พระสุพรรณกัลยา ยอดหญิงในดวงใจ

ทรงเสียสละความสุขส่วนพระองค์เพื่อเอกราชของกรุงศรีอยุธยา

พระสุพรรณกัลยา สุวรรณกัลยา หรือ สุวรรณเทวีทรงเป็นพระราชธิดาใน สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช และ พระวิสุทธิกษัตรีย์ และเป็นพระพี่นางใน สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และ สมเด็จพระเอกาทศรถ ประสูติ ณ พระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโล  เชื่อว่าพระนามเดิม คือ "องค์ทอง" ได้รับการกล่าวขานว่าทรงมีความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว ยอมเสียสละความสุข

ส่วนพระองค์ และนับว่าทรงเป็นวีรสตรีไทยที่ควรแก่การยกย่องเชิดชู


พระสุพรรณกัลยา ยอดหญิงในดวงใจ

พระสุพรรณกัลยา มเหสีพระเจ้าบุเรงนอง

ในคราวสงครามครั้งเสียกรุงครั้งที่ ๑ ในปี พ.ศ. ๒๑๑๒ พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองทรง สถาปนาสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา พระสุพรรณกัลยา ทรงยอมเป็นองค์ประกันของหงสาวดีแทนพระนเรศวรผู้เป็นพระอนุชา โดยได้ถวายตัวเป็นพระมเหสีน้อย ในพระเจ้าบุเรงนอง สมเด็จพระนเรศวรจึงได้เสด็จกลับกรุงศรีอยุธยา

พระนางทรงมีพระธิดา ๑ พระองค์กับพระเจ้าบุเรงนอง ทรงพระนามว่า เมงอทเว เชื่อกันว่า

เป็นพระมเหสีที่พระเจ้าบุเรงนองทรงโปรดปราน โดยทรงจัดให้สร้างตำหนักทรงไทยขึ้นในพระราชวังกรุงหงสาวดี

พระสุพรรณกัลยา มเหสีพระเจ้านันทบุเรง

ภายหลังจากที่พระเจ้าบุเรงนองสวรรคตเมื่อพ.ศ. ๒๑๒๔ พระเจ้านันทบุเรงขึ้นครองราชย์แทน

พระนางจึงกลายเป็นพระมเหสีในพระเจ้านันทบุเรงตามประเพณี และมีพระโอรส ๑ พระองค์ (ไม่ปรากฏพระนาม)

พระสุพรรณกัลยา ยอดหญิงในดวงใจ

ตำนานชีวิต พระสุพรรณกัลยา

หลังสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก เมื่อปี พุทธศักราช 2112 พระนาง และพระอนุชา ทั้งสองพระองค์ ไดัถูก พระเจ้าบุเรงนอง กวาดต้อนไปเป็นเชลย ยังเมืองหงสาวดี พร้อมด้วย พระมหินทราธิราชเจ้าเหนือหัว แต่พระมหินทราธิราช เสด็จสวรรคตที่เมือง อังวะเสียก่อน พม่าจึงแต่งตั้ง ให้พระมหาธรรมราชา ขึ้นครองกรุงศรีอยุธยา ในขณะที่โอรส และธิดายัง เป็นเชลยอยู่ เพื่อเป็นองค์ประกัน ป้องกันการคิดทรยศของฝ่ายไทย ทั้งสามพี่น้องอยู่ที่หงสาวดีถึง 6 ปี จึงได้กลับมา กรุงศรีอยุธยาครั้งหนึ่ง เมื่อพระนาง มีพระชนมายุได้ 19 พรรษา ด้วยเหตุที่ พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง เกิดความพึงใจ ในพระสิริโฉม ของพระสุพรรณกัลยา จึงมาสู่ขอจากพระมหาธรรมราชา และนำกลับไปอภิเษก เป็นพระชายา ณ เมืองหงสาวดี ต่อมาพระนางได้ออกอุบาย ทูลขอให้พระอนุชาทั้งสองพระองค์กลับสู่กรุงศรีอยุธยา โดยอ้างว่า เพื่อไปช่วยพระบิดารับศึก พระยาละแวกแห่งเขมร พระสุพรรณกัลยา มีสภาพเหมือนถูกทอดทิ้ง ให้ผจญกรรมเพียงลำพัง กับไพร่พลเล็กน้อย ในท่ามกลางหมู่อริราชศัตรู ทั้งสิ้น แต่กระนั้นพระเจ้าหงสาวดี บุเรงนอง ก็ทรงมีพระเมตตา รักใคร่สิเนหา แก่พระสุพรรณกัลยาอยู่ไม่น้อย และด้วยบารมีแห่งพระสุพรรณกัลยา ได้ปกแผ่คุ้มครองแก่คนไทย ที่ตกเป็นเชลยอยู่ในเมืองพม่า มิให้ได้รับความลำบาก

