4 ขุนโจรในอดีตของไทย เสือใบ ขเสือฝ้าย เสือดำ และเสือมเหศวร


4 ขุนโจรในอดีตของไทย เสือใบ ขเสือฝ้าย เสือดำ และเสือมเหศวร

ตำนานของขุนโจรของไทยในอดีตแฝงเรื่องราวบอกเล่าถึงความเป็นจริงของสังคมในยุคนั้น

เสือดำ

 


หลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินธโร หรืออดีต เสือดำ

สำหรับชีวิตจริงของเสือดำ ผู้เป็นจอมโจรชื่อดังในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ร่วมสมัยกับ เสือใบ, เสือฝ้าย และ เสือมเหศวร มีชื่อจริงว่า ระพิน ได้ชื่อว่าเสือดำ จากการสวมชุดดำเวลาออกปล้น และใช้ปืนคู่ แต่เมื่อเวลาออกปล้นจะต้องประกาศให้เจ้าทรัพย์รู้ก่อนล่วงหน้าเป็นสัปดาห์และปล้นด้วยความสุภาพ นิยมปล้นแต่คนรวยให้คนยากจน จนได้รับฉายาว่า สุภาพบุรุษเสือดำ เช่นเดียวกับ เสือใบ

เสือดำ ถูกปราบได้ด้วย ขุนพันธรักษ์ราชเดช นายตำรวจมือปราบชื่อดัง โดยขุนพันธ์ฯ ให้โอกาสเสือดำกลับตัว เสือดำจึงไปบวชกับ พลตำรวจเอกประเสริฐ รุจิรวงศ์ อธิบดีกรมตำรวจในยุคนั้น และบวชมาจนบัดนี้

ปัจจุบัน เสือดำ คือ หลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินธโร เจ้าอาวาสวัดศรีนวลธรรมวิมล เขตหนองแขมกรุงเทพมหานคร อายุกว่า 80 แล้ว แต่สุขภาพก็ยังแข็งแรงอยู่ และมักได้รับเชิญเป็นประธานในพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลร่วมกับ เสือใบ และ เสือมเหศวร เสมอๆ

เรื่องราวของเสือดำ ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2543 ในเรื่อง "ฟ้าทะลายโจร" โดยผู้รับบทเสือดำ คือ ชาติชาย งามสรรพ์


4 ขุนโจรในอดีตของไทย เสือใบ ขเสือฝ้าย เสือดำ และเสือมเหศวร

ท่านได้เมตตาเปิดเผยกับทีมข่าว "คนในเมืองน้ำหมึก" ว่า "ความจริงแล้วท่านไม่เคยคิดจะเป็นโจรเลยแม้แต่น้อย ไม่เคยคิดจะเข้ามาในวงการโจร แต่มีความจำเป็น ไม่มีทางเลือก โดยประมาณปี 2490 มีโจรก่อเหตุเป็นจำนวนมาก ขณะนั้นอายุ 20 กว่าปี เป็นวัยรุ่นไฟแรงคึกคะนอง แต่ไม่เคยสร้างความเดือดร้อนให้ใคร กระทั่งที่บ้านมาถูกโจรปล้นควายไปจนหมดคอก ไม่เหลืออะไรแม้แต่เงินจะซื้อข้าวกิน จึงปรึกษาเพื่อนๆไปแก้แค้นเพราะทราบว่าโจร คือ กลุ่มวัยรุ่นหมู่บ้านข้างเคียง โดยยิงวัยรุ่นกลุ่มนั้นตายไป 4 ศพ จึงถูกตำรวจติดตามตัว ต้องหนีออกจากบ้าน แล้วเริ่มออกปล้นชาวบ้านใน จ.สุพรรณบุรี ตั้งแต่นั้นมา"..... และแน่นอนว่า เรื่องราวในนวนิยายเรื่องเสือดำก็ไม่ตรงกับชีวิตจริงของท่านทั้งหมด เพราะเป็นเพียงการหยิบเอาเค้าโครงมาผูกเรื่องใหม่เท่านั้นเอง

