เปิดฉ่กสัตว์โลกดึกดำบรรพ์


บัดนี้โลกของเรามีอายุหวิดๆ 5 พันล้านปี และก็ได้มาถึงยุคปรมาณูแล้ว ไทยรัฐ ซันเดย์สเปเชียลสัปดาห์นี้จึงขอนำท่านไปลองแกะรอยกันดูเสียทีว่า สัตว์โลกยุคดึกดำบรรพ์ แสนอัศจรรย์กี่มากน้อย


เริ่มจาก (3,500 ล้านปีก่อน) ปรากฏสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวพวกแบคทีเรียและสาหร่าย พอจวนๆ 570 ล้านปีที่ผ่านมา สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ก็ทยอยเปิดตัว นั่นคือ สัตว์น้ำ, สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและสัตว์บก (สัตว์เลื้อยคลาน) ตามลำดับ


บุพชีพยุคแรกสุดล้วนดำรงชีพอยู่ใต้ผืนน้ำ พอ 440 ล้านปีก่อน พืชน้ำบางชนิดกลับค่อยๆงอกงามพ้นน้ำแผ่คลุมริมตลิ่งและโคลนตม พืชกลุ่มแรกจะเป็นอาหารสำหรับสัตว์พวกอาร์โธปอด (Arthropods) ซึ่งเป็นต้นตระกูลแมลงให้ สามารถขึ้นดำรงชีพบนบกได้


ในทางเดียวกัน บรรดาอาร์โธปอดที่กินพืชริมตลิ่งก็พลิกล็อกกลายเป็นอาหารโอชะให้กับอาร์โธปอด ประเภทกินเนื้อที่วิวัฒนาการตามขึ้นมาปัก หลักบนบกอีกทอดหนึ่ง


ยกตัวอย่างเช่นช่วง 360-290 ล้านปีก่อนโลกเข้าสู่ยุค “คาร์บอนนิเฟอรัส (Car boniferous)” ในยุคนี้มีพืชพรรณต่างๆเกิดขึ้นมาก มาย ส่งผลให้ บรรยากาศโลกมีก๊าซออกซิเจนเข้มข้นมาก ก่อให้เกิดแมลงพิลึก พิลั่นขึ้นมาครอง ยุคนั้น ได้แก่ แมงป่องดึกดำบรรพ์ ยาวถึง 3 ฟุต, กิ้งกือ “อาร์โธรพิวรา (Arthropleura)” โตตั้ง 8 ฟุต และแมลงปอยักษ์ “เมกะนิวรา (Meganeura)” ขนาดมหึมาเท่ากับเหยี่ยว



โชคดีที่ในปัจจุบันสัตว์ พิสดารสุดกู่ชุดนี้หายสูญไปเกลี้ยง เพราะว่าพวกมันมีสิทธิ์ ขาดใจตายแน่นอนเมื่อสูดเอาอากาศของโลกทุกวันนี้เข้าไป


นับสิบๆล้านปีถัดมา พืชพรรณธัญญาหารบนบกยิ่งหนาทึบ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (ต้นตระกูลกบเขียด) ทิ้งเวิ้งทะเลถิ่นเก่า ขึ้นมาอาศัยอยู่บนชายฝั่งชื้นแฉะกันอย่างถาวร พวกมันรีบพัฒนาปอดเพื่อสูดอากาศบนผิวโลก และเริ่มปรากฏแข้งขาไว้เดิน


สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและสัตว์เลื้อยคลานยุคแรก (300 ล้านปีก่อน) ต่าง มีผิวกายเป็นเมือกเหนียว หนึบหนับ จึงใช้เวลาทั้งวันดำผุดดำว่ายใต้ผิวน้ำจวบ จนสัตว์เลื้อยคลานหลาย ชนิดปรับตัวออกไข่ที่ทนทรหดกับความแห้งกรอบของพื้นดินได้ สำเร็จ


ยามนั้นแผ่นดิน กลายเป็นอู่บ่มเพาะ พันธุ์อย่างดีสำหรับ สัตว์เลื้อยคลานพันธุ์ใหม่ที่จะกลายมาเป็นสัตว์บกอันน่าพิศวงมากมายก่ายกองตั้งแต่ไดโนเสาร์ นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และมนุษย์


ไดโนเสาร์ครองโลกยาวนานปาเข้าไปเกือบ 100 ล้านปี (146 ถึง 65 ล้านปีก่อน) โดยมีไดโนเสาร์ “ไทรันนอซอรัส เร็กซ์ (Tyran nosaurus rex) เป็นโต้โผใหญ่ (เรียกย่อๆว่า ที.เร็กซ์) จัดเป็นสัตว์บกกินเนื้อตัวเบ้อเริ่มที่สุดชนิดหนึ่งบนโลก ทรวดทรงสูงปรี๊ด 6 เมตร ความยาวหัวจดหาง 12 เมตร มันจึงกลืนเนื้อชิ้นโต 70 กิโลกรัม กรึ๊บเดียวได้สบายๆ


เพชฌฆาต “ที.เร็กซ์” ไล่กวดเหยื่อด้วย 2 ขา ขณะที่แขนทั้งคู่สั้นเต่อลีบเล็ก ห้อยต่องแต่ง เหมือนกิ่งไม้ ปัจจุบันประโยชน์ของแขน ที.เร็กซ์ ยังเป็นปริศนาถกเถียงกันอยู่ในวงวิชาการ


ที.เร็กซ์ ขึ้นบัญชีกลุ่มไดโนเสาร์กินเนื้อ “เทอโรพอด (Theropod)” ซึ่งก็มียั้วเยี้ยหลายจำพวกเหลือเกิน แต่ที่น่าพูดถึงคือเทอโรพอดชนิดติดปีกบินปร๋อ ด้วยจะวิวัฒนาการไปเป็นสัตว์มีขนประเภทนก พูดชัดๆคือ นกมาจากไดโนเสาร์!


