ธรรมเนียมถวายตัวเป็นมรดกหลวง “นางห้าม”

ธรรมเนียมการถวายตัวของราชสำนักในอดีตนั้น สตรีใดๆ เมื่อเข้าถวายตัวแบบถวายขาดแล้วจะถือว่าสตรีผู้นั้นตกเป็นคนของเจ้านายพระองค์นั้น หรือจะเรียกอีกอย่างก็คือ “นางห้าม” ซึ่งถือว่าชีวิตทั้งหมดแทบจะอุทิศให้กับวังหลวง และอาจถูกโยกย้ายที่อยู่ หรือปรับเปลี่ยนตำแหน่งงานได้ตลอดเวลาซึ่งสุดแต่พระวินิจฉัย

รวมไปถึงเรื่องของชีวิตคู่ก็เช่นเดียวกันที่สตรีเหล่านี้อาจจะต้องถูกจองจำอิสรภาพรักไปตลอดชีวิต เรื่องของนางห้ามนี้เคยเกิดเป็นเรื่องราวใหญ่โตมาแล้วครั้งหนึ่ง ดังจะขอยกเป็นกรณีศึกษาเพื่อให้ทุกคนเห็นภาพได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น คือ เรื่องของความรักระหว่าง นายแจ่ม สุนทรเวช กับ นางข้าหลวงที่ชื่อ “อุทุมพร วีระไวทยะ”

......ครั้งหนึ่ง ท่านพระยาดำรงแพทยาคุณ บิดาของนางสาวอุทุมพรได้ถวายนางสาวอุทุมพรให้เป็นข้าหลวงของ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ หรือที่เรียกกันว่า สมเด็จพระพันปีหลวง นางสาวอุทุมพรจึงย้ายเข้าไปอยู่ในราชสำนักของสมเด็จพระพันปีหลวง อุทุมพรได้รับพระอนุเคราะห์ให้ได้รับการศึกษาอย่างสตรีชั้นสูง ณ โรงเรียนราชินี เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วอุทุมพรก็กลับเข้าวังพญาไทเพื่อถวายงานรับใช้ต่อไปดังที่เคยทำมา

ต่อมาไม่นานจากนั้นสมเด็จพระพันปีหลวงเสด็จสวรรคตลง คุณอุทุมพรจึงได้ทำเรื่องขอกราบบังคมทูลลากลับมาอยู่ที่บ้านกับคุณหญิงสงวนผู้เป็นมารดา เพราะพระยาดำรงแพทยาคุณผู้เป็นพ่อเพิ่งถึงแก่อนิจกรรมไป ในระหว่างที่อุทุมพรกลับไปอยู่ที่บ้านนั้นก็ได้มีโอกาสทำความรู้จักกับ นายแจ่ม สุนทรเวช จนเกิดเป็นความรักในที่สุด

แต่แล้วก็มีเหตุให้อุทุมพรต้องเดินทางไปนครปฐมกับคุณหญิงสงวน ซึ่งการเดินทางไปนครปฐมครานี้ทำให้ท่านเจ้าคุณผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐมพึงพอใจในตัวของอุทุมพรถึงขนาดให้ผู้ใหญ่มาทาบทามสู่ขออุทุมพรไปเป็นคุณหญิงของท่าน ด้านอุทุมพรเองไม่สามารถจะยอมรับรักจากท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐมได้ เพราะตนได้รักใคร่ชอบพอกับนายแจ่มอยู่ก่อนแล้ว จึงหาวิธีนำเรื่องราวทั้งหมดแจ้งให้นายแจ่มทราบโดยทันที เมื่อนายแจ่มทราบข่าวแล้วก็ไม่รู้จะหาทางออกได้อย่างไร จึงตัดสินใจเข้าเฝ้ากราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองธุลี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แล้วกราบทูลเรื่องราวทั้งหมด

เมื่อรัชกาลที่ 6 ทรงทราบความฉะนั้นแล้วจึงมีรับสั่งให้มหาดเล็กไปเจรจากับคุณหญิงสงวน คุณหญิงสงวนก็บอกกับมหาดเล็กไปว่า ตนได้ตกลงกับทางผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐมไปแล้วว่าจะยกลูกสาวให้ หากกลับคำพูดไปมาก็เกรงจะเสียผู้ใหญ่ ความนั้นจึงกลับมาถึงรัชกาลที่ 6 อีกครั้ง แต่ครั้งนี้ได้มีพระราชกระแสรับสั่งให้นำคุณหญิงสงวนมาเข้าเฝ้ายังพระที่นั่ง