"เสือดำ" ซึ่งปัจจุบันหันหน้าสู่ "ร่มผ้าเหลือง" บวชเป็นพระได้ฉายาว่า "หลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร" ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีนวล ย่านหนองแขม ยังย้อนให้ฟังถึงจุดเริ่มต้นของการก้าวเข้าสู่ "เส้นทางแห่งชุมโจร" ต่อไปอีกว่าหลังจากออกปล้นเรื่อยมาจนมาพบกับ "เสือมเหศวร" และ "เสือใบ" ซึ่ง "หัวอกเดียวกัน" เพราะทั้งสองถูกโจรปล้นบ้านและต้องการแก้แค้น จึงปรึกษากันว่าจะทำอย่างไร ขณะนั้น "สมุน" ยังไม่มี จึงแยกทางกันไป "สร้างชื่อ"เพื่อหาลูกน้อง จนมีลูกน้องติดตาม 50-60 คน จึงตั้งเป็น "ซุ้มเสือดำ"!!!

เมื่อบ้านมีกฎบ้าน เมืองมีกฎเมือง "ชุมโจร" ก็มีกฎของชุมโจร....."หลวงพ่อทวีศักดิ์" เล่าว่า ในการปล้นของเสือดำมี "กฎเหล็ก" ว่าจะปล้นแบบ "ผู้ดี" คือ จะออกปล้นช่วงต้นเดือนและปลายเดือนเท่านั้นและ ก่อนเข้าปล้นจะเขียนป้ายไปติดไว้หน้าหมู่บ้านที่จะปล้น เป็นการประกาศล่วงหน้าว่าจะปล้นที่ไหน วันและเวลาใด เพื่อให้เจ้าทรัพย์เตรียมตัวไว้ก่อน เมื่อถึงเวลาก็มาปล้น สมัยนั้นใช้ม้าเป็นพาหนะ มีปืนคู่กายคนละ 2 กระบอกและกระสอบใส่ทรัพย์สินคนละใบ ก่อนลงมือจะยิงปืนขึ้นฟ้า 3 นัดเป็น "สัญญาณเตือน" ให้คนในหมู่บ้านรู้ว่ามาปล้นแล้ว จากนั้นจะนำกระสอบไปวางไว้ตามจุดต่างๆเพื่อให้ชาวบ้านนำทรัพย์สินมาใส่ เป็นการป้องกันเหตุ "นองเลือด" เวลาทำงาน หรือ "ฤกษ์ปล้น" คือ ตั้งแต่แสงอาทิตย์ลับขอบฟ้า จนถึงแสงอาทิตย์ขึ้นเหนือฟ้าอีกครั้งก็เก็บกระสอบกลับออกไป

"กฎเหล็กสำคัญที่สุดของซุ้มเสือดำ คือ ห้ามข่มขู่หรือทำร้ายเจ้าทรัพย์ นอกจากเจ้าทรัพย์จะฮึดสู้ทำร้ายเราก่อน นอกจากนั้นสมุนทุกคนต้องอยู่ในศีลธรรม ห้ามยุ่งเกี่ยวกับสาวในหมู่บ้าน ห้ามปล้นโรงสีข้าวเด็ดขาด เพราะจะทำให้เราไม่มีข้าวกิน ห้ามปล้นตลาดสด เพราะเป็นจุดรวมของเด็ก คนแก่และคนทั่วไป ถ้าพบลูกน้องคนใดทำผิดกฎจะฆ่าทิ้งทันที เพราะถือว่าผิดสัจจะของกลุ่มโจร ส่วนทรัพย์สินที่ปล้นมาจะแบ่งเป็น 5 ส่วน คือ 1. ค่าอาหาร 2. ค่ากระสุนปืน 3. แบ่งไว้ช่วยเหลือคนจน 4. ช่วยเหลือโรงเรียน และ 5. ช่วยเหลือวัด....."

