“อ้วน-ผอม”เป็นคำหยาบ ในสมัย ร.4 ใครใชัทักเจ้านาย หวายทวนหลัง 50 ที!


“อ้วน-ผอม”เป็นคำหยาบ ในสมัย ร.4 ใครใชัทักเจ้านาย หวายทวนหลัง 50 ที!

ปัจจุบันมีให้เห็นอยู่เสมอที่คนไทยทั่วไปจะทักทายกันว่าผอม ว่าอ้วน แต่ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การทักทายกันว่าอ้วนผม ถือเป็นคำหยาบ จึงได้ออก "ประกาศวางโทษเรื่องทักอ้วนผอม" (ณ วันพฤหัสบดี เดือน 6 ขึ้น 5 ค่ำ ปีจอจัตวาศก) ไว้ดังนี้

" การที่มีผู้ปราไสยทักทายเจ้านายผู้มีบรรดาศักดิ์สูง ด้วยการในพระกายทักว่าอ้วนว่าผอมนี้เปนอัปมงคล ไม่ควรตามเหตุที่อ้างเปนหลายประการ คือคำว่าอ้วน ว่าผอม เปนคำหยาบคำต่ำคำเลวประการหนึ่ง คือเอาการที่ควรจะวิตกเปนประมาณว่าดีว่าชั่วในสัตว์เดียรฉานมาพูดมาเจรจาในมนุษย์มีศักดิ์สูงไม่มีประโยชน์ประการหนึ่ง

คือทำให้กำเริบมิ่งขวัญของกายผู้มีสิริ ด้วยการเจรจาขัดแก่การที่โบราณห้ามมาประการหนึ่ง ซึ่งคำว่าอ้วน ว่าผอม เปนคำต่ำคำเลวหยาบนั้นฟังเอาเถิด ปากผู้ดีๆ ที่มีอัธยาศรัยเมื่อเขาจะต้องพูดว่าเจ้านายผอมไปแลอ้วนขึ้น เขาก็ย่อมว่าซูบพระองค์แลทรงพระเจริญหรือพ่วงพีดังนี้โดยมาก เขาไม่ว่าอ้วนว่าผอมมิใช่หรือ...[เน้นโดยผู้เขียน]

ก็ซึ่งข้อที่ว่าเอาการที่ควรจะวิตกเปนประมาณ ว่าดีชั่วว่าในสัตว์เดียรฉานมาพูดมาเจรจาว่าในมนุษย์มีศักดิ์สูงไม่มีประโยชน์นั้น คือว่าให้เห็นด้วยกันว่า การที่จะวิตกแล้วติว่าผอมเปนชั่ว สรรเสริญว่าอ้วนเปนดีเปนประมาณของประโยชน์นั้น ต้องการในสัตว์เดียรฉานสองจำพวก คือสัตว์ที่เปนพาหนะจำพวกหนึ่ง สัตว์ที่จะต้องการเนื้อที่เรียกว่ามังสะเปนอาหารจำพวกหนึ่ง

เมื่อผู้ใดจะซื้อหาช้างม้าโคกระบืออูฐลา ซึ่งเปนพาหนะจะใช้แรง ก็ย่อมสรรเสริญสัตว์ที่อ้วนติสัตว์ที่ผอม สัตว์ที่อ้วนมีราคามากสัตว์ที่ผอมมีราคาน้อย ถึงสัตว์ที่เปนอาหาร คือสุกรแพะแกะแลสมันกวางทรายตลอดลงไปจนเป็ดไก่แลปลา บรรดาที่จะใช้เนื้อเปนอาหารผู้ซื้อหาต้องการก็เลือกหาสัตว์ที่อ้วนเพราะมีเนื้อมาก สัตว์ที่อ้วนมีราคามาก เพราะสัตว์ที่ผอมเปนสัตว์สงสัยว่าเปนสัตว์มีโรค

ก็การทักว่าอ้วนว่าผอมนั้น เมื่อพิเคราะห์ไปเปนการเอื้อมถึงชีวิตชีวัง แลผู้พูดไว้ตัวสูงเปนเหมือนดังบิดามารดา สบประมาทเจ้าของกายผู้ที่ต้องทักนั้น ให้เปนเหมือนดังเด็กๆ ไม่รู้จักรักษาตัว

พระราชบัญญัตินี้ มาว่ากล่าวเตือนสติให้ระวัง ด้วยพระสงฆ์มักฟั่นๆ เฟือนๆ ใหลๆ เลื่อนๆ ฝ่ายข้าราชการผู้ใหญ่ๆ สูงอายุเล่า ก็ให้กรมวังคอยเตือนห้ามปราม อย่าให้กราบทูลทักทายเกินเลยได้ หมอถวายอยู่งานถวายพระโอสถ มักใกล้ที่จะกราบทูลอย่างนี้ เมื่อเวลาไรเรียกหมอ ให้ชาวที่คอยกำชับให้ระวัง อย่าให้กราบทูลทักทายได้

ถ้าผู้ใดมิฟังขืนกราบทูลทักทายดังนี้ จะให้ลงพระราชอาญาทวนด้วยหวาย 50 ที สังฆการีแลชาวที่แลกรมวังอยู่ในเวรที่เกิดเหตุขึ้นนั้น จะต้องให้รับพระราชอาญาด้วยคนละ 30 ที 20 ที ตามโทษานุโทษที่ได้ตักเตือนบ้าง แลไม่ได้ตักเตือนเลย ตามสถานที่ผู้กำกับนั้น คือถ้าในพระสงฆ์จะลงโทษแก่สังฆการี ถ้าในหมอจะลงโทษแก่ชาวที่ ถ้าในข้าราชการจะลงโทษแก่กรมวัง

ถ้าท่านผู้ใดที่ไม่ควรจะรับพระราชอาญาคือพระสงฆ์ก็จะให้มีเบี้ยปรับถ่ายโทษตน ถึงในข้าราชการฝ่ายในเล่า เมื่อท้าวนางหรือท่านอื่นๆ จะพาผู้ใดเข้าเฝ้า ก็ให้คอยตักเตือนห้ามปรามกำชับผู้นั้นก่อน ถ้าเกิดเหตุขึ้นเพราะผู้ที่เข้าเฝ้า จะลงโทษแก่ท่านผู้นำเฝ้านั้นด้วย ตามโทษานุโทษ"


เครดิตแหล่งข้อมูล : silpa-mag


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
รวมข่าวในกระแส คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์