‘ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป’ ไม่ใช่คำใหม่ มีใช้มานานนมตั้งแต่สมัย...


 ‘ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป’ ไม่ใช่คำใหม่ มีใช้มานานนมตั้งแต่สมัย...

ไขข้อข้องใจให้ถึงที่มาของคำว่า ‘ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป'

   ทราบหรือไม่ว่าคำๆ นี้ไม่ใช่คำใหม่ แต่เป็นคำที่มีการใช้มาแล้วเกือบ 200 ปี ก่อนจะมีการปรับเปลี่ยนคำให้กลายมาเป็นคำที่เราคุ้นชินกันในปัจจุบัน


‘กวีเอกของโลก' ผู้เริ่มใช้คนแรก

     ‘สุนทรภู่' (พ.ศ.2329-2398) กวีสี่แผ่นดินชื่อก้องโลก ที่ได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านวรรณกรรม ได้รับการขนานนามว่าเป็น ‘เชคสเปียร์เมืองไทย' ผู้ประพันธ์กลอนนิทานเรื่อง ‘อภัยมณี' และวรรณคดีชื่อดังอีกหลายเรื่อง สุนทรภู่ได้เข้ารับราชการในกรมอาลักษณ์ราชสำนักรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) และสิ้นชีวิตในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4)

 ‘ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป’ ไม่ใช่คำใหม่ มีใช้มานานนมตั้งแต่สมัย...

ในช่วงประมาณปี พ.ศ.2371 สุนทรภู่ในขณะนั้นบวชเป็นพระภิกษุ ได้เดินทางไปนมัสการเจดีย์ภูเขาทอง ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และได้แต่งนิราศชื่อ ‘นิราศภูเขาทอง' ซึ่งเป็นวรรณคดีประเภทนิราศที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นนิราศเรื่องที่ดีที่สุดของสุนทรภู่ ทั้งนี้บทนิราศภูเขาทองตอนหนึ่งได้กล่าวถึงความจงรักภักดีของสุนทรภู่ที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งมีเนื้อหาอาลัยอาวรณ์และระลึกถึงพระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นที่รักและเทิดทูนตลอดการเดินทาง 

โดยประพันธ์ตอนหนึ่งว่า ‘ขอเป็นข้าเคียงพระบาททุกชาติไป' ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า ‘ขอเป็นข้ารองบาททุกชาภติไป' ที่คนไทยใช้แสดงความจงรักภักดีและแสดงความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ในช่วงเวลานี้

****
Cr:::บันทึกประวัติศาสตร์

 ‘ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป’ ไม่ใช่คำใหม่ มีใช้มานานนมตั้งแต่สมัย...

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
เช็คเบอร์มือถือ คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์