ต่อมา มังไชยสิงหราช(นันทบุเรง) โอรสของพระเจ้า บุเรงนอง เป็นผู้มักมากในกามคุณ และต้องการเป็นใหญ่ จึงร่วมมือ กับชายาชาวไทยใหญ่ นามว่า "สุวนันทา" วางแผนชิงราชสมบัติ และแย่งอำนาจ ทำให้พระเจ้าบุเรงนองตรอม พระทัย และสวรรคตอย่างกระทันหัน เมื่อพระเจ้านันทบุเรงขึ้นครองราชย์ เกิดความวุ่นวาย เนื่องด้วยการไม่ยอมรับ ของ พระญาติวงศ์หลายฝ่าย ทำให้พระจ้านันทบุเรง เกิดความหวาดระแวง กอปรด้วยรู้ว่า มีการรวบรวมไพร่พล เตรียมการ กู้ชาติ ของพระนเรศวร และพระเอกาทศรถทางเมืองไทย จึงสั่งจับจองจำพระมารดาเลี้ยง (พระสุพรรณกัลยา) และ พระธิดา องค์แรกของพระนาง ให้อดอาหาร ลงโทษทัณฑ์ ทุบตี โบย อย่างทารุณ ในขณะที่พระนาง ทรงครรภ์แปดเดือน จนพระธิดา สิ้นพระชนม์

จากนั้น ก็ทำทารุณกรรมต่อพระนางอีก จนอ่อนเปลี้ยสิ้นเรี่ยวแรง แล้วใช้ดาบฟัน ฆ่าพระนางพร้อมด้วย ทารก ในครรภ์ แม้ร่างกายของพระนางสิ้นสูญแล้ว ก็ยังไม่เป็นที่สาแก่ใจ ของพระเจ้านันทบุเรง แม้ดวงวิญญาณของพระองค์ ก็ถูก กระทำพิธีทางไสยศาสตร์ ตราสังรัดตรึง ไม่ให้วิญญาณกลับสู่เมืองไทยให้วนเวียนอยู่ อย่างทุกข์ทรมานนานนับร้อยปี ในปีพุทธศักราช 2490 หลวงปู่โง่น โสรโย แห่งวัดพระพุทธบาทเขารวก อำเภอตะพานหิน จ.พิจิตร ได้รับกิจนิมนต์ จากพระมหาปีตะโก ภิกขุ ให้ไปช่วยงานด้านประติมากรรม
ซ่อมแซมรูปปลายฝาผนังที่เมืองพะโค(หงสาวดี) ประเทศพม่า ในขณะนั้น ประเทศพม่ามีเหตุการณ์ทางการเมืองภายใน เกี่ยวกับสมณศักดิ์พระภิกษุ หลวงปู่โง่น พลอยต้องอธิกรณ์โทษ การเมืองไปด้วยกลับเมืองไทยไม่ได้ ระหว่างถูกกักบริเวณ ท่านใช้เวลาในการฝึกจิต กำหนดตัวแฝง และพลังแฝงในกายได้

พระสุพรรณกัลยา ยอดหญิงในดวงใจ

สามารถติดต่อกับโลกวิญญาณ และได้เข้าถึงกระแสพระวิญญาณที่สื่อสารต่อกัน กล่าวว่า ท่านเคยเป็นนายทหารช่าง สร้างบ้าน เมือง ทั้งยังเคยถูกพม่ากวาดต้อนไป พร้อมกับพระนางในครั้งนั้นเคยเป็นข้ารับใช้ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และกรุงธนบุรี ได้ ขอร้องให้ หลวงปู่โง่น ช่วยแก้พันธการ
ทางไสยศาสตร์ เพื่อดวงวิญญาณของพระองค์ จะได้กลับไปเมืองไทย และให้นำ ภาพลักษณ์ ของพระองค์อันเกิดจากกระแสพระวิญญาณ เผยแพร่ให้แก่ชาวไทย ผู้ลืมพระองค์ท่านไปแล้ว พระองค์จะกลับมา ทำคุณประโยชน์ ช่วยเหลือประเทศชาติ ทั้งยังปณิธาน จะกลับมาอุบัติเป็น เจ้าหญิงในปัจฉิมสมัยของวงศ์กษัตริย์ไทย จะสร้าง บารมี ประกอบคุณความดี เพื่อให้อยู่ในหัวใจ ของคนไทยทั้งประเทศ ด้วยเหตุเพราะคนไทย ลืมกู้ชาติของพระองค์ ที่ยอมสละ ความสุขในชีวิต เพื่อให้สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ มีโอกาสกู้ชาติบ้านเมืองได้สำเร็จ