".....พื้นที่ปล้นของเสือดำจะอยู่ใน 3 จังหวัด คือ อุทัยธานี, สุพรรณบุรี และ ชัยนาท โดยจะแบ่งเขตกันระหว่าง เสือใบ และ เสือมเหศวร ช่วงว่างจากการปล้นจะพาลูกน้องเข้าป่าตัดต้นไม้ไปสร้างบ้านให้คนจนฟรี เพื่อตอบแทนคุณ พร้อมทั้งมอบวัวที่เราปล้นมาให้อีกครอบครัวละ 1 คู่" อดีต "เสือดำ" เล่าถึงเส้นทางสายโจรที่รุ่งโรจน์ของเขา ซึ่งพฤติกรรมดูคล้าย "โรบินฮูด"

"เส้นทางสายโจร" ของ "เสือดำ" และเหล่าสมุน รุ่งโรจน์ และโรยด้วยกลีบกุหลาบมาตลอด จนกระทั่งการมาถึงของ "ขุนพันธ์ฯ" เส้นทางสายโจรของพวกเขาก็เริ่มตีบตัน.....อดีต "เสือดำ" เล่าถึงชีวิตในช่วงต่อมา ว่า ช่วงปี 2495-2499 ทางการเริ่มปราบปรามกลุ่มโจรอย่างหนักทำให้ 3 เสือ คือ "เสือดำ-เสือใบ-เสือมเหศวร" เป็นที่ต้องการตัวของทางการมาก มี "ค่าหัว" คนละหลายหมื่นบาท การปล้นเริ่มมีอุปสรรค บางครั้งถึงขั้นต้อง "ดวลปืน" กับตำรวจ แต่ก็อยู่รอดปลอดภัยมาตลอดเพราะมีวิชา "อาคม" ที่เรียนรู้มาจากครูบาอาจารย์ จนมาวันหนึ่งเรามีโอกาสได้ดวลปืนกับ "ขุนพันธ์ฯ" ที่ยกกำลังมาดักจับที่ จ.ชัยนาท และวันนั้นก็ทำให้เรา "กลับใจ"

"ครั้งนั้นต่างคนต่างมีวิชาอาคมทั้งคู่ ทำอะไรกันไม่ได้ และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาขุนพันธ์ฯ ก็นำกำลังออกไล่ล่าดวลปืนกันอีกหลายครั้ง จนสุดท้ายขุนพันธ์ฯ ได้นัดคุยกันอย่างลูกผู้ชายกับเราว่าต่างคนต่างมีอาคม คงทำอะไรกันไม่ได้ จึงขอให้เราเลิกเป็นโจร หยุดปล้น ถ้าหยุดตำรวจจะยกเลิกการจับกุมทุกหมายจับ แต่ต้องกลับตัวเป็นคนดีและเริ่มต้นชีวิตใหม่ เรากลับมานอนคิดอยู่ 3 วัน เราปล้นมา 20 ปี ไม่มีอะไรดีขึ้น จึงตัดสินใจหยุดเป็นโจร แบ่งเงินให้ลูกน้อง แล้วแยกย้ายกันไปทำมาหากินอย่างถูกกฎหมาย เราได้ออกบวชศึกษาธรรมะ เพื่อหวังว่าบุญจากการบวชจะทดแทนสิ่งที่ได้ทำผิดไปได้บ้าง" หลวงพ่อทวีศักดิ์ อดีต "เสือดำ" กล่าวทิ้งท้าย

"ปัจจุบันหลวงพ่อเสือดำ เป็นพระเกจิอาจารย์ที่ได้รับการเคารพนับถือด้านคาถาอาคมที่มีวิชาแก่กล้า และเปี่ยมด้วยความมีเมตตา ท่านอายุ 99 ปีแล้วและมีสุขภาพที่แข็งแรงดี ยังคงมุ่งมั่นทำงานเพื่อสังคมและพุทธศาสนา ท่านสร้างทั้งโรงเรียน, โรงพยาบาล เพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้ยากไร้มากมายนับเป็นการปิดฉากตำนาน "เสือดำ" เสือร้ายแห่งแดนสยามให้เหลือเพียงแค่ในความทรงจำเท่านั้น

 

