หลักศิลาจารึก ชนชาติไทย

พลิกปลูม ศิลาจารึกหลักที่ 1

หลักศิลาจารึก ชนชาติไทย



ร.4 ขณะดำรงพระยศเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎ ฯ และทรงเพศบรรพชิต ได้เสด็จไปจาริกแสวงบุญที่เมืองสุโขทัยเก่า เมื่อ พ.ศ. 2376 และทรงพบจารึกหลักที่ 1 แห่งเดียวกับพระแท่นมนังคศิลา คือ เนินปราสาท ตรงข้ามวัดมหาธาตุ
ศิลาจารึกนี้ เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า จารึกของพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งได้จารึกขึ้นในปี พ.ศ. 1835
ภาษาที่ใช้และตัวอักษร เป็นภาษาไทย

ตอนที่ 1

ตั้งแต่ด้านที่ 1 บรรทัดที่ 1-18 เป็นพระราชประวัติของพ่อขุนรามคำแหง โดยใช้คำว่า "กู" เป็นพื้น ดังปรากฏหลักฐาน ในศิลาจารึก คือ
"พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูเชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง ตูพี่น้องท้องเดียวห้าคน ผู้ชายสาม ผู้หญิงสอง พี่เผือผู้อ้าย ตายจากเผือเตียมแต่ยังเล็ก..."


ตอนที่ 2

ตั้งแต่ด้านที่ 1 บรรทัดที่ 19 ถึงด้านที่ 4 บรรทัดที่ 11 รวม 90 บรรทัด เป็นการพรรณนาถึงเมืองสุโขทัยสมัยพ่อขุนรามคำแหง เกี่ยวกับสภาพบ้านเมือง ขนบธรรมเนียม ประเพณี กฎหมาย พระพุทธศาสนา ความเชื่อเรื่องผีสางเทวดา การสร้างพระแท่นศิลาบาตร การประดิษฐ์ลายสือไท แต่ไม่ได้ใช้คำว่า "กู" แต่ใช้คำว่า "พ่อขุนรามคำแหง" เช่น "เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง...ลายสือไทนี้จึงมีขึ้นเพื่อขุนผู้นั้นใส่ไว้ "


ตอนที่ 3

ตั้งแต่ด้านที่ 4 บรรทัดที่ 11 จนถึงบรรทัดสุดท้าย รวม 16 บรรทัด เป็นการกล่าวสรุปสรรเสริญ และยอพระเกียรติพ่อขุนรามคำแหงมหาราช รวมทั้งกล่าวถึงอาณาเขตของอาณาจักร เมืองสุโขทัย
ในตอนนี้ ตัวหนังสือไม่เหมือนกับตอนที่ 1 และตอนที่ 2 ด้วย มีพยัญชนะลีบกว่า และสระที่ใช้ก็ต่างกันบ้าง


สำหรับศิลาจารึกหลักอื่น ๆ มีที่มาดังนี้

หลักศิลาจารึก ชนชาติไทย



หลักที่ 2 พบที่วัดศรีชุม กล่างถึงประวัติพระนัดดาพ่อขุนผาเมือง

หลักที่ 3 มีผู้นำไปไว้ที่วัดพระบรมธาตุ จังหวัดกำแพงเพชร กล่าวถึงเรื่องของพระเจ้าลิไท และสภาพกรุงสุโขทัย

หลักที่ 4 พบที่เนินปราสาทตรงข้ามวัดพระศรีมหาธาตุ กล่าวถึงการออกผนวช ที่วัดป่ามะม่วง

หลักที่ 5 พบที่วัดป่ามะม่วง กล่างถึงเรื่องพระเจ้าลิไทขึ้นครองราชย์

หลักที่ 6 พบที่วัดป่ามะม่วง กล่างถึงเรื่องการผนวชพระเจ้าลิไท

หลักที่ 7 ไม่ปรากฏที่พบ เรียกกันว่า จารึกวัดพระมหาธาตุ-วัดพระศรี

หลักที่ 8 พบบนเขาพระบาทใหญ่ (เขาสุมนกูฎ) กล่าวถึงเรื่องการราชาภิเศกพระเจ้าลิไท

หลักที่ 9 ไม่ปรากฎที่พบ เรียกกันว่า จารึกวัดป่าแดง


หลักศิลาจารึก ชนชาติไทย


หลักที่ 11 พบที่ยอดเขากบ ปากน้ำโพ กล่างถึงประวัติและผลงานของมหาเถรศรีศรัทธา

หลักที่ 38 ไม่ปรากฎหลักฐานที่พบ เนื้อความเป็นกฎหมายในสมัยสุโขทัย

หลักที่ 45 พบที่หน้าวิหารกลางวัดมหาธาตุ กล่าวถึงการกระทำสัตย์สาบานต่อกันของเจ้านายกรุงสุโขทัย และความสัมพันธ์ระหว่าง สุโขทัยกับน่าน

หลักที่ 64 พบที่วัดช้างค้ำ จังหวัดน่าน กล่าวถึงกลุ่มเมืองทางด้านเหนือของกรุงสุโขทัย

หลักที่ 76 พบที่วัดเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวถึงการสร้างเมืองเชียงใหม่ และวัดเชียงมั่น

หลักที่ 93 พบที่วัดอโศการาม นอกเมืองสุโขทัยเก่า พระราชเทวีศรีจุฬาลักษณอัครราชมเหสี และพระราชโอรส นำพระบรมธาตุที่ได้จากลังกา มาประดิษฐานไว้ที่วัดอโศการาม

หลักที่ 102 พบที่วัดตระพังช้างเผือก สุโขทัย เนื้อความขาดหายไปมาก

หลักที่ 106 พบที่วัดช้างล้อม สุโขทัย กล่าวถึงการบวช การสร้าง และบูรณะวัด สมัยพระเจ้าลิไท

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์