ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงสอนเรามาตลอด 70 ปี ผ่าน วงดนตรี

สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ของปวงชนชาวไทย

พระองค์ท่านทรงโปรดการทรงดนตรีมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ดนตรีแจ๊ซ"

ทรงหัดเล่นเครื่องเป่าชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น แซ็กโซโฟน แคลริเน็ต ทรัมเป็ต ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์

ครั้นเมื่อพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ ก็ทรงโปรดให้ตั้งวงดนตรี "อ.ส. วันศุกร์"

ย่อมาจาก "อัมพรสถาน วันศุกร์"

มีการออกอากาศทางสถานีวิทยุ อ.ส. ทุกช่วงเย็นของวันศุกร์

ทรงจัดรายการเพลง ทรงเลือกแผ่นเสียงเอง

บางครั้งโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ฟังโทรศัพท์ขอเพลงจากวงดนตรีที่กำลังบรรเลงได้ด้วย

คุณภาธร ศรีกรานนท์ ลูกชายของ คุณแมนรัตน์ ศรีกรานนท์ นักดนตรีผู้ร่วมวงเก่าแก่กับพระองค์ท่าน

เล่าว่า พระองค์ท่านเคยเปรียบเทียบวงดนตรีกับสังคมเอาไว้อย่างคมคาย

"ทุกคนในวงต่างมีหน้าที่ของตัว

นักร้องไม่ได้มีความสำคัญมากไปกว่าคนเล่นเบส หรือกลอง เลย...

ทุกคนมีความสำคัญในการบรรเลงเท่าเทียมกัน

สังคมก็เช่นเดียวกัน

ถ้าทุกคนในวงสังคมรู้และทำตามหน้าที่ของตน

สังคมก็จะเจริญก้าวหน้าและสงบสุข

ใม่มีใครเหนือหรือด้อยกว่าใคร ทั้งในฐานะทางสังคมและในการเล่นดนตรี

"ดนตรี" เองเท่านั้นที่ใหญ่เหนือกว่าใครทั้งหมด

อะไรอื่นนั้นปราศจากความหมาย"

ทรงพยายามจะชี้ให้เห็นว่า

การเล่นดนตรีให้ได้สักเพลง ต้องอาศัย "การทำงานร่วมกัน" อย่างสอดประสาน

ทุกคนทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด

ไม่ไปก้าวก่ายส่วนของผู้อื่น ที่เราอาจจะไม่ได้รู้จริงเท่าเขา

สังคมหนึ่งๆ จะก้าวหน้าต่อไปได้ ก็เกิดจากคนในสังคม "รู้หน้าที่" ของตน

ไม่ต่างจากการเล่นดนตรีให้จบสัก "เพลง" หนึ่ง

 

คุณเทวินทร์ วงศ์วานิช ซีอีโอ ของบริษัท ปตท.

บริษัทพลังงานแห่งชาติสัญชาติไทย

มีพนักงานกว่าหมื่นชีวิต ทำงานตั้งแต่งานบริหาร งานเอกสาร ไปจนถึงงานปฏิบัติการ

ท่านเคยเล่าแนวคิดในการบริหารงานว่า

องค์กรก็เหมือนกับ "วงดนตรี" ขนาดใหญ่

อย่างแรก ต้องรู้ว่า จะเล่นเพลงอะไรก่อน

"เพลง" ก็เหมือนกับ "เป้าหมาย" ของบริษัท

หากปราศจากซึ่ง "เป้าหมาย" เดียวกัน

กลอง กีตาร์ ทรัมเป็ต แซ็กโซโฟน ต่างคนต่างเล่น

เล่นกัน "คนละเพลง"

คนหนึ่งเล่น "บีโธเฟ่น"

อีกคนเล่น "โมสาร์ต"

รับรองว่า "ฟังไม่รู้เรื่อง"