เสือใบ


4 ขุนโจรในอดีตของไทย เสือใบ ขเสือฝ้าย เสือดำ และเสือมเหศวร

มาที่อีกหนึ่ง "เสือร้าย" นามกระเดื่องที่ชื่อ "เสือใบ" หรือนายใบ สะอาดดี....."เสือใบ" เล่าถึงอดีต ว่า ก่อนเป็น "โจร" ก็เป็นชาวนา บ้านอยู่ จ.สุพรรณบุรี พอช่วงปี 2487 ตอนนั้นอายุประมาณ 30 ปี ที่บ้านถูกโจรวัยรุ่นกลุ่มหนึ่งเข้ามาขโมยควาย ตอนนั้นไม่คิด "แค้น" อะไรเพราะไม่มีการเสียเลือดเนื้อ แต่อีก 5 เดือนต่อมา โจรกลุ่มเดิมได้ย้อนกลับมาปล้นที่บ้านอีกครั้ง คราวนี้ "ฉุดน้องเมีย" ไปด้วย จึงแค้นมากคว้าปืนลูกซองออกตามล่าโจรและตามน้องเมียกลับคืนมา สุดท้ายฆ่าโจรตายไป 2 ศพ ถูกตำรวจตามจับ จึงหนีออกจากบ้านเข้าสู่ "เส้นทางสายโจร" มาอาศัยในป่าแถบ จ.อ่างทอง เพื่อหลีกเลี่ยงการจับกุมของตำรวจ เมื่อไม่มีเงินซื้อข้าวก็ออกปล้น จนมีชื่อเสียงใน "วงการโจร" มีลูกน้องเพิ่มขึ้นถึง 40 คน หลังจากนั้นก็เข้าไปอยู่ในสังกัด "ซุ้มเสือดำ" เป็น 1 ใน 4 เสือที่ทางการต้องการตัวมากที่สุด

"เสือ ใบ" บอกว่า พื้นที่ปล้นจะอยู่ในเขต จ.อ่างทอง สิงห์บุรี และชัยนาท ส่วนสุพรรณบุรีจะไม่ปล้นเพราะเป็นเขตอิทธิพลของเสือดำ ถือเป็นเขตเดียวกันจะไม่เข้าไปรบกวน โดยเลือกปล้นเฉพาะ "คนรวยหน้าเลือด" ได้เงินมาจากการ "โกง" คนจน คนรวยที่มีคุณธรรมช่วยเหลือชาวบ้านเราจะไม่ปล้น และการปล้นแต่ละครั้งจะไม่เอาทรัพย์สินหมด เอาครึ่งเดียว ใช้วิธีปล้นแบบขอเจ้าทรัพย์ สิ่งไหนเจ้าทรัพย์ไม่ให้ก็ไม่เอาและห้ามทำร้ายเจ้าทรัพย์เด็ดขาด ยกเว้นจะขัดขืนต่อสู้ เมื่อปล้นมาได้จะนำทรัพย์สินบางส่วนไปให้คนจน

"จน กระทั่งถูกตำรวจจับ ตำรวจผู้ปราบเสือใบ ชื่อ ผู้กองยอดยิ่ง สุวรรณากร และศาลตัดสินประหารชีวิต แต่ผมรับสารภาพ ศาลจึงลดโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิต ต่อมาได้รับการอภัยโทษเหลือจำคุก 20 ปี แต่ขณะถูกคุมขังมีพฤติกรรมดี โดยวันหนึ่งมีนักโทษชายคนหนึ่งใช้มีดจะทำร้ายผู้คุม ผมเห็นจึงเข้าไปช่วยเหลือ เลยได้ลดโทษออกมาจากคุก แล้วเริ่มต้นชีวิตใหม่อีกครั้ง" อดีต "เสือใบ" กล่าว พร้อมให้ข้อคิดถึงเยาวชนรุ่นหลังว่า.....

เสือใบ ณ ปัจจุบัน

อยาก ให้ลูกหลานที่ "เกเร" รู้ว่าการเป็น "โจร" เป็นเสือมันไม่ดีเพราะต้องอยู่แบบหลบซ่อนตัวตลอดเวลา และทรัพย์สินที่ปล้นมาอยู่ไม่ได้นาน จึงอยากจะให้ทุกคนตั้งใจทำงาน ขยันหมั่นเพียรเข้าไว้ อยากได้อะไรก็ค่อย "เก็บหอมรอมริบ" เอา เดี๋ยววันหนึ่งเราจะได้สิ่งที่เราต้องการเอง!!!

