จ่าโขลน ตำแหน่งสำคัญ ประจำด่านแรกของเขต พระราชฐานชั้นใน

 “อ้อ ! พลอย เวลาเข้าประตูละก็ ต้องข้ามธรณีประตูให้พ้น เทียวนะ
อย่าไปเหยียบหรือเอาเท้าไปเตะเข้า เดี๋ยวจะเกิดเรื่อง”
 
พูดแล้วแม่ก็นำพลอยรีบเดินใกล้ประตูเข้าไป พลอยสะดุ้งสุดตัว ความสนใจหลุดจากของแปลกอื่นๆ มารวมอยู่ที่ธรณีประตู ที่เห็นอยู่ข้างหน้าทันที ธรณีประตูนั้น ทำด้วยไม้เหลี่ยมค่อนข้างใหญ่ แต่ไม่ใหญ่ถึงกับ จะข้ามไม่พ้น มีรอยคนมาปิดทองไว้บ้าง เป็นระยะๆ และใกล้ๆ ขอบประตูนั้น ก็มีธูปปักอยู่ที่ริมขอบประตู ด้านในนั้น มีผู้หญิงสาวบ้างแก่บ้าง นั่งอยู่สองข้าง พลอยมาทราบทีหลังว่า หญิงเหล่านั้น มีหน้าที่เฝ้าประตูวัง และหน้าที่อื่นๆ อีกมากมายหลายอย่างในวัง เป็นข้าราชการอยู่ในกรมโขลน ชาววังทั่วๆไป เรียกกันว่า "โขลน"

พลอยยิ่งเดินใกล้ธรณีประตูนั้นเข้าไป ธรณีประตูนั้นก็ยิ่งดูทั้งสูงทั้งใหญ่ เพิ่มความน่าสะพึงกลัว ยิ่งขึ้นทุกที ส่วนในใจของพลอยนั้น ก็นึกด้วยความหวาดว่า “ไม่พ้นแน่ ไม่พ้นแน่ ! ที่นี่เป็นวังหลวง วังของในหลวง ใครทำผิดอะไรนิดเดียวเขาเอาไปเฆี่ยน ไปขังคุก ไปตัดหัว ใครเหยียบธรณีประตูเขาเอาไปตัดหัว ! ดูซี ! ไม่มีใครกล้าเหยียบสักคน ใครเดินเข้าเดินออกต้องกระโดดข้ามทุกคน แต่เราก้าวข้ามไม่พ้นแน่ เพราะใหญ่ออก อย่างนั้น สูงออกอย่างนั้น”

พลอยตัดสินใจโดยรวดเร็ว เป็นตายอย่างไรก็จะต้องตามไปให้ถึงตัวแม่จนได้ พลอยรีบสาวเท้าก้าวเดินตรง เข้าไปที่ประตู พอถึงประตูก็รู้สึกตัวเย็นวูบ หลับตาทั้งสองข้าง ยกเท้าข้างหนึ่งให้สูงที่สุด และก้าวออกไปเท่าที่ นึกว่าเป็นก้าวที่ยาวที่สุดในชีวิต พอวางเท้าลงบนพื้นพลอยก็ลืมตาขึ้น แล้วก็เห็นว่าตัวเอง กำลังยืนอยู่บนธรณีประตูนั้นพอดี พลอยใจหายวาบ นางพิศที่เดินตามมาข้างหลัง ยกมือตบอกดังผลุง พลอยเผ่นลงจากธรณีประตู วิ่งตรงไปที่ตัวแม่อย่างไม่คิดชีวิต
 
“หยุด !”เสียงใครคนหนึ่งร้องราวกับฟ้าผ่า“หยุดเดี๋ยวนี้ ! กลับมานี่ก่อน !”เสียงนั้นร้องสำทับมา
 (จาก “สี่แผ่นดิน”ของ พลตรี มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช)

  ...โอ้ยแม่เจ้าประคุณเอ๋ย...ดั่งที่ใน แม่พลอยได้บรรยายเอาไว้ อีฉันก็ช่างกลัวเหลือเกิน กลัวว่าจ่าโขลนจะลงโทษ แต่หลายคนอาจจะสงสัย ว่าจ่าโขลนนั้น คือใคร ทำหน้าที่อะไร ทำไม พลอยถึงต้องเกรงกลัวขนาดนั้นด้วย วันนี้ อีฉันจะพาย้อนไปทำความรู้จักกับ "จ่าโขลน" 

รูปเก่าจ่าโขลนในวังสมัยก่อน ใครได้อ่านสี่แผ่นดินจะรู้ว่าพวกท่านดุสุดๆ (Taken with Instagram at สำนักหอสมุดกลาง (Central Library))

กรมพระราชฐานชั้นใน ซึ่งแน่นอนรัชสมัยนั้นมีแต่ สตรีเท่านั้น และจ่าโขลนก็เป็นสตรีเช่นกัน
 
“โขลน” เป็นผู้ตรวจตรารักษาถนนหนทาง ดูแลเรื่องความสะอาด ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยไม่ให้มีการทะเลาะวิวาทกัน ในเขตพระราชฐานชั้นใน เมื่อให้มีการจัดขึ้นเป็น กรมโขลน ดังที่กล่าวไปบ้างแล้ว ดังจะเห็นได้จาก พระบรมราชโองการเกี่ยวกับการตั้งกรมโขลนและหน้าที่ของกรมโขลน ตอนหนึ่งว่า
 