แม้ว่าจะเป็นนักดนตรีมีฝีมือ และเป็นบทเพลงที่ "ไพเราะ" เพียงใดก็ตาม

การมี "เป้าหมาย" เดียวกัน จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ในการบริหารองค์กร ให้บรรลุเป้าประสงค์

ทีนี้ รู้แล้วว่า เล่นเพลงอะไร ก็ยังไม่พอ

ยังต้องรู้ว่า เล่นอย่างไร ให้เข้ากัน

โน้ตที่เล่น เป็นคีย์เดียวกันหรือไม่

จังหวะช้า เร็ว สักเท่าไร เข้าใจตรงกันใช่หรือเปล่า

สิ่งเหล่านี้ก็เหมือนกันกับ "กลยุทธ์ (Strategy)" ขององค์กร

ที่พนักงานทุกคนต้องมี "ความเข้าใจ" เหมือนกัน

เมื่อมีโน้ตเพลงเดียวกัน มีทำนองที่เหมือนกัน

พร้อมกับวาทยกร ที่คอยให้จังหวะดนตรีต่างๆ ได้เล่นอย่างถูกที่ ถูกเวลา

ที่เหลือก็คือ "ฝีมือ" ของนักดนตรี

ยิ่ง "นักดนตรี" มีฝีมือมากเท่าไร เสียงที่เล่นออกมาก็จะมีความไพเราะมากเท่านั้น

ก็เปรียบเสมือนพนักงานที่มี "ฝีมือ" พร้อมจะทุ่มเทพลังกาย พลังสมอง ให้กับองค์กรอย่างเต็มที่ นั่นเอง

จะเห็นว่า เพียงแค่ "ผีมือ" ของนักดนตรีแต่ละคนนั้น

ไม่เพียงพอที่จะเล่น "บทเพลง" ให้มีความไพเราะ

การสื่อสารระหว่างกัน เพื่อทำความเข้าใจในเป้าหมาย กลยุทธ์ขององค์กร ระหว่างพนักงาน

จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ไม่แพ้ "ความสามารถ" ของพนักงานเอง

 

ที่เกริ่นมาตอนแรกว่า "เพื่อนร่วมวง" คือสิ่งที่ชื่นชอบในการเล่นดนตรีนั้น

เป็นเพราะว่า "การฟัง" คือคุณสมบัติที่สำคัญมากสำหรับนักดนตรี

ไม่ว่าจะเล่นดี หรือ เล่นไม่ดี

หาก "ไม่ฟัง" กัน รับรองว่าเล่นไม่เป็นเพลง

ผมตีกลอง ก็ต้องคอยฟังเบส และเปียโน ว่าจังหวะเป็นอย่างไร

เล่นเบา หรือเล่นดัง แค่ไหน

ถ้ามัวแต่ตีไป โดยไม่สนใจคนอื่น ส่วนมากจะ "หนวกหู" เสมอ

นักร้องจะขึ้นร้องท่อนไหน ก็ต้องคอยฟัง "กีตาร์" ให้สัญญาณ

ประสานเสียงตรงไหน ก็ต้องฟัง "นักร้อง" และ "เปียโน"

ทุกอย่างเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน

ต่างคนต่างรู้หน้าที่ของตน และคอย "ฟัง" ผู้คนรอบข้าง ที่ทำงานร่วมกัน

 

ดนตรี ก็จะเป็น "เพลง" ที่ไพเราะ

การงาน ก็จะก่อให้เกิดเป็น "นวัตกรรม" สำหรับองค์กร

สังคมไทย ก็จะเป็นสุข สามัคคี เจริญก้าวหน้า

ดังที่ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงสอนเรามาตลอด 70 ปี


ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงสอนเรามาตลอด 70 ปี ผ่าน วงดนตรี


ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงสอนเรามาตลอด 70 ปี ผ่าน วงดนตรี


ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงสอนเรามาตลอด 70 ปี ผ่าน วงดนตรี


ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงสอนเรามาตลอด 70 ปี ผ่าน วงดนตรี

เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์