ย้อนบรรยากาศ เลียบพระนคร’ สถลมารค โปรยเงิน โรยทราย จัดกระบวนเจ้านายสุดงดงาม


ย้อนบรรยากาศ เลียบพระนคร’ สถลมารค โปรยเงิน โรยทราย จัดกระบวนเจ้านายสุดงดงาม

ย้อนบรรยากาศ เลียบพระนคร' สถลมารค โปรยเงิน โรยทราย จัดกระบวนเจ้านายสุดงดงาม

การเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยกระบวนพยุหยาตราสถลมารค ในแต่ละรัชกาล มีความแตกต่างกันในรายละเอียด กล่าวโดยสรุป ได้ว่า สมัยรัชกาลที่ 1 - รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เสด็จฯ เลียบพระนครเฉพาะกระบวนพยุหยาตราสถลมารค (ทางบก) ส่วนการเลียบพระนครทางน้ำ มีครั้งแรกในครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4

สมัยรัชกาลที่ 2 โปรดเกล้าฯ ให้จัดกระบวนแห่เสด็จฯ เลียบพระนคร พระองค์เสด็จขึ้นเกยพระที่นั่งดุสิตาภิรมย์ ทรงพระราชยาน โดยเสด็จออกประตูวิเศษไชยศรีเลี้ยวขวา หรือประทักษิณพระบรมมหาราชวัง เลี้ยวผ่านป้อมเผด็จดัษกร แล้วตรงไปถึงสะพานข้ามคลองตลาด
แล้วเลี้ยวกลับขึ้นทางริมกําแพงพระนคร มาทางท้ายสนมเข้าถนนหน้าวังที่ท่าพระแล้วกลับเข้าพระบรมมหาราชวังทางประตูวิเศษไชยศรี โดยทรงโปรยเงินพระราชทานราษฎรซึ่งคอยถวายพระพรอยู่สองข้างถนนตลอดระยะทาง มีการโรยทรายบนถนน รื้อโรงที่กีดขวางริมทางให้เรียบร้อยทั้งสองฟากถนนก่อน แล้วเจ้าพนักงานจัดตั้งราชวัตร ฉัตรเบญจรงค์ 7 ชั้น และ ร้านน้ำเป็นระยะในวันเสด็จเลียบพระนครนั้น พวกทหารอาสา 6 เหล่า ซ้ายขวา ตั้งกองจุกช่องรายทาง ตั้งปืนคู่ขานกยางทุกแพรกถนน ในริ้วกระบวนแห่มีทหารเหล่าต่าง ๆ เข้ากระบวนตามลําดับ ซึ่งกล่าวว่ามีจํานวนถึง 8,000 คน แบ่งเป็นกระบวนหน้า และกระบวนหลัง

กระบวนหน้าประกอบด้วยกำลังพลหลากหลาย อาทิ ฝรั่งแม่นปืน กองอาสาญี่ปุ่น พลอาสา พลล้อมวัง กระบวนขุนหมื่นตำรวจ กระบวนหลังประกอบด้วยเจ้ากรม ปลัดกรม กรมทหารในพลพัน ไปจนถึงรักษาพระองค์

ต่อมา ในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการเสด็จฯ เลียบพระนครโดยกระบวนพยุหยาตราสถลมารคเช่นกัน กระทั่งสมัยรัชกาลที่ 4 มีการเสด็จเลียบพระนครโดยกระบวนพยุหยาตราสถลมารค และกระบวนพยุหยาตราชลมารค ถือว่ามีขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ เนื่องจากเดิมทีนั้นจัดเฉพาะกระบวนพยุหยาตราสถลมารค

กระบวนพยุหยาตราสถลมารคในสมัยรัชกาลที่ 4 มีข้อมูลบันทึกว่า ประกอบด้วยคนนับหมื่นแบ่งเดินเป็น 4 สาย ระหว่างทางยังมีการโปรยเงิน คือ เงินตรามงกุฎ เป็นเงินตราใหม่ที่สร้างขึ้นประจำรัชกาลที่ 4 ตลอดทาง

สมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้มีแต่การเสด็จฯ เลียบพระนครเฉพาะทางบกในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อ พ.ศ. 2411 ต่อมาเมื่อประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2416 จึงมีการเสด็จเลียบพระนครทั้งทางบกและทางน้ำ

กระบวนเสด็จฯ เลียบพระนครสมัยรัชกาลที่ 5 ยังคงจัดเป็น 4 ตอนทำนองเดียวกันกับทุกรัชกาลที่มีมาก่อน ประกอบด้วย ตอน 1 เสนากรมต่างๆ ตอน 2 กระบวนหลวง ตอน 3 เสนากรมต่างๆ และตอนที่ 4 กระบวนเจ้านายทรงม้า และเสนาบดีนั่งเสลี่ยงหรือแคร่ตามบรรดาศักดิ์


ครั้นในสมัยรัชกาลที่ 6 เสด็จฯเลียบพระนครทางสถลมารค จัดกระบวนเช่นเดียวกับที่เคยทำมาในครั้งก่อน


พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

ในสมัยรัชกาลที่ 7 เสด็จฯเลียบพระนครทั้งทางสถลมารค เมื่อ 1 มีนาคม พ.ศ. 2468 และทางชลมารคในวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2468 เพื่อทรงนมัสการปูชนียวัตถุ ณ วัดอรุณราชวราราม

ย้อนบรรยากาศ เลียบพระนคร’ สถลมารค โปรยเงิน โรยทราย จัดกระบวนเจ้านายสุดงดงาม

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่7 ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

ส่วนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ไม่ได้เสด็จฯ เลียบพระนคร

ย้อนบรรยากาศ เลียบพระนคร’ สถลมารค โปรยเงิน โรยทราย จัดกระบวนเจ้านายสุดงดงาม

กระบวนเสด็จฯ เลียบพระนคร ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่7

ย้อนบรรยากาศ เลียบพระนคร’ สถลมารค โปรยเงิน โรยทราย จัดกระบวนเจ้านายสุดงดงาม

กระบวนเสด็จฯ เลียบพระนคร ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่7

ย้อนบรรยากาศ เลียบพระนคร’ สถลมารค โปรยเงิน โรยทราย จัดกระบวนเจ้านายสุดงดงาม

กระบวนเสด็จฯ เลียบพระนคร ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่7

ย้อนบรรยากาศ เลียบพระนคร’ สถลมารค โปรยเงิน โรยทราย จัดกระบวนเจ้านายสุดงดงาม

กระบวนเสด็จฯ เลียบพระนคร ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่7

ที่มาข้อมูล : "พระราชพิธีบรมราชาภิเษก" โดย ณัฏฐภัทร จันทวิช จัดพิมพ์เนื่องในมหาวโรกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ พ.ศ. 2530

เครดิตแหล่งข้อมูล : matichon.co.th

ย้อนบรรยากาศ เลียบพระนคร’ สถลมารค โปรยเงิน โรยทราย จัดกระบวนเจ้านายสุดงดงาม

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์