ตำนาน สงครามกลางเมือง ฆ่ากันแล้ว ก็จบกันไป?


 


IN WAR : RESOLUTION
IN DEFEAT : DEFIANCE
IN VICTORY : MAGNANIMITY
IN PEACE : GOODWILL
Winston Churchill
(The Second World War Volume I: The Gathering Storm, 1st Edition 1948)


 


ในรอบร้อยปีที่ผ่านมานี้ ได้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นหลายสิบระลอกทั่วโลก บางระลอกลุกลามกลายเป็นสงครามโลกก็มี


 


เฉพาะในเมืองไทยเอง การสู้รบอย่างเปิดเผยระหว่างรัฐบาลกับกองทัพปลดแอกประชาชน (ทปท.) ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ก็มีขึ้นอย่างรุนแรงและต่อเนื่องยาวนาน เป็นเวลาร่วมสองทศวรรษ อันนี้ยังไม่นับการปะทะกันอย่างรุนแรงบนท้องถนนราชดำเนิน และการล้อมปราบที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์หรือทำเนียบรัฐบาล ในการลุกขึ้นสู้เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖, ๒๕๑๙, และ ๒๕๕๑


 


MBA เห็นว่า สงครามกลางเมืองใหญ่ของโลกบางระลอก เป็นเรื่องที่คนไทยต้องรู้ อย่างน้อยเพื่อเตือนสติตัวเอง และรู้เท่าทันเหตุปัจจัยของการเกิด-ดับ ของความขัดแย้ง อันนำไปสู่-ดำรงอยู่-และสิ้นสุด ของสงครามแต่ละครั้ง ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ และสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากสงครามสิ้นสุดลง


 


สงครามกลางเมืองและการลุกขึ้นสู้ของประชาชนต่อรัฐบาลหรือผู้ปกครองที่กดขี่นั้น มีมาช้านานและมีขึ้นเป็นช่วงๆ ถี่ห่างตามแต่ยุคสมัย นับแต่เริ่มมีการบันทึกประวัติศาสตร์สังคมมนุษย์อย่างเป็นจริงเป็นจังที่อียิปต์โบราณ จีนโบราณ เปอร์เซีย และอินเดียโบราณ ไล่เรียงมาจนถึงกรีก โรมัน ยุโรป อเมริกา อัฟริกา และเอเชีย ก็เกิดขึ้นอยู่เนืองๆ ตลอดมาทุกศตวรรษ แทบไม่เคยว่างเว้น


 


กรีกฆ่ากรีก


alt


 


แต่ไหนแต่ไรมา ก่อนการปฏิวัติใหญ่ในประเทศฝรั่งเศส (French Revolution) มนุษย์เราส่วนมากถูกปกครองโดยคนจำนวนหยิบมือ ทั้งที่เรียกกันภายหลังว่า นายทาสบ้าง เจ้าที่ดินบ้าง พระบ้าง เจ้าบ้าง ขุนนางบ้าง อำมาตย์บ้าง อีกทั้งยังสืบทอดอำนาจกันเองเป็นรุ่นๆ หลายชั่วอายุคน


 


จึงไม่แปลกที่ผู้ปกครองเหล่านั้นจะ Manage ไปเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มตน ซึ่งเป็นธรรมดาอยู่เองที่จะต้องกีดกันและเอาเปรียบคนจำนวนมาก ที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงอำนาจหรืออยู่ภายในรัศมีของการเมืองการปกครอง


 



ระบบปกครองแบบประชาธิปไตยที่อนุญาตให้ราษฎรมีสิทธิออกเสียงแบบเท่าเทียมกัน อย่างเรารู้จักกันในโลกปัจจุบันนี้ เพิ่งเกิดขึ้นได้ไม่นาน แม้ในสมัยกรีกโบราณ ที่อ้างกันว่าเป็นปฐมรัฐที่คิดค้นประชาธิปไตยขึ้น ก็มีนักประวัติศาสตร์ชี้ให้เห็นว่า ในช่วงระหว่างที่เกิด Peloponnesian War (ปี 431-404 B.C.) ประชากรทั้งหมดประมาณ 315,000 ของแคว้น Attica นั้น เป็นทาสเสีย 115,000 คน และก็มีเพียง 43,000 คนเท่านั้นที่มีสิทธิออกเสียง เพราะสมัยนั้นผู้หญิง พ่อค้า คนงาน และคนต่างชาติ ไม่ได้รับสิทธิดังกล่าว (Will and Ariel Durant, The Story of Civilization Volume I: The Life of Greece, 1st edition 1939)


 



เป็นธรรมดาอยู่เองที่การปกครองของคนหยิบมือโดยกีดกันคนหมู่มาก ย่อมนำมาซึ่งความขัดแย้ง


 



ที่อาณาจักรกรีกโบราณคราวนั้น แรกๆ ก็แสดงออกด้วยการด่ากัน ประณามกัน เขียนหนังสือว่ากัน แสดงละครเสียดสีกัน ประท้วงกัน ตั้งพรรคการเมืองแข่งกัน จนหนักเข้าก็ลอบสังหารกัน แล้วก็เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นจนได้


 



