เขาประหารกันอย่างไร ในอังกฤษ


เขาประหารกันอย่างไร ในอังกฤษ

       ในสมัยที่โทษประหารยังได้รับความนิยม ประเทศอังกฤษมีการประหารชีวิตกันอย่างแพร่หลายมาก ประหารกันเยอะประหารกันบ่อยกว่าแถวสยามมากๆ ประหารกันทุกปี ปีละหลายๆ ครั้ง บางครั้งก็ทีละหลายๆ คน ปีสุดท้ายที่มีการประหารชีวิตก็คือปี 1964 หรือ 50 ปีที่แล้ว แต่กฏหมายที่ยกเลิกโทษประหารจริงๆ อย่างเป็นทางการ ประกาศเมื่อปี 1998 นี่เอง ปัจจุบันกฏหมายของสหภาพยุโรปบังคับให้ประเทศสมาชิกยกเลิกโทษประหารชีวิต จนทำให้ประเทศในยุโรปไม่มีการใช้โทษประหารอีกแล้ว
ก่อนจะพูดถึงโทษประหาร ก็มารู้กันนิดหนึ่งว่าทำผิดฐานใดถึงจะมีสิทธิตายได้บ้างในอังฤษสมัยก่อน


ถ้าเทียบกับไทยแล้ว โทษประหารแต่อดีตโดยทั่วไป ยกเว้นต้องโทษฐานกบฏหรือผิดอาญาศึก จะสงวนไว้ใช้กับพวกฆาตกรเป็นหลัก

แต่ในอังกฤษ ความผิดหลายๆ สถานที่ถ้าเป็นคนไทยมองดูแล้วมันเบาหวิวดั่งปุยนุ่น ก็มีสิทธิโดนประหารได้ง่ายๆ

ความผิดข้อหาแรกที่โดนประหารแน่ๆ ก็คือข้อหากบฏ ข้อหานี้มีโทษถึงตาย คนที่โดนข้อหานี้มีตั้งแต่พระเจ้าแผ่นดินลงมาถึงสามัญชน มีผู้ถูกประหารนับไม่ถ้วน วิธีการประหารก็หลากหลาย ขึ้นกับสถานภาพของนักโทษเองด้วย

ความผิดฐานถัดมาก็คือฆาตกรรม อันนี้ไม่แปลก

แต่ความผิดฐานอื่นๆ ที่ดูไม่น่าจะหนักหนาสาหัส เช่น ปลอมเงิน ปลอมเอกสาร ปล้น เป็นแม่มด หรือแม้แต่ศรัทธาในศาสนาคริสต์คนละนิกายกับเจ้าแผ่นดินในขณะนั้น ก็มีสิทธิถูกประหารได้
ในตลอดประวัติศาสตร์หนึ่งพันปีที่ผ่านมา มีผู้ถูกประหารชีวิตในอังกฤษด้วยข้อหาต่างๆ ทั้งหญิงและชายหลายหมื่นคน

ส่วนวิธีประหารก็มีหลากหลาย เช่นตัดหัว แขวนคอ เผาทั้งเป็น ต้มในหม้อ เอาทินทับ ลาก แขวน ตอน ชำแหละ ยิงเป้า แต่ละแบบก็โหดแตกต่างกันไป จนหลังๆ มีการพัฒนาให้มีมนุษยธรรมมากขึ้น โหดน้อยลง ทำให้ผู้ถูกประหารเจ็บปวดทรมานน้อยที่สุด

นักโทษประหารที่มีสถานะสูงสุด ได้แก่พระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ ถูกประหารโดยการตัดศีรษะด้วยข้อหากบฏ ทุรยศต่อแผ่นดิน



อังกฤษโบราณนั้น เอาเป็นว่าตั้งแต่สมัยสองสามพันปีก่อน ยุคที่พวก Celt หรือชนพื้นเมืองดั้งเดิมครอบครองเกาะ นิยมใช้การตัดหัวในการปลิดชีวิตฝ่ายตรงข้าม มีวัฒนธรรมในการเก็บหัวของศัตรูเป็นที่ละลึกคล้ายๆ อีกหลายเผ่าในที่อื่นๆ ทั่วโลก การตัดหัวใช้กันเรื่อยมาจนสมัยโรมันมายึดเกาะ จนโรมันเสื่อมสลายลงเป็นพวกไวกิ้งมีอำนาจ จนกระทั่งกษัตริย์วิลเลี่ยมที่ 1 มายึดเกาะอังกฤษในปี 1066 โทษประหารโดยการตัดหัวเริ่มกลายเป็นของสงวนสำหรับชนชั้นสูง เพราะถือว่าเป็นการประหารที่มีเกียรติ ทรมานน้อย เหยื่อตายเร็ว ส่วนอาชญากรอื่นๆ จะใช้การแขวนคอหรือประการด้วยวิธีการอื่นๆ แทน


