วิธีได้บุญ แบบง่ายๆ
สำหรับพระเทศน์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พวกเราก็ฟัง มานับไม่ถ้วนการเจริญสมาธิ เราก็ทำแล้ว ฉะนั้นความดีใดที่องค์สมเด็จพระประทีปแก้วทรงตรัสว่าเป็นบุญกิริยา เอาเฉพาะสามอย่างที่จัดเป็นจุดใหญ่ คือ
ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน เราทำ แล้วก็ทำแล้วหลายวาระ อย่าการถวายสังฆทานทุกวันหลายๆ ท่านอาจจะไม่ได้เป็นเจ้าของในการถวายสังฆทาน แต่ท่านทำบุญร่วม คนละเล็กคนละน้อยคนละมาก ตามกำลังศรัทธาก็ชื่อว่าเป็นเจ้าของทานเหมือนกัน นี่ประการหนึ่ง บางท่านไม่ได้บริจาคทรัพย์ร่วมด้วย แต่ยินดีในการถวายสังฆทาน อย่างนี้เรียกว่า ปัตตานุโมทนามัย ในบุญกิริยาวัตถุ เป็นอันว่าบุญสำเร็จด้วยการโมทนา คือการแสดงความยินดีด้วย
คนที่อาศัยปัตตานุโมทนา ตลอดกาลตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจนเข้าถึงพระนิพพาน นั้นคือ พระนางมัทรี หรือ พระนางพิมพา พระนาง นี่ไม่เคยทำบุญเลย นับตั้งแต่เป็นคู่บารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจนกระทั่งพระนางได้บรรลุอรหัตผล
สมเด็จพระทศพลได้ตรัสกับ พระโมคคัลลาน์และ พระสารีบุตร ตอนที่ไปเยี่ยม พระนางพิมพา ตอนที่เสด็จไปสู่กรุงกบิลพัสดุ์ สมเด็จพระทรงสวัสดิ์ได้ทรงตรัสกับ พระสารีบุตร ว่า สารีปุตตะ ดูกร สารีบุตร พระโมคคัลลานะ ว่าดูกร โมคคัลลาน์ ทั้งสองท่าน เวลาที่ท่านจะเข้าเยี่ยมนางพิมพา เธอก็ถือว่า เวลานี้พระลูกเจ้าเสด็จมาแล้ว แต่ทว่าไม่มาหาเราถึงที่พัก เราก็ไม่ไปหาท่านเหมือนกัน
เมื่อองค์สมเด็จพระภควันต์ทรงทราบวาระน้ำจิตของพระนางพิมพา เมื่อเทศน์โปรดพระพุทธบิดาและหมู่พระประยูรญาติแล้ว สมเด็จพระประทีปแก้วจึงเสด็จไปเยื่ยม พระนางพิมพา ก็รู้อยู่ว่าเข้าไปในถึงตำหนักของ พระนางพิมพา พระนางพิมพา จะอาศัยความรักเดิมเข้ามากอดขาของพระองค์ พระองค์จึงได้บอก พระโมคคัลลาน์ กับพระสารีบุตร ก่อนจะเข้าไปว่า ถ้าเราเขาไป พระนางพิมพา จะเข้ามากอดขาเรา เธอจงอย่าห้ามนะ เพราะเราไม่มีอะไรแล้ว ความรู้สึกในกามารมณ์ไม่สำหรับเรา
ทว่าถ้าเธอห้าม พระนางพิมพา ล่ะก็ พระนางพิมพาจะอกแตกตาย เธอ จะไม่มีโอกาสได้ผลของความดี ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่า พระนางพิมพา ไม่เคยบำเพ็ญบารมีด้วยตนเองเลย มีอย่างเดียว โมทนากับเราเท่านั้น นับตั้งแต่เริ่มแรกบำเพ็ญบารมีเป็นต้นมา
ใช้เวลาถึง 4 อสงไขยกับแสนกัป เป็นคู่บารมีกันมาไม่เคยคลาดกัน แต่ ว่าคนที่ทำบุญจริงๆ คือ องค์สมเด็จพระบรมโลกนาถ เมื่อทำไปแล้วเธอ เธอก็บอกยินดีด้วย โมทนา แม้ครั้งหลังที่มีความสำคัญสุด คือ ยกลูกทั้งสองให้เป็นทาสของชูชก เธอมีความเสียใจสลบไป เมื่อฟื้นขึ้นมา ขึ้นมาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็น พระเวสสันดร จึงได้บอกเธอว่า เราให้ลูกกับ ชูชก ไป ทั้งนี้เพราะปรารถนาพระโพธิญาณ ของเธอจงโมทนาด้วย เธอก็ยินดี โมทนาด้วย