" ทรงพระกรุณาโปรดให้จัดโขลนเปนธรรมเนียมคล้ายโปลิดให้รักษาถนนในพระบรมมหาราชวังทุกถนนทุกทางให้จัดแบ่งเขตรแดน แต่รายกำลังโปลิดจะรักษาได้ แล้วให้มีนายกำกับคนหนึ่ง สำหรับว่ากล่าว ว่ากล่าวโปลิดตลอดทุก ๆ ถนน แลจะพระราชทานเงินเดือนให้โปลิดพอเป็นเบี้ยเลี้ยง ตามผู้ได้รับราชการมากแลน้อย....ให้ผู้รับราชการในพระบรมมหาราชวังจัดเกวียนเล็ก ๆ สำหรับรับหยากเยื่อฝุ่นฝอยใบไม้ ใบตองของที่เปื้อนและเครื่องโสโครกทั้งปวงให้หญิงมหันตโทษเขนมาในพระบรมมหาราชวังเวลาเช้าให้โขลนพนักงานที่รับเครื่องรกเปื้อนบนเรือนของตัวลงมาในเกวียนซึ่งลากไปนั้น ถ้าเปนน้ำกระโถนก็ดี ฤาน้ำอื่น ๆ ซึ่งเป็นของโสโครกห้ามมิให้เทลงในเกวียนหยักเยื่อฝุ่นฝอย จะให้มีเกวียนถังไปรับต่างหาก ห้ามมิให้เทหยากเยื่อ หน้าที่ของตัว...ให้โปลิดระวังอย่าให้เกิดการทะเลาะชกตีกันในวัง ห้ามชาววัง ห้ามโปลิดกล่าวคำหยาบ "

จากพระบรมราชโองการข้างต้นทำให้เห็นภาพของโขลนในสมัยนั้น นอกจากว่า โขลนต้องทำหน้าที่เหมือนตำรวจแล้ว ยังมีอีกหน้าที่หนึ่งที่ต้องอำนวยความสะดวกในเส้นทางที่มีเสด็จพระราชดำเนินผ่าน เช่น ร้องห้ามให้คนหยุด เป็นสัณญาณว่ามีการเสด็จพระราชดำเนินผ่านที่นั้น ผู้คนทั้งปวงจะต้องหลบหลีกเปิดเส้นทางให้พร้อมกับหมอบลง หรือทำหน้าที่ปิด - เปิดประตู ให้เจ้านายเสด็จผ่าน

รู้ไหมคะ การที่แม่พลอยเหยียบธรณีประตูนั้นและแม่แช่มได้ให้พลอยกราบขอขมานั้น เพื่อเป็นการกราบลาโทษแก่เทพเทวดาที่ปกปักรักษาประตู จะเห็นได้ว่ามีธูปปักอยู่ตั้งสองข้างประตูเลย...แถมถ้าใครไม่รู้อิโหน่อิเหน่ละก็ คุณท้าวจ่าโขลนนี่ดุแบบไม่ไว้หน้าต่อหน้าธารกำนัลกันเลยทีเดียว...จะเป็นสิ่งที่อายมาก 

ชาววัง​จึง​เกรง​กลัว​โขลน ไม่​อยาก​มี​เรื่องราว​กับ​โขลน อย่าง​ที่​แม่​แช่ม​กระซิบ​สั่งสอน​พลอย​ว่า “พลอย​จะ​อยู่​ใน​วัง​ต่อ​ไป จำ​ไว้​ให้​ดี อย่า​ไป​เกิด​เรื่อง​กับ​โขลน แก​ด่า​ยับ​ทีเดียว เรา​สู้​เขา​ไม่ได้​หรอก” 

“โขลน” ​เป็น​พนักงาน​สังกัด​กรม​โขลน มี​มา​ตั้งแต่​สมัย​อยุธยา​จนถึง​รัตนโกสินทร์ ทำ​หน้าที่​คล้าย​ตำรวจนครบาล​ของ​ราช​สำนัก​ฝ่ายหน้า กรม​โขลน​สังกัด​กระทรวง​วัง มี​การ​บังคับบัญชา​ตามลำดับ​ชั้น  ตั้งแต่​นาย (โขลน​ทุก​คน​เป็น​ผู้หญิง) จนถึง​จ่า ชั้น​สูง​สุด​คือ​หลวง​แม่เจ้า ทั้งหมด​มี​อธิบดี​โขลน​เป็น​ผู้​บังคับบัญชา
 
...เป็นยังไงกันบ้างเจ้าคะ อีฉันล่ะกลัว จ่าโขลนเหลือเกิน กลัวว่าจะต่อปากต่อคำกับนางไม่ได้ (หัวเราะเอามือปิดปาก) แต่ปัจจุบันนี้น่าเสียดายที่ไม่มี ตำแหน่ง "โขลน" ให้เราได้เห็นอีกแล้ว ถ้ายังมีอยู่ การที่พระบรมมหาราชวังได้เปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยว ชาวจีน ชาวไทยทั้งหลายคงโดยจ่าโขลนดุ ยับหน้าพังกันเป็นแทบๆแน่เลย จริงไหมคะ....

จ่าโขลน ตำแหน่งสำคัญ ประจำด่านแรกของเขต พระราชฐานชั้นใน


จ่าโขลน ตำแหน่งสำคัญ ประจำด่านแรกของเขต พระราชฐานชั้นใน


จ่าโขลน ตำแหน่งสำคัญ ประจำด่านแรกของเขต พระราชฐานชั้นใน

ขอบคุณรูปภาพและข้อมูลจาก 
http://www.thairath.co.th/content/170328
http://oknation.nationtv.tv/blog/akemeepool/2008/07/17/entry-6
https://goo.gl/15DYQm


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์