ประสูตินอกเศวตรฉัตร กับสถานะของการเป็นพระเจ้าลูกเธอ

คำว่า ประสูตินอกเศวตรฉัตรนี้เห็นทีจะเป็นเรื่องใหม่ของหน้าประวัติศาสตร์ไทยในยุคปัจจุบัน เพราะตั้งแต่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 รัชกาลที่ 7 รัชกาลที่ 8 และพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศรัชกาลที่ 9 รวมเป็นเวลาร้อยกว่าปีที่ไม่เคยมีกรณีของการประสูติลูกเธอนอกเศวตรฉัตรเลยจนเกิดขึ้นอีกครั้งในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ที่ลูกเธอต่างประสูตินอกเศวตรฉัตรทุกพระองค์

ทำไมจึงต้องใช้คำว่า ประสูตินอก และประสูติในเศวตรฉัตร ก็เพราะว่าพระเจ้าอยู่หัวทุกพระองค์ เมื่อได้ครองราชสมบัติเป็นพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ก็จะเสด็จเข้าพระราชพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นเป็นพ่ออยู่หัว พระองค์จะเสด็จขึ้นประทับยังพระที่นั่งราชบัลลังก์ ด้านบนกางกั้นด้วยนพปฎลมหาเศวตฉัตร หรือ "ฉัตรขาว 9 ชั้น" ซึ่งเป็นฉัตรสำหรับพระเจ้าอยู่หัวเท่านั้น ดังนั้นลูกเธอที่ประสูติก่อนพ่อจะครองราชย์จะเป็นลูกเธอประเภทนอกเศวตรฉัตร ส่วนลูกเธอที่ประสูติหลังพ่อครองราชย์จะลูกเธอประเภทในเศวตรฉัตร

ทีนี้มาถึงความแตกต่างของลูกเธอทั้งสองประเภท ก็เห็นจะมีอีกหนึ่งเรื่องนั่นก็คือ "ฐานันดรศักดิ์" คำนี้หมายถึง ศักดิ์ที่ติดตัวมาตั้งแต่แรกเกิด ทำให้ลูกเธอทั้งสองประเภทนี้มีฐานันดรศักดิ์ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะว่าลูกเธอที่ประสูตินอกเศวตรฉัตรนั้นจะมีฐานันดรศักดิ์เพียง พระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้า หรือพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้า หรือหม่อมเจ้า, หรือแม้แต่เป็นหม่อมราชวงศ์ก็สามารถเป็นไปได้ (สูงต่ำตามยศของแม่) ซึ่งจะต่างจากลูกเธอที่ประสูติในเศวตรฉัตร ที่เมื่อแรกประสูติก็มีฐานันดรศักดิ์เป็นถึงสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้า หรือพระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้า (สูงต่ำตามยศของแม่)

ส่วนด้าน "สิทธิ์" ของลูกเธอทั้งสองประเภทนี้ไม่มีอะไรแตกต่างกันครับ เพราะเมื่อพระเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์ พระองค์ก็จะไล่สถาปนาลูกเธอที่ประสูตินอกเศวตรฉัตร ขึ้นเป็นพระเจ้าลูกเธอทั้งหมดอย่างเท่าเทียมกันตามสถานะของแม่ที่อยู่ในระดับเดียวกัน นั่นก็คือ

1.หากประสูติจากพระภรรยาเจ้าชั้นลูกหลวง หรือพระอัครมเหสี ลูกเธอจะได้เป็น "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าชั้นเอก" ออกพระนามอย่างลำลองว่า ทูลกระหม่อมชาย ทูลกระหม่อมหญิง

2.หากประสูติจากพระภรรยาเจ้าชั้นหลานหลวง หรือพระมเหสี เช่น พระอรรคชายา ,พระราชชายา ,พระวรชายา ลูกเธอก็จะได้เป็น "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าชั้นโท" ออกพระนามอย่างลำลองว่า สมเด็จชาย สมเด็จหญิง

3.หากประสูติจากเจ้าจอม หรือสามัญชน ลูกเธอก็จะได้เป็น พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าชั้นเอก หรือที่ออกพระนามกันว่า เสด็จพระองค์ชาย เสด็จพระองค์หญิงนั่นเองจากภาพด้านซ้ายคือ ส่วนหนึ่งในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระเจ้าอยู่หัวในอดีต ซึ่งพระองค์จะประทับบนพระแท่นราชบัลลังก์ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร หรือฉัตรขาว 9 ชั้น

ประสูตินอกเศวตรฉัตร กับสถานะของการเป็นพระเจ้าลูกเธอ

จากภาพด้านขวาบนคือ ลูกเธอในพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 โดยพระองค์ขวาประสูติตั้งแต่ครั้งที่พ่อเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าชาย และแม่เป็นเพียงหม่อม แรกประสูติพระองค์จึงมีฐานันดรศักดิ์เป็น หม่อมเจ้าหญิงศรีวิไลยลักษณ์ แต่เมื่อเจ้าฟ้าชายผู้เป็นพ่อขึ้นครองราชย์ พระองค์จึงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิง ซึ่งต่างจากพระองค์ซ้ายผู้เป็นน้องนาง ที่แรกประสูติก็เป็นพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงเพราะประสูติในเศวตรฉัตร

จากภาพด้านขวาล่างคือ ลูกเธอในพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 โดยทุกพระองค์ประสูติในเสวตรฉัตร มีแม่เป็นเพียงหม่อมเจ้าหญิง ทำให้แรกประสูติพระองค์เหล่านี้มียศเพียงพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้า แต่ในภายหลังพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 มีพระประสงค์ให้ลูกเธอกลุ่มนี้เป็นเจ้าฟ้า เพราะถือว่ามีแม่เป็นเจ้าหญิงในพระราชวงศ์ จึงสถาปนาแม่ขึ้นเป็น พระอรรคชายา ส่งผลให้ลูกเธอกลุ่มนี้ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าชั้นโท


ประสูตินอกเศวตรฉัตร กับสถานะของการเป็นพระเจ้าลูกเธอ

ศักดิ์ และสิทธิ์เสมอกันครับ ไม่ว่าจะประสูตินอก หรือในเศวตรฉัตร ดังในภาพที่เป็นภาพถ่ายหมู่เฉพาะพระราชธิดาในพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่5 เฉพาะที่เป็นพระราชธิดาเจ้าฟ้าหญิงเท่านั้น แต่จะเห็นได้ว่าในภาพนี้มีทั้งพระราชธิดาที่ฐานันดรศักดิ์แรกประสูติประสูติลูกเธอเจ้าฟ้า และแรกประสูติเป็นลูกเธอพระองค์เจ้า

จากซ้ายไปขวา


1.เจ้าฟ้าหญิง กรมขุนพิจิตรฯ (สถาปนาขึ้นเป็นเจ้าฟ้า)
2.เจ้าฟ้าหญิง กรมขุนอู่ทองฯ (สถาปนาขึ้นเป็นเจ้าฟ้า)
3.เจ้าฟ้าหญิง กรมขุนสวรรคโลกฯ (สถาปนาขึ้นเป็นเจ้าฟ้า)
4.เจ้าฟ้าหญิง กรมหลวงเพชรบุรีฯ ยืน (เจ้าฟ้าแรกประสูติ)
5.เจ้าฟ้าหญิง กรมขุนศรีสัชนาลัยฯ (สถาปนาขึ้นเป็นเจ้าฟ้า)
6.เจ้าฟ้าหญิง กรมหลวงศรีรัตนโกสินทรฯ (เจ้าฟ้าแรกประสูติ)


ประสูตินอกเศวตรฉัตร กับสถานะของการเป็นพระเจ้าลูกเธอ

ประสูตินอก หรือ ในเศวตรฉัตร ไม่มีนัยสำคัญในการขึ้นครองราชสมบัติครับ คือพระราชโอรสที่ประสูติใต้เศวตฉัตรไม่ได้มีสิทธิ์ในราชสมบัติก่อนนะครับ กฎมณเฑียรบาลระบุให้พระราชโอรสที่ประสูติแต่พระอัครมเหษีเป็นสมเด็จหน่อพระพุทธเจ้า คือพระรัชทายาทไม่มีการระบุถึงการประสูติในหรือนอกเศวตฉัตร เพราะเมื่อพระราชชนกขึ้นครองราชสมบัติแล้ว พระสถานะจะเสมอกันหมด ถ้าพระมารดาอยู่ในลำดับเดียวกัน ดังในภาพคือ รัชกาลที่4 เมื่อแรกประสูติพระองค์เป็นเพียงพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้า เพราะประสูตินอกเสวตรฉัตร เมื่อพ่อขึ้นเป็นพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ก็ขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้า ถึงพ่อจะมีมเหสีชั้นลูกหลวงองค์อื่นอีกแล้วมีลูกเป็นเจ้าฟ้าชั้นเอกอีก ก็ไม่ได้ทำให้พระองค์ขึ้นครองราชสมบัติเป็นลำดับหลังครับ

ประสูตินอกเศวตรฉัตร กับสถานะของการเป็นพระเจ้าลูกเธอ

พระภรรยาเจ้าชั้นหลานหลวงก็คือ เจ้าหญิงในพระราชวงศ์ ที่เป็นหลานของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลในรัชกาลใดรัชกาลหนึ่งในอดีต ดังหม่อมเจ้าหญิงในรูป เมื่อได้เป็นพระภรรยาเจ้า ตามศักดิ์ของลูกที่เกิดมาสมควรเป็นเจ้าฟ้า แต่ด้วยยศของแม่เป็นเพียงหม่อมเจ้า ถึงจะเป็นเจ้าหญิงก็ยังถือว่ายศต่ำอยู่ เมื่อรัชกาลที่5อยากให้ลูกเธอเป็นเจ้าฟ้าจึงต้องสถาปนาแม่ให้ขึ้นเป็นมเหสีในที่พระอรรคชายา และลูกๆก็ขึ้นเป็นเจ้าฟ้าชั้นโทครับ ดังในภาพคือ หม่อมเจ้าหญิงสาย จากราชสกุล ลดาวัลย์ รัชกาลที่ 5 สถาปนาขึ้นเป็นพระอรรคชายาเธอในภายหลัง

ขอบคุณ FB คลังประวัติศาสตร์ไทย

ประสูตินอกเศวตรฉัตร กับสถานะของการเป็นพระเจ้าลูกเธอ

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์