือนกัน

เพชร... เลอค่าอมตะ


ทำไมเพชรจึงมีประกายสวยงาม?

ฮืมม์... อธิบายอย่างง่ายๆ อันนี้ก็เพราะแสงผ่านเข้าไปในเพชร จะสะท้อนกลับไปมา จนกว่าจะสามารถหาทางออกได้ เพชรนั้นทำหน้าที่เหมือนปริซึม ที่สามารถกระเจิงแสงออกเป็นสีๆ (ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง) เราจึงเห็นเพชรเป็นประกายสวยงาม

โครงสร้างที่หนาแน่นของเพชร ทำให้แสงเดินทางช้าลงอย่างมาก แสงเดินทางในเพชรด้วยความเร็ว น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง ของความเร็วแสงในสูญญากาศเสียอีก

ขอขอบคุณสาระดีดี จาก วิชาการ.คอม ค่ะ


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์