การประหารโดยการตัดหัวนั้น แรกเริ่มเดิมทีใช้การตัดหัวด้วยดาบ แต่การตัดหัวด้วยดาบเป็นวิธีที่ต้องอาศัยปัจจัยหลายๆ อย่างร่วมด้วย อย่างแรกได้แก่ตัวนักโทษต้องให้ความร่วมมือ นั่งคุกเข่าไม่ขยับ ดาบที่ใช้ต้องคมและหนัก นอกจากนั้นฝีมือของเพรชฆาตต้องดีด้วย ถ้านักโทษขยับในเสี้ยววินาทีที่ลงดาบ หรือเพชรฆาตไม่แม่น ดาบไม่คม โอกาสฟันฉับเดียวหัวหลุดเป็นไปได้ยากมาก กลายเป็นว่าฟันโดนหัวบ้างโดนตัวบ้าง แทนที่จะตายง่ายๆ กลายเป็นตายแบบทรมานไป วิธีนี้เลยเสื่อมความนิยมอย่างรวดเร็ว


เขาประหารกันอย่างไร ในอังกฤษ

เมื่อการประหารด้วยดาบไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหยื่อที่โดนประหารเป็นคนชั้นสูงเป็นส่วนใหญ่ เสียงโวยวายเลยดังหน่อย ถ้าเป็นชนชั้นอาชญากรก็คงไม่มีใครแคร์เท่าไหร่ ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาหันไปใช้อุปกรณ์อื่นที่ทำให้การตัดหัวราบลื่นกว่าการใช้ดาบ

และแล้ว ขวานและบล็อกไม้ก็ถูกนำมาใช้แทน

ขวานมีข้อดีกว่าดาบคือ ตัวขวานมีน้ำหนักที่มากกว่าดาบ ทำให้มีโมเมนตั้มเยอะกว่า แรงตัดเยอะ ตัดคอได้ง่าย ไม่ต้องใช้เพรชฆาตที่มีทักษะสูงเท่าดาบ นอกจากนั้นยังมีการใช้ร่วมกับบล็อกไม้ ทำให้นักโทษไม่สามารถขยับได้มากเท่าไหร่ แค่ไปนั่งคุกเข่าเอาหัวพาดบล็อกรอ การลงขวานจึงแม่นยำกว่าดาบมาก ทำให้วิธีนี้ได้รับความนิยม นำมาใช้ตัดหัวชนชั้นสูงโดยทั่วกัน


เขาประหารกันอย่างไร ในอังกฤษ

การประหารด้วยขวานที่ออกจะวุ่นวายครั้งหนึ่งเกิดขึ้นในปี 1330

Edmund, Duke of Kent เป็นโอรสของกษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่ 1 และเป็นน้องชายของเอ็ดเวิร์ดที่ 2

ใครที่ยังจำหนัง Brave heart ได้คงจำจำกษตริย์เอ็ดเวิร์ดเครายาวได่ นั่นก็คือเอ็ดเวิร์ดที่ 1 นี่แหละ ส่วนโอรสที่ไม่ได้เรื่องแถมเป็นเกย์ในหนัง ต่อมาคือเอ็ดเวิร์ดที่สอง เนื้อเรื่องต่อจากในหนังคือเอ็ดเวิร์ดที่ 2 ถูกปลงประชนม์โดยมเหสี ราชินีอิสสาเบลล่าและชู้รัก โรเจอร์ มอติเมอร์ จากนั้นยกเอ็ดเวิร์ดที่ 3 โอรสวัยเยาว์ของพระนางกัลเอ็ดเวิร์ดที่ 2 ขึ้นเป็นกษัตริย์แทน