 

 

เสือมเหศวร (จอมโจรมเหศวร)

 


4 ขุนโจรในอดีตของไทย เสือใบ ขเสือฝ้าย เสือดำ และเสือมเหศวร

มีชื่อจริงว่า ศวร เภรีวงษ์ เป็นชาวจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นจอมโจรชื่อดังในแถบภาคกลางหลังยุคสงครามโลกครั้งที่สองร่วมสมัยกับ เสือดำ, เสือฝ้าย และเสือใบ โดยเสือมเหศวรแต่เดิมเป็นเพียงชาวบ้านธรรมดา ๆ ที่ถูกอำนาจรัฐรังแกและถูกใส่ความว่าฆ่าพ่อตัวเอง จึงจับปืนขึ้นต่อสู้และกลายมาเป็นจอมโจรชื่อดังในที่สุด โดยได้ชื่อว่า "มเหศวร" จากการแขวนพระเครื่องมเหศวรไว้ที่คอ ซึ่งได้ชื่อว่าช่วยให้แคล้วคลาดปลอดภัย และเมื่อเวลาออกปล้นจะปล้นด้วยความโหดเหี้ยมจนได้รับฉายาว่า "จอมโจรมเหศวร" เคยโดนตำรวจยิงที่ลำตัวและศรีษะหลายนัดแต่ไม่เข้า

เสือมเหศวร ถูกปราบโดยขุนพันธรักษ์ราชเดช ซึ่งขุนพันธ์ ฯ เป็นผู้เกลี้ยกล่อมให้เสือมเหศวรมอบตัว หลังจากได้รับโทษในเรือนจำแล้ว เสือมเหศวรก็ได้บวชเป็นพระและบวชเป็นพราหมณ์มา จนถึงปัจจุบัน แม้มีอายุกว่า 90 แล้ว แต่เสือมเหศวรก็ยังมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงอยู่ และเป็นที่เล่าลือว่าเป็นบุคคลจอมขมังเวทย์ มีชาวบ้านและผู้ที่เชื่อถือแวะเวียยนมาพบปะพูดคุยเสมอ ๆ โดยล่าสุด เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2550 เป็นผู้ทำพิธีปลุกเสกจตุคามรามเทพรุ่นเซ็นเสือมเหศวรของวัดแสวงหา จังหวัดอ่างทอง ด้วย

 

เสือฝ้าย


4 ขุนโจรในอดีตของไทย เสือใบ ขเสือฝ้าย เสือดำ และเสือมเหศวร

"ฝ้าย" ชื่อเดิมของหนุ่มวัยฉกรรจ์ เขาถูกเล่นงานชนิดเจ็บแสบจากทางตำรวจ โดยมีญาติรายหนึ่งหนุนเนื่องมากับผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ไส่ไคล้ฝ้ายให้ถึง กับจนมุม ครั้งนั้นฝ้ายถูกพิพากษาให้เป็นบุคคลอันตรายต่อชุมชนและรัฐ ฐานกระทำความผิดร้ายแรงในข้อหาพาผู้ร้ายหลบหนี ฝ้ายซึ่งไม่รู้อิโหน่อิเหน่ จำต้องเดินเข้าซังเตอย่างไม่สามารถปริปากอุทธรณ์ความบริสุทธิ์ของตน แปดปีกว่ากับการใช้ชีวิตในสถานกักขัง สูญสิ้นอิสรภาพทางกายภาพ เหลือเพียงกำแพงกับซี่กรงเขรอะสนิมเป็นเพื่อนในทุกโมงยาม ครั้นฝ้ายได้ลดอาญาจนหวนคืนปิตุภูมิ จากจุดนี้...ฝ้ายลิขิตชีวิตตนเองใหม่ลงบนหน้ากระดาษ "เมื่อรัฐเล่นตลกกับข้า ข้าก็จะสร้างเสียงหัวเราะให้พวกมัน!