ประมาณปี 427 B.C. ที่ Corcyra (เดี๋ยวนี้เรียกว่า Corfu) พวกเจ้า (เรียกว่า Oligarchs ส่วนใหญ่เป็นเจ้าที่ดิน ชนชั้นสูง และเจ้าของกิจการขนาดใหญ่) ลอบสังหารผู้นำพรรคฝ่ายไพร่ (เรียกว่า Democrat ส่วนใหญ่เป็นพ่อค้าเล็กๆ คนงานและประชาชนทั่วไป) 60 คน ฝ่ายไพร่ก็เลยล้มฝ่ายเจ้า จับฝ่ายเจ้า 50 คนขึ้นศาลเตี้ย (คล้ายๆ Committee of Public Safety ในสมัยหลังที่ฝ่ายสาธารณรัฐฝรั่งเศสตั้งขึ้นจัดการกับฝ่ายเจ้า ขุนนาง และพระ ระหว่างการปฏิวัติใหญ่ปี 1792-1793) แล้วประหารทั้งหมด อีกทั้งยังจับขังให้อดอาหารตายในคุกอีกหลายร้อย


 


ท่านผู้อ่านลองอ่านบทบรรยายของ Thucydides นักประวัติศาสตร์ร่วมสมัยนั้นดูก็ได้ว่า บรรยากาศของสงครามกลางเมืองครั้งนั้น มันน่าสยดสยองเพียงใด


 


“During seven days the Corcyreans were engaged in butchering those of their fellow citizens whom they regarded as their enemies………Death raged in every shape, and, as usually happens at such times, there was no length to which violence did not go; sons were killed by their fathers, and suppliants were dragged from the altar or slain on it……Revolution thus ran its course from city to city, and the places where it arrived last, from having heard what had been done before, carried to a still greater excess the…atrocity of their reprisals…..Corcyra gave the first example of these crimes,….of the revenge exacted by the governed (who had never experienced equitable treatment, or, indeed, aught but violence, from their rulers) and….of the savage and pitiless excesses into which men were hurried by their passions….Meanwhile the moderate part of the citizens perished between the two (warring groups)…..The whole Hellenic world was convulsed.” (Thucydides, Peloponnesian War, iii 10; อ้างใน Life of Greece)


 


ว่ากันว่า ยุคหลังจากนี้ เป็นยุคที่ประชาธิปไตยของกรีกโบราณเบ่งบานที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเธนส์ แต่ถ้าเราอ่านงานของ Plato ทั้งที่มักยืมปาก Socrates ให้เป็นผู้วิจารณ์และที่เป็นความเห็นของตนเอง ก็จะเห็นว่าทั้งเขาและโสกราตีส ค่อนข้างดูแคลนและรังเกียจพวก demos (ซึ่งอาจอนุโลมเทียบได้กับบรรดาคนชั้นกลางและชั้นล่างในปัจจุบัน) ที่เริ่มขึ้นมามีบทบาทในการปกครองเอเธนส์หลัง Peloponnesian War ในครั้งนั้น


 


alt


Socrates


 


เปลโต้ค่อนข้างรังเกียจพวกเศรษฐีใหม่ (neoplutoi) ที่ฟุ้งเฟ้อ อวดร่ำอวดรวย และเข้ามาปกครองแทนที่พวกเจ้าที่ดิน โดยอ้างประชาธิปไตย ทว่ามุ่งเอาแต่ผลประโยชน์ทางการค้า การเงิน และอุตสาหกรรม จนเกิดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน (เปลโต้เขียนไว้ใน Republic ว่าเอเธนส์ขณะนั้นแยกเป็นสองเมือง “two cities:…one the city of the poor, the other of the rich, the one at war with the other.”)


 


เขาถึงกับ Observe ว่า “The excessive increase of anything causes a reaction in the opposite direction;….dictatorship naturally arises out of democracy, and the most aggravated form of tyranny and slavery out of the most extreme form of liberty.” (อ้างตามคำแปลจากภาษากรีกเป็นอังกฤษของศาสตราจารย์ Jowett)


 


หลังจากเปลโต้ตายลงในปี 347 B.C. ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนก็ยิ่งห่างขึ้น ความขัดแย้งกลายเป็นความเกลียดและระแวงไม่ไว้ใจกัน คนรวยและคนชั้นกลางฝ่ายหนึ่ง รวมตัวกันต่อต้านพวก Democrat โดยฝ่ายหลังก็พยายามกดดันให้รัฐบาลจัดสรรความมั่งคั่งไปสู่ชนชั้นล่างให้มากขึ้น ผ่านระบบประชานิยม ซึ่งรัฐบาลก็ต้องหารายได้แหล่งใหม่ๆ แล้วก็หนีไม่พ้นการเพิ่มภาษีแปลกๆ บางปีที่เศรษฐกิจเกิดตกต่ำ ลูกหนี้ก็รวมตัวกันสังหารเจ้าหนี้แล้วพากันยึดทรัพย์สินมาแบ่งกันก็มี


 


ภาวะแบบนี้เป็นอยู่จนกระทั่งกษัตริย์ Philip แห่ง Macedon (พระราชบิดาของอเล็กซานเดอร์มหาราช) ยกทัพเข้ายึดเอเธนส์แล้วเปลี่ยนระบบการปกครองเป็นแบบเผด็จการ และนับจากนั้นจนกระทั่งเสียกรุงให้โรมัน เอเธนส์ก็ไม่ได้กลับไปใช้ระบบปกครองแบบประชาธิปไตยแบบเดิมอีกเลย


 


เนเธอร์แลนด์ ฆ่าเพื่อปลดแอก 1572-1609


 


ก่อนยุคพระอาทิตย์ไม่ตกดินบนจักรวรรดิอังกฤษ สเปนเคยเป็นมหาอำนาจมาก่อน จักรพรรดิ Philip II (1527-1598) แห่งสเปนยิ่งใหญ่และน่าเกรงขามกว่าประธานาธิบดีสหรัฐฯ ปัจจุบัน เป็นไหนๆ 


 


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์