เรื่องราวที่คุณไม่เคยรู้! รัชกาลที่ ๔ มีสองพระองค์ แผ่นดิน ๒ กษัตริย์

ดังที่ทราบกันดีแล้วว่า ครั้งหนึ่งในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ราชวงศ์จักรี ได้มีพระเจ้าอยู่หัวถึงสองพระองค์ครองราชสมบัติปกครองประเทศร่วมกัน คือ สืบเนื่องมาจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) ทรงมีพระอนุชา (น้องชาย) อยู่หนึ่งพระองค์นามว่า “สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฑามณี” ซึ่งพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ ทรงให้ความรักและเมตตาต่อพระอนุชาองค์นี้มาก และพระอนุชาเองก็ทรงให้ความรักและเคารพต่อพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ ผู้เป็นพี่ชายเช่นกัน ทั้งสองพระองค์เป็นพี่น้องที่ประสูติจากแม่เดียวกัน ประทับร่วมกัน ผ่านสุขร่วมทุกข์กันมาโดยตลอด ด้วยความรักของพี่น้องที่มีต่อกัน ประกอบกับพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ ทรงมีวิชาความรู้ทางโหราศาสตร์ พระองค์เห็นว่าดวงพระชะตาของสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฑามณีนั้นแข็งแกร่งมาก บารมีไม่ได้น้อยไปกว่าพระองค์เลย ตัวของสมเด็จฯเจ้าฟ้าจุฑามณีนั้นก็รับราชการมาตั้งแต่สมัย

รัชกาลที่ ๓ เป็นถึงผู้บัญชาการกรมทหารปืนใหญ่ กรมทหารแม่นปืน เป็นต้น นับว่าประสบการณ์มีมากนัก หากยกขึ้นเป็นกษัตริย์คู่กับพระองค์แล้วไซร้ ก็จะเป็นผลดีต่อราชสำนักสืบไป

พระองค์จึงมีพระบรมราชโองการสถาปนาพระเกียรติยศ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฑามณี ขึ้นเป็นพระมหากษัตริยาธิราชเจ้า มีพระราชพิธีบวรราชาภิเษก ทรงรับพระบวรราชโองการให้พระเกียรติยศเสมอด้วยพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ที่ ๒ เฉลิมพระปรมาภิไธยจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า “พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว”

ในต้นปี พ.ศ. ๒๔๐๘ สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ทรงมีพระอาการประชวรที่หาสาเหตุพระโรคได้ไม่แน่ชัด พระจอมเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินไปทับเยี่ยมไข้ที่วังหน้า (ธรรมศาสตร์) เป็นประจำทุกวัน ดูแลพระอนุชาจนนาทีสุดท้ายของพระชนม์ชีพ จนเวลาเช้าย่ำรุ่ง ตรงกับวันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๐๘ สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เสด็จสวรรคต รวมพระชนมพรรษา ๕๘ พรรษา หลังจากนั้นเพียง ๓ ปีเศษ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ ๔ ก็สวรรคต สิ้นสุดแผ่นดินสองกษัตริย์

***กำเนิดรอยร้าว ระหว่างลูกพระจอมกับลูกพระปิ่น เหตุการณ์หลังการสวรรคตของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔

๑. ในที่ประชุมพระราชวงศ์และขุนนางได้มีมติเอกฉันท์เห็นควรให้ยกราชสมบัติตกแก่พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า รัชกาลที่ ๔ คือ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ฯ ขึ้นเป็นรัชกาลที่ ๕ พระนามว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะนั้นพระชนมายุ ๑๕ พรรษา ปกครองพระบรมหาราชวัง หรือวังหลวง

๒. ในที่ประชุมพระราชวงศ์และขุนนางได้มีมติเอกฉันท์เห็นควรให้ยกตำแหน่งกรมพระราชวังบวร (พระมหาอุปราช,วังหน้า) แก่พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นกล้า พระนามว่า พระเจ้าบวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ายอดยิ่งประยูรยศ ขึ้นเป็น กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ขณะนั้นพระชนมายุ ๓๑ พรรษา ปกครองพระราชวังบวร หรือวังหน้า(ธรรมศาสตร์)
ได้รับการสนับสนุน2

ในช่วงต้นรัชกาลที่ ๕ ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๑๗ พระองค์ทรงริเริ่มปฏิรูปการปกครองประเทศโดยการดึงอำนาจเข้าศูนย์กลาง ทรงตั้งระบบหอรัษฎากรพิพัฒน์ (ปัจจุบันคือ กระทรวงการคลัง) เพื่อรวบรวมการเก็บภาษีทั้งหมดมาไว้ในที่เดียว ซึ่งทำให้เจ้านายและขุนนางผู้ใหญ่บางท่านไม่พอใจ เพราะกระทบต่อการเก็บรายได้ โดยเฉพาะเจ้าวังหน้าที่แต่เดิมนั้นมีรายได้ถึง ๑ ใน ๓ ของรายได้ทั้งหมด

ในที่สุดก็มีข่าวว่าวังหน้าริเริ่มสะสมกำลังทหารซึ่งมีมากถึง ๒,๐๐๐ นาย สถานการณ์ทั้ง ๒ วังเริ่มตึงเครียด ความสัมพันธ์ของวังหลวงและวังหน้าได้ตัดขาดลงบางส่วน ชาวบ้านประชาชนหวั่นเกรงว่าอีกไม่นานต้องเกิดสงครามระหว่าง กษัตริย์กับอุปราชเป็นแน่

แต่แล้ว!! ในปีเดียวกันนั้นเวลาประมาณห้าทุ่มเศษ ได้เกิดไฟไหม้ขึ้นที่วังหลวงซึ่งเป็นจุดอันตรายอย่างยิ่ง เนื่องจากอยู่ใกล้คลังแสงและวัดพระแก้ว ในเวลาเดียวกันนั้นก็พบเหล่าทหารวังหน้าที่ดูเหมือนจะบังเอิญมาประจำการอยู่บริเวณรอบๆ จุดเกิดเหตุ และพยายามที่จะเข้ามาช่วยดับไฟแต่กับมีอาวุธติดกายมาด้วย ทหารวังหลวงเห็นเข้าจึงขัดขวางและปฏิเสธความช่วยเหลือ …เหตุการณ์นี้ จึงตอกย้ำรอยร้าวของทั้งสองวังมากขึ้นจนถึงขั้น....(ในตอนต่อไป)




ที่มา : คลังประวัติศาสตร์ไทย

เรื่องราวที่คุณไม่เคยรู้! รัชกาลที่ ๔ มีสองพระองค์ แผ่นดิน ๒ กษัตริย์

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์