ความสัมพันธ์ สยาม-เกาหลี ในช่วงรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรฯ


ความสัมพันธ์ สยาม-เกาหลี ในช่วงรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรฯ

สยาม-เกาหลี

ในช่วงรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ความสัมพันธ์ทางการทูตของอยุธยานั้นเจริญก้าวหน้ากว่าที่เราคิดไว้ ในบันทึกประวัติศาสตร์ของเกาหลีระบุว่า นายกองมายังเกาหลีในสมัยราชวงศ์โครียอ
.
บันทึกของราชวงศ์โครียอในรัชสมัยพระเจ้ากงหยาง มีบันทึกว่า "พระราชอาณาจักรเสียนหลอได้ส่งนายกองและผู้ช่วยชาวสยามอีก 8 คน ได้นำสินค้าพื้นเมืองและจดหมายเข้ามา ในเนื้อความจดหมายกล่าวถึงกษัติรย์แห่งเสียนหลอแต่งตั้งให้นายกองเป็นราชทูตพร้อมแต่งเรือสินค้าพื้นเมืองเข้ามาถวายยังกษัตริย์แห่งโครียอ" ผู้เขียนให้ความเห็นว่าในพระราชสาส์นที่นายกองถือเข้ามาไม่มีหัวจดหมาย ไม่มีชื่อผู้ส่ง ไม่มีตราประทับครั่งมีแต่ตรากลมประทับในจดหมาย ซึ่งไม่สามารถยืนยันได้ว่ามาจากราชสำนักสยามจริงหรือไม่
.
"หากแต่เรา (โครียอ) ก็มิอาจจะปฏิเสธได้ในความสงสัยนี้ เราไม่สามารถขับไล่ชายผู้ซึ่งเดินทางมาหาเรา ดังนั้นเราจึงต้องต้อนรับเขาเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมิตร" - นี่เป็นท่าทีหลังจากที่นายกองเดินทางเข้าไปยื่นจดหมายยังราชสำนักโครียอ และในท้องพระโรงที่โครียอ นายกองได้รายงานว่าในพุทธศักราช 1931 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้นำเรือมา แต่เมื่อมาถึงเกาะญี่ปุ่นเราได้อาศัยอยู่ที่เกาะนั้นเป็นเวลา 1 ปี และวันนี้เราได้เดินทางมายังเกาหลี"
.
กษัตริย์โครียอดำรัสถามต่อว่า การเดินทางระหว่างเสียนหลอมายังโครียอเป็นอย่างไรบ้าง และนายกองตอบกลับว่า ด้วยอาศัยลมทิศเหนือจึงเดินทางมาถึงเกาหลีใน 40 วัน ในเอกสารเกาหลียังระบุว่า ชายเหล่านี้ท่อนบนเปลือยเปล่า ไม่สวมรองเท้า ส่วนชายที่มียศสูงใช้ผ้าสีขาวพันรัดเส้นผมไว้ ผู้น้อยให้ความเคารพ
.
และถึงสมัยราชวงศ์โชซอน ได้มีราชทูตชาวสยามเดินทางไปในปีพุทธศักราช 1936 ว่าราชทูตนามว่า Nai Zhang Si Dao พร้อมกับชาวสยามอีก 20 คนเดินทางมายังเกาหลี
.
นี่เป็นเรื่องราวเล็กๆ ของการเดินทางสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับดินแดนตะวันออกไกลยังญี่ปุ่นและเกาหลี เป็นเส้นทางการค้าแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกันรวมทั้งมีการติดต่อซื้อเครื่องกระเบื้องบรรทุกนำกลับมายังสยามเพื่อทำกำไรขายต่อยังชาวยุโรปอีกทอดก็เป็นไปได้
.

ที่มา
1. เอกสารความสัมพันธ์ระหว่างราชอาณาจักรอยุธยา - อาณาจักรริวกิว, Piyada Chonlaworn
2. เอกสารความสัมพันธ์ระหว่างราชอาจักรอยุธยา-เกาหลีมในปลายคริสศตวรรษที่ 14, Hung-Guk Cho

FB กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา




ความสัมพันธ์ สยาม-เกาหลี ในช่วงรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรฯ

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
ดูดวง เลขบัตรประชาชน คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์