สองพี่น้อง ผูกพันจนวัน ตาย

จากภาพด้านซ้ายคือ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าศรีวิไลยลักษณ์ฯ รัชกาลที่ 5สถาปนาขึ้นเป็น "กรมขุนสุพรรณภาควดี"

จากภาพด้านขวาคือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจันทราสรัทฯ รัชกาลที่5สถาปนาขึ้นเป็น "กรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์"


เรื่องราวความรักและผูกพันที่จะนำเสนอในค่ำคืนนี้ก็คือ ความรักและผูกพันระหว่างพี่สาวกับน้องสาว ที่เต็มไปด้วยความปลื้มปิติ ความสนุกสนาน และความเศร้าสลด สองพี่น้องที่ว่านี้ก็คือ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงศรีวิไลยลักษณ์ กับสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงจันทราฯ ซึ่งทั้งสองพระองค์เป็นพระราชธิดาในพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 โดยมีพระประวัติดังนี้

1.พระองค์เจ้าหญิงศรีวิไลยลักษณ์ ทรงเป็นพระราชธิดาองค์ที่ 2 ประสูติในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2411 ชาววังออกพระนามว่า เสด็จพระองค์ใหญ่ ประสูติจากเจ้าจอมมารดาแพ บุนนาค 

2.เจ้าฟ้าหญิงจันทราสรัทวาร ทรงเป็นพระราชธิดาองค์ที่ 6 ประสุติในเดือนเมษายน พ.ศ. 2416 ชาววังออกพระนามว่า สมเด็จหญิงใหญ่ ประสูติจากพระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์

จะเห็นได้ว่าทั้งสองพระองค์ทรงเป็นพี่น้องต่างมารดากันและมีพระชนม์ที่ห่างกันถึง 5 ปี แต่ก็เป็นเรื่องแปลกที่ทั้งสองพระองค์กับมีความรักใคร่สนิทสนมกันเป็นพิเศษมากกว่าพี่น้องแม่เดียวกันเสียอีก เล่ากันว่าวันใดที่ต้องขึ้นเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวบนพระที่นั่ง ทั้งสองพระองค์ก็มักจะประทับอยู่ข้างๆกันเสมอ เมื่อเสร็จจากเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวแล้ว สมเด็จหญิงใหญ่เป็นต้องขอตามเสด็จพระองค์เจ้าหญิงศรีวิไลยลักษณ์ไปประทับเล่นต่อที่พระตำหนักทุกครั้งไป บางวันสมเด็จหญิงใหญ่ก็จะเสด็จไปเฝ้าพระองค์เจ้าหญิงศรีวิไลยลักษณ์ตั้งแต่เช้า เสด็จกลับอีกทีก็ใกล้ค่ำ ทั้งสองพระองค์สามารถประทับทรงพระสำราญกันได้ครั้งละนานๆและมักจะหากิจกรรมทำร่วมกันอยู่เสมอๆเช่น งานประดิษฐ์ งานดอกไม้สด งานครัว เป็นต้น บางวันเสด็จพระดำเนินผ่านกันโดยบังเอิญก็เป็นต้องหยุดคุยกันเป็นนานสองนาน เป็นที่รู้กันของชาววังสมัยนั้นว่า ถ้าสองพระองค์นี้เจอกันทีไรเป็นต้องมีเรื่องสนุกสนานพูดคุยกันทุกที 

แต่แล้วก็มาถึงวันที่ไม่มีผู้ใดคาดคิด คือวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ.2447 พระองค์เจ้าหญิงศรีวิไลยลักษณ์ทรงประชวรหนักและสิ้นพระชนม์ลงอย่างกะทันหันรวมพระชนม์ 36 พรรษา สร้างความโศกเศร้าให้แก่พระเจ้าอยู่หัวผู้เป็นพ่อและน้องๆทุกคน หนึ่งในนั้นก็คือ สมเด็จหญิงใหญ่ผู้เป็นน้องสาวที่รักใคร่และสนิทสนมกันมาตั้งแต่ยังเด็กๆ ในการนี้พระเจ้าอยู่หัวโปรดให้จัดงานพระราชทานเพลิงพระศพที่บางปะอิน สมเด็จหญิงใหญ่จึงรีบพระดำเนินล่วงหน้าไปประทับที่บางปะอินเพื่อรอรับศพพระพี่นาง แต่เมื่อถึงวันพระราชทานเพลิง สมเด็จหญิงใหญ่กลับมีพระอาการประชวรเป็นไข้พิษพระวรกายร้อนกะทันหัน พระเจ้าอยู่หัวรับสั่งให้แพทย์หลวงเข้ารักษาโดยไว และสั่งให้ทหารสูบน้ำจากสระแล้วฉีดขึ้นไปบนหลังคาพระตำหนัก เสมือนฝนตกเพื่อเป็นการคลายความร้อนให้แก่พระราชธิดา แต่พระอาการก็ไม่ดีขึ้น พระองค์ทรงทนไข้ไม่ไหวถึงกับเพ้อตรัสเป็นภาษาอังกฤษ และสิ้นพระชนม์ลงในคืนบำเพ็ญพระราชกุศลพระอัฐิพระองค์เจ้าหญิงศรีวิไลยลักษณ์ รวมพระชนม์ 32 พรรษา

นับว่าสมเด็จหญิงใหญ่ทรงทำหน้าที่ในฐานะพระขนิษฐา(น้องสาว)ถวายงานพระพี่นางอย่างเต็มกำลังจนนาทีสุดท้ายของพระชนม์ชีพ คือการมารอรับพระศพทั้งๆที่ตัวของพระองค์เองยังประชวรอยู่ สุดท้ายผู้ที่ได้รับความโทรมนัสและทรมานจิตใจมากที่สุดเห็นจะเป็นพระเจ้าอยู่หัวที่ต้องแห่พระศพพระราชธิดาองค์หนึ่งขึ้นมาเผาที่บางประอิน แต่ก็ต้องแห่พระศพพระราชธิดาอีกองค์หนึ่งกลับเข้าวังหลวง

สองพี่น้อง ผูกพันจนวัน ตาย

จากภาพด้านบนคือ พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ สถานที่ประดิษฐานพระศพพระองค์เจ้าหญิงศรีวิไลยลักษณ์

อ้างอิง: บทสัมภาษณ์ หม่อมเจ้าหญิงจงจิตีถนอม ดิศกุล,ลูกๆของพ่อ โดยเฉลิมฉัตร, เมื่อสมเด้จพระพุทธเจ้าหลวงหลั่งน้ำพระเนตร โดยเวนิสา เสนีวงศ์ ณ อยุธยา




ขอบคุณข้อมูลจาก :: คลังประวัติศาสตร์ไทย

สองพี่น้อง ผูกพันจนวัน ตาย

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์