เปิดประวัติ เขาชีจรรย์ พุทธสถานศักดิ์สิทธิ์คู่จังหวัดชลบุรี


เปิดประวัติ เขาชีจรรย์ พุทธสถานศักดิ์สิทธิ์คู่จังหวัดชลบุรี

เผยประวัติ เขาชีจรรย์ พุทธสถานศักดิ์สิทธิ์คู่จังหวัดชลบุรี

       เขาชีจรรย์ เป็นพุทธสถาน เกิดจากเขาธรรมดากลายเป็นเขาที่บันทึกภาพพระพุทธฉาย พุทธสถานศักดิ์สิทธิ์ ที่ดึงนักท่องเที่ยวจากทุกสารทิศมาที่แห่งนี้ ซีเคร็ตจะเผยความเป็นมาของพุทธสถานแห่งนี้ให้เป็นที่รู้จัก

เขาชีจรรย์ สถานที่ท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาที่มีชื่อเสียงของจังหวัดชลบุรี มีพระพุทธรูปแกะสลักบนหน้าผาหินในลักษณะพระพุทธฉายที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เพื่อเป็นพระพุทธรูปประจำรัชกาลที่ 9 น้อมเกล้าถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติปีที่ 50 ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

พระพุทธฉายมีลักษณะเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยเลียนแบบพระพุทธนวราชบพิตรศิลปะสุโขทัยผสมล้านนา มีความสูง 109 เมตร

เขาชีจรรย์เกิดจากพระดำริแห่งสมเด็จพระสังฆราช

เขาชีจรรย์กลายเป็นพุทธสถานที่สร้างขึ้นจากพระราชดำริของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เมื่อครั้งยังดำรงตำแหน่งเป็น สมเด็จพระญาณสังวร เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งทรงเสียดายเขาแห่งนี้ที่มีภูมิทัศน์ที่งดงาม ยิ่งใหญ่สง่างามตามธรรมชาติ แต่ต้องถูกระเบิดทำลายทุกวันเพื่อเอาหิน พระองค์ทรงดำริที่จะอนุรักษ์เขาชีจรรย์ไว้ให้คงชื่ออยู่คู่กับเขาชีโอน ซึ่งมีส่วนหนึ่งอยู่ในเขตสังฆาวาสของวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ด้วยการสร้างพระพุทธรูปแกะสลัก (พระพุทธฉาย) บนหน้าผาเขาชีจรรย์ให้เป็นปูชนียสถานสำคัญทางพระพุทธศาสนา พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตพระราชทาน นามพระพุทธรูปว่า" พระพุทธมหาวชิร อุตตโมภาสศาสดา " โดยมีความหมายว่า " พระพุทธเจ้าทรงเป็นศาสดาที่รุ่งเรื่องสว่างประเสริฐ ดุจดังมหาวชิระ "


กว่าจะมาเป็นพระพุทธฉายบนเขาชีจรรย์
ศ.ดร.ปริญญา นุตาลัย ปรมาจารย์ทางธรณีวิทยาของไทย เป็นผู้ที่ทำให้โครงการนี้ ที่ขนาดท่านยังว่าเป็นโครงการที่'ฝันที่เป็นจริง' เพราะก่อนหน้านั้นเกือบจะกลายเป็น ‘หมัน' เสียแล้ว ด้วยว่าบรรดานักวิชาการทั้งไทยและจีน ที่เชิญมาดูที่งานต่างมีมติความเห็นว่า โครงการ แล้วพากันชัวร์ว่า ‘ไม่น่าจะเป็นไปได้' ด้วยราคาและระยะเวลาอันจำกัดขนาดนี้

สำหรับการก่อสร้าง สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (เอ.ไอ.ที) เป็นผู้ดำเนินการกลั่นกรองบริษัทเอกชนที่เหมาะสมในการก่อสร้าง โดยดร.วิบูลย์ แสงวีระพันธุ์ศิริ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์ฯ เป็นผู้ออกแบบการปรับแต่งผิวหน้า นายกนก บุญโพธิ์แก้ว รองอธิบดีกรมศิลปากร เป็นผู้ออกแบบองค์พระพุทธฉาย และในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2538 นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ว่าจ้างบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล บลาสเตอร์ เป็นผู้ทำการก่อสร้างในราคา 43,305,800 บาท

 ขณะที่งานระยะแรกเริ่มจากการสำรวจเพื่อการปรับแต่งผิวหน้าผา และกำหนดความลึกของลายเส้นขององค์พระ จากนั้นจึงระเบิดปรับเกลา จากนั้นงานระยะที่สอง ทำการสแกนภาพต้นแบบของพระพุทธรูปไว้บนคอมพิวเตอร์ แล้วบันทึกโปรแกรมส่งไปยังสแกนเนอร์ แล้วควบคุมการยิงเลเซอร์เพื่อวาดภาพบนเขา ซึ่งการฉายแสงวาดภาพบนเขา ต้องทำในเวลากลางคืนเพื่อการมองเห็นที่ชัดเจน

อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างเป็นไปอย่างยากลำบาก เนื่องจากผิวหน้าผามีการแตกและช้ำมาก รวมทั้งฝนยังตกลงมาทำให้การทำงานมีความเสี่ยงมากขึ้น ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดใดแต่ในที่สุดก็สามารถเสร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2539 มีการประกอบพิธีน้อมเกล้าฯ ถวายพระพุทธรูปแกะสลักบนหน้าผาเขาชีจรรย์

แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ขอพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณเสด็จฯ ไปทรงประกอบพิธีเบิกพระเนตร และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่พระอุระของพระพุทธรูป เพื่อให้เกิดเป็นสิริมงคล

เปิดประวัติ เขาชีจรรย์ พุทธสถานศักดิ์สิทธิ์คู่จังหวัดชลบุรี


เปิดประวัติ เขาชีจรรย์ พุทธสถานศักดิ์สิทธิ์คู่จังหวัดชลบุรี

Cr::goodlifeupdate.com

เปิดประวัติ เขาชีจรรย์ พุทธสถานศักดิ์สิทธิ์คู่จังหวัดชลบุรี

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
ตามข่าวteenee.com จาก LineToday เข้าไปคลิ๊กกดติดตามได้เลย
กระทู้เด็ดน่าแชร์