นับแต่นั้น "เสือฝ้าย" ก็กลายเป็นชื่อที่หลายคนต่างพากันขยาด แม้กระทั่งทางการยังกริ่งเกรง และไม่สู้จะหาทางลบชื่อนี้ลงได้ง่ายๆ นาม "เสือฝ้าย" ตราอยู่บนหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์หลายฉบับ ไพล่ถึงขนาดเป็นหัวข้ออภิปรายในสภาอยู่บ่อยครั้ง

คดีเสือฝ้ายควรจะจบลงแบบโป้งเดียวจอด ทว่า...การกำจัดผู้ร้ายรายนี้กลับยากจนทางการต้องปวดเศียรเวียนเกล้าบ่อย ครั้ง อุปสรรคสำคัญมิได้จำกัดอยู่เพียงอาวุธหรือสรรพกำลังของซุ้มโจร กำแพงกีดขวางกลับเป็นชาวบ้านตาดำๆ ทุกคนคอยปกป้องเสือฝ้าย เสมือนฝ้ายคือญาติในครอบครัวก็มิปาน
-ปล้นคนรวย แจกคนจน-

การตั้งตัวเป็นโจร ส้องสุมกำลังด้วยอาวุธ เท่ากับการประกาศตนเป็นศัตรูกับรัฐอย่างเปิดเผย มิเพียงเท่านี้ เสือฝ้ายดูจะเข้าใจความรู้สึกนึกคิดขั้นพื้นฐานของชาวบ้านมากกว่ารัฐอยากให้เป็น สิ่งนี้คือไม้เด็ดที่เสือฝ้ายมีอยู่เหนือกว่าหลายขุม

เงื่อนไขที่ทางการออกเป็นกฎหมายก็ดี ข้อกำหนดหรือระเบียบปฏิบัติก็ดี ล้วนมีจุดมุ่งหมายต่อการควบคุมคนในสังคมให้ดำเนินไปโดยปกติสุข กระนั้นหลายอย่างไม่เป็นดั่งทางการคาดหวัง ยุคสมัยของเสือฝ้าย คำพูดหนึ่งอันสะท้อนความข้างต้นได้ดีนั่นคือ "ชนชั้นใดร่างกฎหมาย แน่แท้ไซร้ก็เพื่อชนชั้นนั้น" และเสือฝ้ายได้แสดงผลของคำพูดนี้ให้ประจักษ์แก่สายตาชาวบ้าน ซ้ำยังได้มาด้วยวิธีใช้ความรุนแรง ตาต่อตา ฟันต่อฟัน

เมื่อฝ้ายโดนกฎหมายต่างชนชั้นกลุ้มรุม ฝ้ายจึงงัดข้อกับกฎหมาย เขาเป็นโจร พร้อมทั้งหยิบอาวุธประจันหน้ากับทางการ โดยเหน็บความพิเศษในฐานะชนชั้นของตนดึงประชาชนในละแวกเข้าเป็นพวก กล่าวอย่างถึงที่สุด จะเรียกขานความพิเศษนี้ว่า "ระบบอุปถัมภ์" คงไม่กระดากนัก ขณะตำรวจสอบเค้นชาวบ้านหมายทลายรังโจรกระเดื่องชื่อผู้นี้ ตำรวจเองกลับตอบไม่ได้ว่า ผลประโยชน์จากการพูดความจริงคืออะไร จับต้องและน่าเชื่อถือได้แค่ไหน มีอะไรเป็นหลักประกันสวัสดิภาพ หรือรอดพ้นสายตาของโจรกลุ่มนี้ ตรงกันข้าม,วิธีของเสือฝ้าย คราใดต้องระเห็จหลีกหนีหลังการเพลี่ยงพล้ำในการเผชิญหน้ากับตำรวจ ฝ้ายจะอาศัยชายคาของชาวบ้านเพื่อกำบังกาย จากนั้นไม่นาน เจ้าของบ้านจะตื่นขึ้นด้วยอารามตกใจ เมื่อเงินก้อนหนึ่งวางไว้บนหน้าประตูบ้าน แทบไม่ต้องเดา... เงินก้อนนี้ใครคือคนบันดาล

ปฏิสัมพันธ์ตรงนี้สร้างผลลัพธ์ทันตาเห็น เมื่อชาวบ้านยื่นมือช่วยเหลือเสือฝ้าย ฝ้ายจึงตอบแทนชาวบ้านด้วยแบบฉบับ "บุญคุณต้องทดแทน แค้นต้องชำระ" ตามบันทึกยังบอกอีกว่า เสือฝ้ายจะไม่ลงมือปล้นคนในท้องถิ่น แถมยังออกปากแก่ชาวบ้านในลักษณะให้ความคุ้มครองไปในตัว ทั้งนี้เจตนาของเขาต้องการสื่อถึงอิทธิพลอันมีผลทำให้.....

