เจ้าหญิงห้าแผ่นดินผู้มีเชื้อสายหลวงพระบาง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแม้นเขียน ประสูติเมื่อวันจันทร์ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2366 เป็นพระราชธิดาลำดับที่ 72 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาลูกจันทน์เล็ก ธิดาเจ้าสุกเมืองหลวงพระบาง เจ้าสุกผู้บิดาได้นำเจ้าจอมมารดาลูกจันทน์เล็กมาถวายตัวแก่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ตั้งแต่อายุ 8 ขวบ พร้อมกับน้องสาวอีกสองคนดังกล่าว ได้เป็นละครหลวงรุ่นเล็ก ในรัชกาลที่ 1 รับบทเป็น นางวิยะดา เมื่อสิ้นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกแล้ว เจ้าจอมมารดาลูกจันทน์เล็กมีอายุประมาณ 11-12 ปี จึงได้เป็นละครหลวงในสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ในบทนางมะเดหวี สนองพระเดชพระคุณรับราชการเป็นพระสนม และให้ประสูติกาลพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียว คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแม้นเขียน

เจ้าหญิงห้าแผ่นดินผู้มีเชื้อสายหลวงพระบาง

ภายหลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในปี พ.ศ. 2367 กล่าวกันว่าพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทินกร กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ ซึ่งเป็นพระโอรสของรัชกาลที่ 2 ทรงส่งเพลงยาวไปเกี้ยวเจ้าจอมมารดาลูกจันทน์เล็ก เจ้าจอมมารดาลูกจันทน์เล็กจึงใช้ "สิทธิสตรี" ออกจากวังหลวงไปอยู่วังกรมหลวงภูวเนตรฯ จนได้เป็นหม่อมอยู่พักหนึ่งท่านก็ย้ายไปยังวังของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากุญชร กรมพระพิทักษเทเวศร์

แต่ต่อมาไม่ช้านานนักก็ย้ายไปยังวังของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพนมวัน กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ พระเชษฐาองค์ใหญ่ และเจ้าจอมมารดาลูกจันทน์เล็กก็เตร็ดเตร่ไปเรื่อย ๆ

ซึ้งพระองค์เจ้าแม้นเขียนอยู่ในการอภิบาลของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี (พระธิดาของ ร.1 กับ เจ้าจอมมารดาทองสุกแห่งเวียงจันทร์) และ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดียังเป็นเป็นพระมเหสี ของ ร.2 อีกด้วย


เจ้านายฝ่ายในที่มีความสนิทสนมที่ประทับอยู่ในพระบรมหาราชวัง เมื่อรัชกาลที่ ๓ นั้นคือ พระองค์เจ้ากินรี(ธิดาพระองค์ที่ 30 ของ ร.3 กับ เจ้าจอมมารดาฉิม )

พระองค์เจ้าแม้นเขียนนั้นท่านทรงศักดิ์เป็น ‘อา' ของพระองค์เจ้ากินรี แต่ด้วยพระชันษาไล่เลี่ยกัน พระองค์เจ้ากินรีทรงศักดิ์หลาน สูงพระชันษากว่าพระองค์เจ้าแม้นเขียน ทรงศักดิ์อา ๔ ปี เพราะพระองค์เจ้าแม้น เขียนประสูติ พ.ศ.๒๓๖๖ พระองค์เจ้าทั้งสองพระองค์จึงทรงสนิทสนมชอบพอกันมาก

เจ้าหญิงห้าแผ่นดินผู้มีเชื้อสายหลวงพระบาง

เล่ากันมาว่า มักเสด็จไหนๆ (ภายในพระบรมมหาราชวัง) ด้วยกันเสมอ ครั้งถึงรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ตรัสเรียกเจ้านาย แต่รัชกาลต้นๆด้วยพระนามว่าองค์โน้นองค์นี้หรือ พระองค์โน้น พระองค์นี้ หากทรงกรมก็จะออกพระนามกรมแต่สำหรับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศฯ โปรดให้รับสั่งเรียก ‘นับญาติ' โปรดให้เรียกพระองค์เจ้าแม้นเขียนและพระองค์เจ้ากินรี ว่า ‘เสด็จยาย' เหมือนกันว่าที่จริงแล้ว หากนับญาติกันอย่างสามัญชน พระองค์เจ้าแม้นเขียนท่านเท่ากับเป็น ‘ย่าน้อย' ของสมเด็จพระบรมฯและพระองค์เจ้ากินรีนั้นเป็น ‘ป้า' เพราะทรงเป็นลูกผู้พี่ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง โปรดให้สมเด็จพระบรมฯ ‘นับญาติ' พระองค์เจ้าแม้นเขียนทางฝ่ายสมเด็จพระราชมารดา (พระบรมราชเทวี) เสด็จย่า จึงเป็น เสด็จยายส่วนพระองค์เจ้ากินรีนั้น ท่านเป็นน้องของพระองค์เจ้าศิริวงศ์ (สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยยิกาเธอ) พระองค์เจ้าศิริวงศ์ เป็น พระชนกของสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนีพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงจึงทรงมีรับสั่งเสมอว่า บรรดาเจ้านายชั้นพระเจ้าราชวงศ์เธอ (เวลานั้นบรรดาพระราชโอรสธิดาในรัชกาลที่ ๓ มีคำนำพระนามว่า พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ) นั้น พระองค์ท่านทรงนับว่า เป็นชั้นตาและยายของพระองค์ท่านจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมฯ ตรัสเรียกพระองค์เจ้ากินรีว่า ‘เสด็จยายกินรี