พระสุพรรณกัลยา ยอดหญิงในดวงใจ

ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น หวงปู่โง่น โสรโย และท่านพลโทถนอม วัชรพุทธ แม่ทัพกองทัพภาคที่ 3 ได้ร่วมมือกัน สร้างพระอนุสาวรีย์ ของพระสุพรรณกัลยา มีขนาดเท่าของจริง และได้อันเชิญ มาประดิษฐานไว้ ณ ริมฝั่งแม่น้ำน่าน ในบริเวณ "ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช" ใกล้กับพระบรม
ราชนุสาวรีย์ พระอนุชาทั้งสองพระองค์ โดยได้นำส่วนของสรีระ เช่น กระดูก ฟัน และเครื่องประดับของมีค่าบางอย่าง ที่ขุดค้นได้จาก แหล่งฝังพระศพของพระนาง นำมาบรรจุในพระอุระ ของพระรูปด้วยเพื่อให้ชาวไทยทุกคน ได้มีโอกาสเคารพสักการะ วีรสตรีผู้เสียสละยิ่งใหญ่กว่าผู้ใด เพียงให้สยามไทย
ได้คงอยู่ชั่วฟ้าดิน...

การสิ้นพระชนม์

ภายหลังจากที่พระมหาอุปราชามังกะยอชวาสิ้นพระชนม์ใน พ.ศ. ๒๑๓๕ จากการทำยุทธหัตถีกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระเจ้านันทบุเรงทรงพระพิโรธมาก จึงใช้พระแสงขรรค์สังหารพระนางและพระโอรสสิ้นพระชนม์ ขณะที่พระโอรสพระชนม์ได้ ๘ เดือน เพราะถ้าสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ได้รับชัยชนะจากการทำสงครามเมื่อไหร่ ความตายก็เข้าใกล้พระนางเมื่อนั้น
การพบหลุมพระศพพระสุพรรณกัลยา

เมื่อช่วงกลางเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘ มีการขุดพบหลุมแห่งหนึ่งซึ่งมีทั้งพระโกฏทองคำและเครื่องใช้ในราชสำนักจำนวนมากรวมทั้งโครงกระดูกบางส่วนรวมอยู่ด้วย ในระหว่างที่กำลังมีการปรับพื้นดินเพื่อสร้างเมืองใหม่ของพม่าใกล้กับเมืองปีนมานา ในภาคกลางของพม่า โดยมีการพูดคุยในหมู่นายทหารระดับสูงของพม่าว่า หลุมดังกล่าวคาดว่าเป็นหลุมพระศพของพระสุพรรณกัลยา เนื่องจากเครื่องใช้ราชสำนักบางส่วนมีลักษณะคล้ายลวดลายไทยแหล่งข่าวดังกล่าวเปิดเผยอีกว่า ขณะนี้ทางกองทัพพม่าได้สั่งระงับการสร้างเมืองดังกล่าวไว้ชั่วคราว และพยายามปิดข่าวนี้อย่างมิดชิด เนื่องจากเกรงว่าจะมีการขอเข้าไปตรวจสอบและ
ทวงทรัพย์สมบัติล้ำค่าจากทางการไทย

พระนามต่างของพระสุพรรณกัลยา


๑. สุวรรณกัลยา จากคำให้การขุนหลวงหาวัด ฉบับหลวง
๒. จันทรกัลยา จากคำให้การชาวกรุงเก่า
๓. พระสุวรรณ จากพงศาวดารฉบับอูกาลา
๔. อะเมี้ยวโยง แปลว่าผู้จงรักภักดีในเผ่าพันธุ์ตน จากพงศาวดารของมหาสีหตู
๕. พระสุวรรณเทวี จากพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา
๖. พระสุพรรณกัลยาณี จากพระประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระราชนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรง
ราชานุภาพ

สถานที่เกี่ยวกับพระองค์
พระอนุสาวรีย์พระสุพรรณกัลยาณี ณ ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (กองทัพภาคที่ 3) อำเภอเมือง
จังหวัดพิษณุโลก
พระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และพระรูปพระสุพรรณกัลยา ณ ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
พระบรมรูปพระสุพรรณกัลยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ ณ วัดลาดสิงห์
ตำบลบ้านสระ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
พระรูป ณ พระตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช วัดดอนเจดีย์ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
พระเจดีย์ ณ วัดบ้านน้ำฮู อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่เชื่อกันว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสร้าง
ถวายพระสุพรรณกัลยา และภายในพระเจดีย์ ได้บรรจุเส้นพระเกษาของพระสุพรรณกัลยาไว้ด้วย

ที่มา : เพลินพิศ สุพพัตกุล ความรู้ประกอบการเรียนรู้ภาษาไทย
ขอขอบคุณ : http://www.naresuanlks.ob.tc


พระสุพรรณกัลยา ยอดหญิงในดวงใจ

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์