โบท็อกซ์ (Botox): สวยด้วยยาพิษ(1)

โบท็อกซ์ (Botox): สวยด้วยยาพิษ(1)


โบท็อกซ์ (Botox): สวยด้วยยาพิษ


เคยได้ยินคำว่า “โบท็อกซ์” กันบ้างไหมครับ?

เคยได้ยินไหมครับว่า มีสารที่ฉีดลบรอยเหี่ยวย่น (ตีนกา) บนใบหน้าได้?

เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องจริงหรือเป็นเพียงคำเล่าลือ?

ในบทความตอนนี้ เราจะมาดูกันว่า คนเราอุตริวิตถารขนาดนำเอา “สารพิษ” มาใช้ประโยชน์ ในการทำศัลยกรรมความงามกันได้อย่างไร


โบท็อกซ์ คืออะไร ?


คำว่า “โบท็อกซ์ (Botox?) เป็นชื่อทางการค้า (trade name) ของสารชีวภาพชนิดหนึ่งคือ โบทูลินัม ท็อกซิน เอ (Botulinum toxin A) ซึ่งถ้าใครไปค้นคำว่า “โบทูลินัม” ดู ก็จะพบว่าเป็นชื่อของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งคือ คลอสทริเดียม โบทูลินัม (Clostridium botulinum) ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษแก่มนุษย์

โบท็อกซ์ (Botox): สวยด้วยยาพิษ(1)


คำว่า “ท็อกซิน” นั้นแปลตรงตัวว่า “สารพิษ”

แต่ว่าคำนี้เป็นคำกลางๆ นะครับ กล่าวคือ อาจจะเป็นสารพิษต่อมนุษย์หรือไม่ก็ได้ เช่น สารพิษบางอย่างเป็นพิษต่อแมลงบางชนิด แต่ไม่เป็นพิษต่อมนุษย์ ในกรณีนี้ก็เรียกสารดังกล่าวว่า “ท็อกซิน” ได้เช่นเดียวกัน ส่วนคำว่า “เอ” นั้นระบุว่า ท็อกซินชนิดนี้เป็นหนึ่งในท็อกซินที่สิ่งมีชีวิตชนิดนี้ผลิตได้ (มีทั้งหมด 7 ชนิด)

ในบทความนี้ ผมจะขออนุญาตเรียกว่า “ท็อกซิน” ทับศัพท์ไป แทนที่จะใช้ว่า “สารพิษ” หรือ “ชีวพิษ” (ตามการบัญญัติศัพท์ของราชบัณฑิตยสถาน) เพราะต้องการหลีกเลี่ยงความหมายที่เหลื่อมล้ำกันเล็กน้อยสำหรับคำในภาษาอังกฤษและไทยนะครับ

ขอสรุปง่ายๆ เสียตรงนี้ก่อนว่า โบท็อกซ์ นั้นมีที่มาจากท็อกซิน ที่พบในแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษในมนุษย์นั่นเอง


โบท็อกซ์ (Botox): สวยด้วยยาพิษ(1)


ท็อกซินชนิดนี้พบตามธรรมชาติตั้งแต่ปี 1817 โดยนายแพทย์ชาวเยอรมันชื่อ จัสทินัส เคอร์เนอร์ (Justinus Kerner)

ท็อกซินชนิดนี้มีอันตรายไม่น้อย กล่าวคือ อาจมีความรุนแรง ถึงขนาดทำให้ผู้ป่วยเป็นอัมพาต หรือถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว เนื่องจากท็อกซินดังกล่าว จะออกฤทธิ์โดยการไปจับกับส่วนปลายของเซลล์ประสาท ทำให้เซลล์ประสาท ไม่สามารถหลั่งสารสื่อประสาท (neurotransmitter) ชนิดหนึ่ง คือ อะซีทิลโคลีน (acetylcholine) ได้ มีผลทำให้กล้ามเนื้อไม่อาจหดตัวได้ ซึ่งในผู้ป่วยรายที่เสียชีวิต สาเหตุส่วนใหญ่ก็มักจะมาจากว่า กล้ามเนื้อหน้าอกซึ่งเกี่ยวข้องกับการหายใจ ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ นั่นเอง


อ่านมาถึงตรงนี้ บางคนอาจจะเริ่มสงสัยแล้วสินะครับว่า ถ้าการมีท็อกซินดังกล่าวมีอันตรายเช่นนั้นแล้ว ทำไมยังจะมีคนต้องการฉีด “โบท็อกซ์” อยู่อีก หรือไม่เช่นนั้นก็อาจจะสงสัยว่า ก็แล้ว “โบท็อกซ์” มาเกี่ยวข้องกับการลบรอยเหี่ยวย่นได้อย่างไร คำตอบเรื่องนี้ง่ายนิดเดียวนั่นก็คือ …

การที่กล้ามเนื้อส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ (หรือเป็นอัมพาตไป) ก็จะมีผลข้างเคียงสำคัญคือ มันจะไม่สามารถทำให้เกิด “รอยเหี่ยวย่น” ได้นั่นเองครับ

ขอขอบคุณสาระดีดีจาก
ดร. นำชัย ชีววิวรรธน์ ผู้เขียน และ วิชาการ.คอม ค่ะ


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์