ต้นแบบข้าแผ่นดิน!!พระยอดเมืองขวางผู้สละอิสรภาพและชีวิตเพื่อชาวสยาม


ต้นแบบข้าแผ่นดิน!!พระยอดเมืองขวางผู้สละอิสรภาพและชีวิตเพื่อชาวสยาม

         "พระยอดเมืองขวาง" ข้าราชการ ผู้ถือหน้าที่สำคัญกว่า อิสระภาพและชีวิต "หากเราไม่ยอมรับผิด มันก็จักถือเอาเป็นเหตุบีบคั้น พระพุทธเจ้าหลวงแล แผ่นดินสยามของเรา" เป็นบุตรของพระยาไกรเพ็ชร (มิตร กฤษณมิตร) เป็นข้าราชการฝ่ายปกครองในสังกัดกระทรวงมหาดไทย เคยประจำอยู่จำปาศักดิ์

ต่อมาได้เจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงานเป็นเจ้าเมืองเชียงขวาง(ที่มาของชื่อ)และเมืองคำม่วนตามลำดับ ท่านทำงานในบังคับบัญชาของพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม


ในปี พ.ศ. 2436 (ร.ศ. 112) เกิดกรณีพิพาทระหว่างการปักปันเขตแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส เมื่อฝรั่งเศสต้องการเมืองคำม่วน กองทหารนำโดย "มองซิเออร์ลูซ" (Luce) บังคับให้พระยอดเมืองขวางออกจากเมืองคำม่วน เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคมพ.ศ. 2436 แต่พระยอดเมืองขวางไม่ยินยอมจึงเกิดการสู้รบกัน เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2436 เมื่อ "นายลูซ" สั่งให้ "นายกรอสกุรัง"พร้อมกับทหารญวน(ตอนนั้นญวนเป็นเมืองขึ้นฝรั่งเศส)เข้ามาจับกุมหลวงอนุรักษ์ ผู้ช่วยของพระยอดเมืองขวางที่ตำบลนาหลักหินปลายด่านคำม่วนต่อกับเมืองท่าอุเทนของฝั่งไทยและเกิดการต่อสู้กันทำให้ "นายกรอสกุรัง" เสียชีวิตพร้อมกับทหารญวน 11-12 คน บาดเจ็บ 3 คน ฝ่ายทหารไทยเสียชีวิต 6 คน บาดเจ็บ 4 คน

จากเหตุการณ์นี้ทำให้นายออกุสต์ ปาวีไม่พอใจกล่าวหาว่าพระยอดเมืองขวางเป็นฆาตกรบุกเข้าไปทำร้ายนายกรอสกุรังขณะนอนป่วยอยู่ในที่พักและนำเรื่องขึ้นพิจารณาคดีในศาลรับสั่งพิเศษ รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร แม่ทัพใหญ่อีสานใต้เป็นประธาน

คณะผู้พิพากษาซึ่งประกอบด้วย

พระยาสีหราชเดโชชัย
พระยาอภัยรณฤทธิ์
พระยาเทเวศวงศ์วิวัฒน์พระยาธรรมสารนิติ์
พระยาฤทธิรงค์ พระยาธรรมสารเนตติ์

มี หลวงสุนทรโกษาและ นายหัสบำเรออัยการเป็นทนายฝ่ายโจทย์

มีนายตีเลกี (William Alfred Tilleke) ต่อมารับราชการเป็น พระยาอรรถการประสิทธิ์ต้นสกุลคุณะดิลกและนายเวอร์นอน เพจ (Vernon Page) ชาวอังกฤษเป็นทนายจำเลย

ต้นแบบข้าแผ่นดิน!!พระยอดเมืองขวางผู้สละอิสรภาพและชีวิตเพื่อชาวสยาม

การพิจารณาคดี "พระยอดเมืองขวาง" ดำเนินเป็นเวลา 22 วัน ตั้งแต่24 กุมภาพันธ์ ถึง 16 มีนาคม พ.ศ. 2437 ศาลมีคำพิพากษาว่า พระยอดเมืองขวางไม่มีความผิดตามฟ้องและให้ปล่อยตัวเป็นอิสระสร้างความไม่พอใจให้กับนายลาเนสซังผู้สำเร็จราชการอินโดจีนและขอให้จัดตั้งศาลผสมไทย-ฝรั่งเศส ประกอบด้วยผู้พิพากษาฝรั่งเศส 3 คนเดินทางมาจากไซ่ง่อนและสยาม 2 คน พิจารณาคดีเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2437 และตัดสินให้จำคุกพระยอดเมืองขวาง 20 ปี ด้วยเสียงข้างมาก 3 เสียงของฝ่ายฝรั่งเศส

พระยอดเมืองขวางถูกจำคุกอยู่ 4 ปี ก็ได้รับอิสรภาพจากคำร้องขอของรัฐบาลฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานบำนาญให้เป็นพิเศษเดือนละ 500 บาท ท่านได้รับการยกย่องในฐานะวีรบุรุษผู้รักชาติต่อมาได้ล้มป่วยและเสียชีวิต ใน ร.ศ. 119 (พ.ศ. 2443) อายุได้ 48 ปี เป็นต้นสกุล "ยอดเพ็ชร์" และ "กฤษณมิตร"

"นี่คือประวัติวีรบุรุษของเราในอดีตซึ่งเรียกกันว่าคดีพระยอดเมืองขวาง นำมาเล่าให้ฟังเพื่อรำลึกถึงความกล้าหาญของวีรบุรุษของเรา" ข้าราชการไทยในปัจจุปันมีผู้ใดบ้างที่กล้าหาญเสียสละดังเช่นพระยอดเมืองขวาง ทอดแลไปทั้งแผ่นดินยังไม่สดุดที่ใครสักผู้หนึ่งเลย

 ที่มาจาก : FB โฆสิโต ผู้ให้กึกก้องแล้ว


ต้นแบบข้าแผ่นดิน!!พระยอดเมืองขวางผู้สละอิสรภาพและชีวิตเพื่อชาวสยาม

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
รวมข่าวในกระแส คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์