เอ็ดมุนด์ถูกจับข้อหากบฏและถูกตัดสินให้ประหารด้วยการตัดหัว แต่ปัญหามีอยู่ว่า เอ็ดมุนด์มีเลือดของกษัตริย์ แถมเป็นอาของกษัตริย์ปัจจุบัน เพชรฆาตที่ทำการประหารชีวิตอาจถูกจับด้วยข้อหากบฏซะเองตามกฏหมายในสมัยนั้น เพรชฆาตจึงปฏิเสธที่จะลงมือ


เมื่อเพชรฆาตปฏิเสธ มอติเมอร์เลยสั่งทหารให้ลงมือแทน แต่ผลก็เป็นแบบเดิม เหล่าทหารปฏิเสธที่จะลงมือ เอ็ดมุนด์ต้องรอการประหารอยู่นานหลายชั่วโมง จนสุดท้ายมอติเมอร์สัญญากับคนทำความสะอาดห้องน้ำ ซึ่งเป็นนักโทษประหารอีกคนที่กำลังจะถูกแขวนคอ ให้ทำหน้าที่เป็นเพชรฆาต แลกกับการอภัยโทษ นักโทษผู้นี้เลยอาสาเป็นเพชรฆาต และสามารถลงมือได้อย่างสัมฤทธิ์ผล ตัดหัวท่านดุ๊คได้ด้วยขวานในฉับเดียว

ภาพเอ็ดมุนด์ไม่มี เอาภาพเอ็ดเวิร์ดที่ 1 พ่อของเอ็ดมุนด์ไปดูแทน

ปล กระทู้นี้ใช้ราชาศัพท์มั่งไม่ใช้มั่งเพื่อให้ง่ายต่อการเขียน กราบขออภัยทุกท่านด้วยครับ


เขาประหารกันอย่างไร ในอังกฤษ

บางคนอาจจะสงสัยว่า เอ๊ เค้าทำอย่างไรกันถ้านักโทษดิ้นรนหรือไม่ให้ความร่วมมือกับการประหารโดยการตัดคอแบบนี้

วิธีแก้ก็คือ บล็อกหรือเขียงไม้โดยทั่วไปจะมีสองขนาด คือแบบสูงกับแบบต่ำ

แบบสูงจะสูงประมาณ 2 ฟุต นักโทษนั่งคุกเข่าเอาคอพาดเขียงรอ ส่วนแบบต่ำจะสูงน้อยกว่า 1 ฟุต ใช้กับนักโทษที่ดิ้น ต้องมีการมัด วิธีนี้นักโทษจะนอนเอาคอพาดเขียง

ภาพการประหาร Anna Månsdotter นักโทษหญิงในสวีเดนในปี 1890 จากภาพจะเห็นการใช้บล็อกแบบต่ำ สวีเดนใช้การประหารโดยการตัดคอแบบนี้จนถึงปี 1903 ซึ่งเปลี่ยนมาใช้กิโยตินแทน
ภาพนี้ดูแล้วมันหดหู่หน่อย ถือซะว่าเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ละกันนะครับ


เขาประหารกันอย่างไร ในอังกฤษ

แม้การตัดหัวด้วยขวานจะง่ายดายและไม่ต้องอาศัยทักษะของเพชรฆาตมากเท่าการตัดด้วยดาบ แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีปัญหา


เพชรฆาตที่ทำการประหาร จะเป็นเพชรฆาตทั่วไป ที่รับงานทั้งการประหารด้วยการแขวนคอ ต้ม เผา นักโทษด้วย ไม่ได้เป็นผู้เชียวชาญการใช้ขวานแบบมืออาชีพ ดังนั้นแม้จะใช้ขวานที่ไม่ต้องอาศัยทักษะมาก แต่การประหารก็ไม่ได้เป็นไปโดยราบลื่นทุกครั้ง


ครั้งหนึ่งที่ไม่ราบลื่น คือการประหารมากาเร็ต โพล เลดี้แห่งซาลิสเบอรี่ (Margaret Pole, Countess of Salisbury) มากาเร็ตเป็นอดีตนางกำนัลของราชินีแคทเธอรีนแห่งอารากอน มเหสีคนแรกของกษัตริย์เฮนรี่ที่ 8