เจ้าหญิงห้าแผ่นดินผู้มีเชื้อสายหลวงพระบาง

'ดังในจดหมายเหตุ เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๒๖ ที่สมเด็จพระบรมฯ ทรงบันทึกเมื่อพระชนมายุเพียง ๕ พรรษากว่าๆว่า

"...เสด็จยายแม้นเขียน เสด็จยายกินรี มาเยี่ยมเรา..."

พระองค์เจ้ากินรีนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง คงจะทรงสนิท และมีพระเมตตาล้อท่านเล่นบ่อยๆ ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระบรมฯ จึงทรงบันทึกถึงเมื่อเชิญเสด็จมา ‘กินโต๊ะฝรั่ง' เนื่องในวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ แต่ครั้งยังทรงดำรงพระอิสริยยศ พระอัครราชเวทีว่า

"...เจ้านายแก่ๆดูคร่ำครึเต็มที เสวยมีดซ่อมไม่เป็น ทูลกระหม่อมบน (พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง - จุลลดาฯ) ทรงสอนเสด็จยายกินรีเอง หัวร่อกันใหญ่..."


พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแม้นเขียน มิได้เสกสมรสหรือมีพระราชโอรสธิดา และได้สิ้นพระชนม์ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 10 แรม 14 ค่ำ ปีฉลู เบญจศก จ.ศ. 1275 ตรงกับวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2456 สิริรวมพระชันษา 89 ปี ทรงดำรงพระชนม์ชีพเป็นองค์สุดท้ายและมีพระชนมายุมากที่สุดในจำนวนพระราชโอรสพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 และทรงดำรงพระชนม์ยาวนานถึง 5 รัชกาล
นอกจากนี้พระองค์ทรงศรัทธาในพระพุทธศาสนาทรงสร้างวัดขึ้นบริเวณทุ่งบางกะปิชื่อวัดบ้านทุ่งกระแจะแม้นเขียน และประทานชื่อหมู่บ้านแม้นเขียนเพื่อเป็นอนุสรณ์ ด้วยมุ่งหมายให้พุทธศาสนิกชนเชื้อลาวในพื้นที่มีสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจ ครั้นหลังการเลิกทาสผู้คนจำนวนไม่น้อยเริ่มโยกย้ายจากแหล่งเดิมจึงทำให้มีศาสนิกชนน้อย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแม้นเขียนทรงทราบถึงความยากลำบากของวัดจึงประทานเบี้ยแก่พระสงฆ์และสามเณรรูปละ 1 ตำลึงต่อเดือนปัจจุบันวัดที่ทรงสร้างไว้เปลี่ยนนามเป็นวัดบ้านทุ่งเสรีโดยสร้างขึ้นใหม่และตั้งชื่อตามหมู่บ้านจัดสรร ปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตสวนหลวง


ตำหนักพระองค์เจ้าแม้นเขียน เขตพระราชฐานชั้นใน

เป็นตำหนักหมู่ทรงไทย ชั้นเดียว ก่ออิฐปูน ประกอบด้วยเรือนสามหลัง แยกหน้าที่ใช้สอย เป็นตำหนักที่ประทับสองหลังและเรือนที่พักข้าหลวง และห้องเครื่องอยู่ทางด้านหลังหนึ่งหลัง แต่ละหลังหันห้าเข้าสู่ลานกลาง ผนังอาคารคือกำแพง ต่อมาพระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีสุดสวาดิ พระราชธิดาในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญมาพำนักอีกด้วย



เจ้าหญิงห้าแผ่นดินผู้มีเชื้อสายหลวงพระบาง


อ้างอิงจาก หนังสือ เจ้านายพระชันษายืนในพระราชวงศ์จักรี กรุงเทพฯมูลนิธิสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ และหม่อมเจ้าจงจิตรถนอม ดิศกุล พระธิดา, พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2474,



เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
ดูดวง เลขบัตรประชาชน คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์