ซึ่งต่อมาในภายหลัง อุทุมพรได้เล่าเหตุการณ์ทั้งหมดในวันนั้นว่า ...เมื่อคุณแม่กลับจากเข้าเฝ้าบนพระที่นั่งแล้ว ในวันนั้นคุณแม่เล่าให้ฉันฟังทั้งน้ำตาว่า ในหลวงทรงอ้างสิทธิครอบครองในตัวดิฉัน โดยคุณแม่ได้ถวายขาดในตัวดิฉันให้สมเด็จพระพันปีหลวงไปแล้ว แม้ว่าเมื่อการณ์ผ่านไปสมเด็จพระพันปีหลวงสวรรคตไปแล้ว ตัวดิฉันก็จะต้องตกเป็นมรดกของในหลวงตกทอดกลายเป็นคนของหลวงต่อไปหรือเรียกอีกอย่างว่า "ห้าม"

....เหตุการณ์นี้จึงทำให้คุณแม่หมดสิทธิ์ที่จะเอาดิฉันไปยกให้ใคร ในหลวงทรงมีพระราชดำรัสว่าพวก “ห้าม” ถ้าใครอยากจะได้ก็ต้องทำหนังสือขึ้นมาขอพระราชทานไป ถือว่าเรื่องพวกนี้เป็นราชประเพณีที่ปฏิบัติมาแต่โบราณ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะพระราชทานยกให้ทุกครั้งเสมอไป การที่จะพระราชทานหรือไม่นั้นย่อมสุดแต่พระราชวินิจฉัย.....แต่แล้วพระเจ้าอยู่หัวก็เห็นกับความรักของทั้งสองจึงโปรดให้นายแจ่ม ทำหนังสือขอเข้ารับพระราชทานอุทุมพรไปเป็นภรรยา อย่างถูกต้องตามกฏหมาย

ซึ่ง คุณแจ่ม สุนทรเวช เกี่ยวข้องกับ คุณสมัคร สุนทรเวช คือ คุณแจ่มเป็นอาของคุณสมัคร ตระกูลนี้รับราชการสนองพระเดชพระคุณมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 คุณสมัครเคยกล่าวว่า "คุณตาผมเป็นพระยาอนุศาสน์จิตรกร เป็นจิตรกรประจำราชสำนักรัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 6 คุณลุงผม พระยาแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี (สุ่น สุนทรเวช) เป็นแพทย์ประจำพระองค์ของรัชกาลที่ 6 คุณพ่อผมชื่อพระยาบำรุงราชบริพาร (เสมียน สุนทรเวช) เป็นข้าราชบริพารในรัชกาลที่ 6 และอาผมอีกคนชื่อ จมื่นอมรดรุณรักษ์ (แจ่ม สุนทรเวช)

อนึ่ง คุณสมัคร สุนทรเวช เป็นคนเดียวที่ได้รับพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า (สีชมพู) ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ฝ่ายหน้า) ซึ่งเทียบเท่ากับบรรดาศักดิ์ "พระยา" โดยได้รับพระราชทานจากการเป็นผู้ว่า กทม. ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชฯชั้นนี้จะได้จากการเป็นนายกรัฐมนตรี เช่น นายชวน หลีกภัย , พลเอก สุจินดา คราประยูร , อานันท์ ปันยารชุน , ชาติชาย ชุณหะวัณ และ ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นต้น ปล. เครื่องราชฯจุลจอมเกล้า มีความพิเศษอยู่ 1 อย่างคือ จะพระราชทานเป็นการส่วนพระองค์ ตามพระราชวินิจฉัยเห็นสมควรเท่านั้น รัฐบาล "ไม่สามารถ" ทูลเสนอชื่อขอรับพระราชทานขึ้นไปได้ ส่วนเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า (ฝ่ายใน) ก็คือเหล่าคุณหญิง , และท่านผู้หญิงทั้งหลายนั่นเอง

ธรรมเนียมถวายตัวเป็นมรดกหลวง “นางห้าม”


ธรรมเนียมถวายตัวเป็นมรดกหลวง “นางห้าม”


ธรรมเนียมถวายตัวเป็นมรดกหลวง “นางห้าม”


ธรรมเนียมถวายตัวเป็นมรดกหลวง “นางห้าม”

ขอบคุณเนื้อหาจาก FB : คลังประวัติศาสตร์ไทย


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์