มากาเร็ตถูกประหารเนื่องจากนางเป็นคาโธลิก และบุตรชายของนางเป็นพระคาธอลิกมีตำแหน่งเป็นถึงคาดินาล เมื่อเฮนรี่ที่ 8 แตกหักกับวาติกัน พระคาดินาลลูกชายนางหลบหนีออกจากอังกฤษ เคราะห์กรรมเลยตกสู่แม่ ซึ่งขณะนั้นมีอายุ 67 ปีแล้ว แถมเป็นอัลไซเมอร์ ถูกจับไปขังที่หอคอยลอนดอน และถูกประหารชีวิตเมื่อปี 1541


การประหารเต็มไปด้วยข้อผิดพลาด เพชรฆาตลงขวานฉับแรกพลาดจากคอไปโดนหัวไหล่แทน ลงขวานใหม่โดนหัวบ้าง ไม่โดนคอจังๆ บ้าง ต้องมีการลงขวานถึง 11 ครั้งกว่าจะสำเร็จโทษเลดี้มากาเร็ตได้ น่าสยดสยองมาก นับเป็นการประหารโดยขวานที่ต้องมีการลงขวานมากที่สุดในประวัติศาสตร์การประหารโดนขวานในอังกฤษ

กรณีของเลดี้มาการเร็ตดูเลวร้ายแล้ว แต่ไม่ใช่กรณีเลวร้ายที่สุด ในฝรั่งเศส ปี 1626 Henri de Chalias ถูกตัดสินประหารเนื่องจากมีส่วนร่วมแผนปลงประชนม์พระเจ้าหลุยส์ที่ 13 การประหารโดยการตัดหัวในฝรั่งเศสสมัยนั้นใช้ดาบไม่ใช่ขวาน ผู้เห็นเหตุการณ์บันทึกว่ากว่าท่านเคาท์จะเงียบเสียงก็หลังการลงดาบครั้งที่ 12 แล้ว สถิติบันทึกว่าเพชรฆาตต้องลงดาบถึง 29 ครั้งกว่าจะตัดหัวท่านเคาท์ได้

ภาพเลดี้มากาเร็ตกับท่านเคาท์ผู้เคราะห์ร้าย


เขาประหารกันอย่างไร ในอังกฤษ


เขาประหารกันอย่างไร ในอังกฤษ

อีกครั้งที่ไม่ราบลื่น คือการประหารดุ๊คแห่งมอนมัธเมื่อปี 1685

James Scott, 1st Duke of Monmouth เป็นบุตรนอกสมรสของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ เมื่อพระเจ้าเจมส์ที่ 2 ครองราชย์ต่อ ท่านดุยุคก่อกบฏแต่พ่ายแพ้ จึงต้องโทษประหารชีวิต การประหารจัดขึ้นที่หอคอยลอนดอน เพชรฆาตที่ลงขวานคือแจ็ค แคทช์ เพชรฆาตมืออาชีพแต่ออกจะถนัดงานแขวนคอมากกว่าตัดหัว

ผู้เห็นเหตุการณ์เล่าว่า วันที่ 15 กรกฎาคม 1685 ท่านดยุคเดินอย่างสง่าผ่าเผยขึ้นไปบนเวทีที่ใช้ประหารชีวิต ระหว่างนั้นเหลือบไปเห็นขวาน ท่านดยุคลองเอานิ้วมือลูบคมขวานดู แล้วก็พบว่ามันช่างทื่อเสียนี่กระไร เพชรฆาตไม่เคยลับขวานเลย เพชรฆาตยืนยันว่าใช้การได้ แม้จะไม่แน่ใจ ท่านดยุคได้ทิปเพชรฆาตก่อนตามธรรมเนียมด้วยเงินจำนวนไม่น้อยเลย บอกกับเพชรฆาตให้ลงขวานให้แม่น เพราะถ้าต้องลงขวานครั้งที่สอง ท่านดยุคสัญญาไม่ได้ว่าจะไม่ขยับตัว แจ็ค แคทช์ให้ความมั่นใจกับท่านดยุคอีกครั้ง รับรองว่าไม่มีปัญหา