นี่เป็นอันว่า พระนางพิมพา นี่ไม่เคยทำบุญเอง ได้แต่ใช้แต่ ปัตตานุโมทนามัย อย่างเดียว นี่เทศน์แบบนี้ไม่ถูกหรอก จน ดีไม่ดีคนทุกคน ไม่มีใครทำบุญอ๊ะ ถ้าใครทำบุญ ฉันก็โมทนาด้วยด้วยจ๊ะ ไอ้เทศน์แบบนี้ เทศน์อด ไม่น่าจะเทศน์ใช่ไหม เอ่อ เดี๋ยวตัดใหม่ดีกว่านะ เทศน์ใหม่ซิ เทศน์ใหม่ก็เทศน์ไม่ได้เขาบันทึกเสียงไว้ เจ๊งอีกแล้ว
เป็นอันว่า เมื่อเข้าไป พระพุทธเจ้าเข้าไปแล้ว พระนางพิมพา เข้ามากอดขาจริงๆ สมเด็จพระผู้พระภาคเจ้าจึงแสดงพรธรรมเทศนาโปรด จนกระทั่งเธอคลายความเสียใจ หลังจากนั้น พระนางพิมพา ก็ขอบวชในพุทธศาสนาเป็นภิษุณี แล้วก็ได้เป็นอรหัตผล
นี่เป็นอันว่า ปัตตานุโมทนามัย บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนก็ทำมาเยี่ยง พระนางพิมพา แค่ปัตตานุโมทนามัย ก็เป็นพระอรหัตน์ได้ อึ แต่ไม่ค่อยดีนะ พระจะอด หรือไม่อด มีเจ้าภาพอยู่นะ อย่างไร ๆ ข้าวถ้วยหนึ่งโว้ย อิ่ม ทีนี้ท่านทั้งหลายทำความดีนะ ถ้าจะเทียบ มัฏฐกุณฑลีเทพบุตร มันเทียบกันไม่ได้ ท่านมีความความดีเท่านั้น ท่านเป็นพระโสดาบันได้
แต่พวกเราทำความดีขนาดนี้จะเป็นอะไรกัน สมมติว่าเวลานี้ บรรดา ท่านท่านหลายปฏิบัติธรรมกันทุกอย่างแต่ว่าบังเอิญอย่างยิ่งที่ใจมันดื้อ ที่ไม่มีโอกาสจะได้บรรลุมรรคผล แต่ว่าจิตใจของท่านพุทธศานิกชน รักอะไรบ้างล่ะ ที่รักจริงๆในด้านความดีที่เราจะเห็นกันได้ในเวลาด้านนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระนิพพาน รักการเจริญ สมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน ถ้ารักกองใดกองหนึ่ง เป็นที่ชอบอย่างยิ่งหรือบางท่านก็รักการถวายทาน เมื่อพระมาทีไรก็ถวายสังฆทานกันทุกคราว หรือเกือบทุกครั้ง ไอ้การถวายสังฆทานนี่เป็นเจ้าเองก็ดี ร่วมจัตุปัจจัยด้วยของเล็กน้อยก็ดี ก็ชื่อว่าเป็นผู้ถวายสังฆทาน
ถ้าตายจากคนถ้าใจไม่ละความดี ที่บอกเมื่อกี้ให้นึกถึงความตายไว้ทุกวันคิดว่าเราจะตายเรื่อยๆ ตื่นขึ้นมา ถ้าเราตายแล้วจะไปไหน ตั้งใจว่าด้วยอำนาจทาน ทานัง สัคคโส ทานัง ทานเป็นปัจจัยให้เกิดบนสวรรค์ทานที่เราให้ถ้าเราตายวันนี้เราไปสวรรค์ได้ ด้วยสีล สีเลนะ สุคติง ยันติ ศีลเป็นเครื่องปัจจัยให้เกิดในสวรรค์ สีเลนะ โภคสัมปทา ศีลเป็นปัจจัยให้มีโภคสมบัติมากถ้าเป็นเทวดาก็มีทิพย์สมบัติมาก ถ้าเกิดมาก็เป็นร่ำรวย สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ศีลเป็นปัจจัยให้เข้าถึงนิพพานโดยง่าย
ธรรมะไทย