หนึ่ง สยบยอมต่ออิทธิพลของเสือฝ้าย อันมีลักษณะกึ่งบังคับไปในตัว ต้องเข้าใจว่าจะตำรวจหรือโจร ใครก็แล้วแต่ หากมีปืนอยู่ในมือ บุคคลนั้นย่อมยืนเหนือกว่าในภาวะการณ์นั้น

สอง บุคคลใดให้ความร่วมมือแก่เสือฝ้ายกับพรรคพวก บุคคลนั้นย่อมได้รับผลตอบแทนอันพึงใจไปในตัว คล้ายกับกฎที่ตั้งซ้อนอยู่ในตัวกฎหมายที่รัฐกำหนดไว้

สองข้อนี้ยังผลให้ชาวบ้านทั้ง กลัว และ เกรง คู่ไปกับ การมีทั้ง อิทธิพล และ บารมี จะอย่างไหน เสือฝ้ายได้อยู่เหนือคนธรรมดาสามัญไปเรียบร้อย ด้านชาวบ้านเองยังเห็นจุดประสงค์ของจอมโจรแดนสุพรรณอย่างกระจ่าง เพราะฝ้ายไม่ปล้นคนจนแต่ปล้นผู้มั่งคั่ง ตามด้วยทุกครั้งฝ้ายจะไม่ลงมือปลิดชีวิตเจ้าของทรัพย์ ของมีค่าที่กรรโชกมาได้จะเวียนถึงชาวบ้านในรูปแบบต่างๆ เช่น การกู้ยืม การให้เปล่า การบริจาคค้ำจุนศาสนา รวมถึงการให้ในโอกาสและวาระต่างๆอันจะทำให้ชาวบ้านลืมตาอ้าปากได้บ้าง

นอกเหนือการปล้น อดีตผู้ใหญ่บ้านชื่อฝ้ายคนนี้ยังคอยบรรสานประโยชน์ของคนในหมู่บ้าน ข้อพิพาทหรือปัญหาต่างๆ บ้านของเสือนามอุโฆษผู้นี้มักเป็นสถานตัดสินปัญหาให้ชาวบ้านอยู่เสมอ ยิ่งไปกว่านั้น บ่อยครั้งตำรวจในท้องที่ต้องมาขอพึ่งพิงชื่อของเขา เพื่อให้งานราบรื่นสะดวกโยธิน เวลาไม่นาน เครือข่ายแผ่เสือฝ้ายถักทอขึ้นเป็นรูปร่าง ก่อนแผ่ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง ทั่วปริมณฑล โดยโยงใยถึงกันและกันในรูป "น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า"

พุทธศักราช 2489 เสือฝ้ายสิ้นท่าคาบ่อน้ำ ตามรูปคดีควรจะมีการนำศพไปทำพิธี หรือไม่ก็ชันสูตรประกอบแผน ทว่าทางตำรวจจงใจทิ้งศพของเสือฝ้ายให้ลอยขึ้นอืดสามวันสามคืน เพื่อให้ชาวบ้านได้มาเห็นตำตาต่อความพ่ายแพ้ที่โจรมีต่อตำรวจ การย้ำชัยชนะในลักษณะนี้ เป็นการสร้างกระแสให้เกิดขึ้นในสังคม "ดูไว้เป็นเยี่ยง แต่อย่าเอาเป็นอย่าง" คงไม่มีคำพูดใดเหมาะสมไปกว่าคำนี้อีกแล้ว สำหรับการยืนยันถึงคนที่คิดอยู่เหนือกฎหมาย


4 ขุนโจรในอดีตของไทย เสือใบ ขเสือฝ้าย เสือดำ และเสือมเหศวร

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
คุณ : สวิง
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 110.169.68.157

110.169.68.157,,ppp-110-169-68-157.revip5.asianet.co.th ความคิดเห็นที่ 3 [อ้างอิง]
ขาดแต่ เสือ เมือก สวนโมกข์


[ วันพุธ ที่ 20 กันยายน 2560 เวลา 17:58 น. ]
รวมข่าวในกระแส คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์