เมื่อถึงเวลา ปรากฏว่าตาแจ็คเฟอะฟะ ลงขวานครั้งแรกโดนหลังหัวท่านดยุค ท่านดยุคหันกลับมามองด้วยสายตาตำหนิ แจ็คลงขวานครั้งที่สอง ไม่ขาด จนต้องลงขวานครั้งที่สาม ก็ยังไม่ขาด แจ็คหมดความอดทน โยนขวานทิ้ง บอกว่าทำต่อไม่ไหวแล้ว ส่วนท่านดยุคยังมีชีวิตรอคมขวานครั้งต่อไปอยู่อย่างสงบสมสายเลือดกษัตริย์ เจ้าหน้าที่บอกให้แจ็คทำการประหารต่อให้เสร็จ แจ็คเลยต้องกลับมาลงขวานอีกสองฉับ แต่หัวของท่านดยุคก็ยังไม่หลุดออกจากบ่า สุดท้ายเจ็คต้องใช้มีดเฉือนจนขาดออกจากกัน

ภาพท่านดยุคและฉากการประหาร

เขาประหารกันอย่างไร ในอังกฤษ

การประหารชีวิตที่โด่งดังที่สุดครั้งหนึ่ง คือการประหารชีวิตแอนน์ โบลีน มเหสีของกษัตริย์เฮนรี่ที่ 8 ด้วยข้อหาคบชู้ เพราะเฮนรี่ต้องการเปลี่ยนมเหสีใหม่ เฮนรี่และคณะที่ปรึกษาเกรงว่า การประหารชีวิตราชินีโดยให้คุกเข่าเอาหัวพาดเขียงอาจทำให้เกิดภาพลบที่ไม่น่าดูและสร้างความน่าสงสารต่อสาธารณชนดังนั้น แทนที่จะใช้ขวาน ที่ประชุมจึงตกลงว่าจะให้ประหารโดยการใช้ดาบแทน

ด้วยความเมตตาของเฮนรี่ ต้องการให้การประหารราบลื่นไร้ข้อผิดพลาด ให้แอนน์ตายอย่างรวดเร็วไร้ความเจ็บปวด จึงมีการเลือกหานับดาบมืออาชีพมาทำหน้าที่ขณะนั้นแคว้นคาเล่ย์ในฝรั่งเศสเป็นส่วนหนึ่งของอังกฤษ นักดาบ Jean Rombaud ได้รับข้อเสนอให้ทำหน้าที่เพชรฆาตประหารชีวิตอดีตราชินีแห่งอังกฤษ
แต่เนื่องจากคณะกรรมการสรรหายังไม่แน่ใจฝีมือของชองนัก ดังนั้นพ่อนักดาบจึงต้องมีการสาธิตให้ดูก่อน
การสาธิตจัดขึ้น โดยการนำนักโทษประหารสองคนมาผูกตานั่งบนเก้าอี้เคียงข้างกัน ชองกวัดแกว่งดาบเหนือหัวเหยื่อทั้งสองสองสามรอบเป็นการอุ่นเครื่อง ก่อนที่จะตวัดดาบตัดคอของทั้งคู่พร้อมกันได้ในดาบเดียว

ในวันประหารแอนน์ อดีตราชินีต้องเดินมาขึ้นนั่งร้านที่ใช้ประหาร ชองมืออาชีพมาก เอาดาบที่จะใช้ไปซ่อนไว้ไม่ให้อดีตราชินีเห็นเพราะนางอาจจะตกใจเมื่อแอนน์นั่งคุกเข่ารอการประหาร ชองก็หยิบดาบที่ซ่อนไว้ขึ้นมาเงียบๆ แกล้งกระซิบถามผู้ช่วยให้หยิบดาบให้ แอนน์ซึ่งกำลังนั่งคุกเข่าก้มหน้าสวดมนอยู่ ได้ยินเสียงชองถามหาดาบ จึงผงกหัวขึ้นมานึดนึง ในจังหวะนั้น ชองตวัดดาบผ่านลำคอของแอนน์อย่างรวดเร็วในดาบเดียวผู้เห็นเหตุการณ์บางคนเล่าว่า เมื่อเพชรฆาตชูศีรษะของแอนน์ขึ้น ปากของแอนน์ยังคงขยับสวดมนต์อยู่เลย


ภาพฉากการประหาร และจุดที่มีการประหารชีวิตแอนน์ โบลีน ในหอคอยแห่งลอนดอน


เขาประหารกันอย่างไร ในอังกฤษ


เขาประหารกันอย่างไร ในอังกฤษ

Cr:: reurnthai.com

เขาประหารกันอย่างไร ในอังกฤษ

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
เช็คเบอร์มือถือ คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์