แรกๆ (130 ล้านปีก่อน) เรียกว่า กึ่งไดโนเสาร์กึ่งนก ด้วยเหตุที่ไดโนเสาร์ติดปีกยังไม่ช่ำชองการบิน ทราบได้ จากการที่มันเดินอยู่บนพื้นเกือบทั้งวัน โดยจะบินโฉบ เมื่อยามคิดตะครุบเหยื่อที่ปลิวว่อนบนอากาศ จนกระทั่งพวกมันพัฒนาปีกและขนขึ้นมาอย่างสมบูรณ์แบบ เราถึงจะเรียกว่า “นก” ได้เต็มปาก


อย่างที่ทราบ ไดโนเสาร์ครองโลกนานโข จู่ๆก็หายวับเรียบวุธไปเมื่อ 65 ล้านปีก่อน นักวิชาการเข้าใจว่าโลกเจอดาวเคราะห์น้อยขนาดยักษ์ชนเปรี้ยงเข้าโครมใหญ่ ก่อเกิดเถ้าธุลีฝุ่นผงฟุ้งกระจายปิดท้องฟ้ามืดมิด ชั่วเวลาไม่นานสิ่งมีชีวิตก็ล้มตายสูญพันธุ์ไปครึ่งโลก


โลกยุคใหม่ (65 ล้านปีถึงปัจจุบัน) เป็นยุครุ่งเรืองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (เลือดอุ่นมีขนปุกปุย และตัวอ่อนกินนมแม่) ที่โชคดีรอดตายมาได้ ก็เริ่มขยายเผ่าพันธุ์แพร่กระจายไปทั่วโลกแทนที่ไดโนเสาร์


ที่จริงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมถือกำเนิดเมื่อ 245 ล้านปีก่อน โดยวิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลานนั่นเอง จึงมีอายุเก่าพอฟัดพอเหวี่ยงกับไดโนเสาร์ แต่โชคดีกว่าไดโนเสาร์ตรงที่พ้นเคราะห์จากมหาวิปโยคล้างโลกเมื่อ 65 ล้านปีก่อนมาได้


หลังยุคไดโนเสาร์ สูญพันธุ์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทวีจำนวนขึ้นมาจนทั่วโลก ทั้งบนบก ในน้ำ (โลมา, วาฬ) และ ท้องฟ้า (ค้างคาว) ตัวที่คุ้นหูเราๆท่านๆคือ ช้างดึกดำบรรพ์แมม มอธ (Mammoth) กับ เสือเขี้ยวดาบ (Sabre Toothed Tiger) ทั้งคู่อยู่ในยุคเดียวกับมนุษย์


ช้างแมมมอธ เป็นญาติห่างๆกับช้างปัจจุบัน ดำรงชีพเมื่อ 2 ล้านปีถึง 6 พันปีก่อนในถิ่นเย็นเยือก เช่น ทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย รูปกาย ใหญ่โตกว่าช้างปัจจุบัน เกือบ 2 เท่า งาขาวจั๊วะยาวโง้ง ใบหูเล็กจิ๋วและ มีขนยาวปกคลุมทั่วร่าง


ส่วนเสือเขี้ยวดาบ บางคนชอบเรียกว่า สไมโลดอน (Smilo don) แปลตรงๆ คือ เขี้ยวคมกริบ เพราะเขี้ยวแหลมเฟี้ยวยังกับดาบซามูไร มันเป็นญาติห่างๆกับเสือและสิงโต รวมทั้งแมวเหมียว ทว่ารูปกายกำยำกว่า แถมกลยุทธ์ปลิดชีวิตเหยื่อยิ่งน่าเสียวไส้ กว่าหลายเท่า เมื่อตะปบเหยื่ออยู่หมัดดีแล้วจะใช้เขี้ยวดาบยาวกว่า 8 นิ้วฟุต เสียบทะลุ ร่างเหยื่อจนมิด ตัดตับไตไส้พุงเส้นเลือดใหญ่ ขาดสะบั้น เหยื่อเจ้ากรรมจึงสิ้นใจตายอย่างสงบ เพราะตกเลือดจนช็อก


น่าเสียดาย ทั้งช้างแมมมอธและเสือเขี้ยวดาบเพิ่งม้วนเสื่อสูญพันธุ์เมื่อ 1 หมื่นปี ก่อนมานี้เอง เพราะบริบทถิ่นที่อยู่เปลี่ยนแปลง ไปอย่างรวดเร็ว รวมทั้งถูกไล่ฆ่าโดยฝีมือมนุษย์ จนเกลี้ยง เป็นอันจบยุคสัตว์ดึกดำบรรพ์ เข้าสู่กาลสมัยมนุษย์สองขาครองโลก


สำหรับท่านผู้อ่านที่สนใจเรื่องราวเกี่ยวกับสัตว์ยุคดึกดำบรรพ์อันน่าทึ่ง สามารถติดตามชมได้จากภาพยนตร์ชุด Prehistoric Park ในรูปแบบ VCD และ DVD ซึ่งจะมีวางจำหน่ายตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคมนี้เป็นต้นไป โดยจะทยอยออกมาทีละตอน ในแต่ละตอนก็จะมีสัตว์ดึกดำบรรพ์ตัวเด่นๆ ดังที่กล่าวมานี้ชนิดใดชนิดหนึ่งมาสร้างความระทึกใจให้แก่ผู้ชมทุกตอนไป นับว่าน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งครับ.


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์