โรคชั้นประหยัด (Deep vein thrombosis)
ถ้าท่านผู้อ่านอ่านหนังสือพิมพ์หรือฟังข่าวจะพบชื่อโรคชั้นประหยัดเท่าที่เรียนว่ามายังไม่เคยเจอโรคนี้แต่ถ้าบอกว่าโรค deep vein thrombosis ไม่ว่าจะเป็นแพทย์แผนกไหนก็ต้องรู้จักเป็นอย่างดีเนื่องจากเป็นโรคที่พบอยู่เรื่อยๆ
ฟังจากชื่อแล้วเป็นเฉพาะคนจนหรือเปล่า และจำเป็นต้องนั่งเครื่องบินชั้นประหยัดหรือไม่ เป็นแล้วอันตรายหรือไม่ มีวิธีป้องกันอย่างไร หลังจากท่านผู้อ่านได้อ่านบทความนี้หมดแล้วคงพอมีความรู้เบื้องต้นที่จะดูแลและป้องกันโรคนี้
เส้นหลอดเลือดดำจะนำเลือดที่ใช้แล้วกลับสู่หัวใจโดยอาศัยการบีบตัวของกล้ามเนื้อร่วมกับลิ้นในหลอดเลือดดำ หลอดเลือดดำที่ขามี 2 ชนิดคือหลอดเลือดดำที่ผิว superficial veinที่เราสามารถเห็นได้ด้วยตา ซึ่งจะนำเลือดจากผิวไปสู่หลอดเลือดดำส่วนลึก deep veinซึ่งจะอยู่ในกล้ามเนื้อ หลอดเลือดดำลึกก็จะนำเลือดไปยังหลอดเลือดดำใหญ่ในท้อง inferior venacava
ปกติเลือดในหลอดเลือดดำจะไหลเวียนอยู่ตลอดเวลา แต่เมื่อมีภาวะที่เลือดดำหยุดไหลเวียนและจับแข็งตัว thrombosisในหลอดเลือดเรียกภาวะนี้ว่าลิ่มเลือดคั่งในหลอดเลือดดำภาวะนี้อาจจะเกิดร่วมกับการอักเสบของหลอดเลือดดำ thromboplebitis คือมีทั้งลิ่มเลือดและการอักเสบของหลอดเลือด ภาวะนี้อาจจะเกิดที่เส้นเลือดผิว superficial vein ซึ่งเพียงทำให้บวมและปวดเท้านั้นจะไม่ไปอุดหลอดเลือดหัวใจหรือปอด การรักษาก็ไม่ยุงยากแต่หากเกิดที่เส้นเลือดส่วนลึก deep vein จะก่อให้เกิดปัญหามากคือลิ่มเลือดอาจจะไปอุดที่ปอดเรียก pulmonary embolism ซึ่งอันตรายเสียชีวิตได้
สาเหตุใหญ่ๆที่ทำให้เกิดภาวะนี้ได้แก่
1. หลอดเลือดดำได้รับอันตราย เช่นอุบัติเหตุกระดูกหัก กล้ามเนื้อถูกกระแทก หรือการผ่าตัด
2. เลือดในหลอดเลือดมีการไหลเวียนช้าลง เช่นการนั่งหรือนอนนาน หลังผ่าตัด อัมพาต การเข้าเผือก
3. การที่เลือดมีการแข็งตัวง่าย
ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ มีดังนี้
อาการที่สำคัญที่พบคืออาการบวมที่เท้า เนื่องจากการไหลกลับของเลือดไม่ดีมักจะบวมข้างเดียว บางรายอาจจะเห็นเส้นเลือดโปงพอง อาจจะมีอาการปวดกล้ามเนื้อหรือเป็นตะคริวพบได้ครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยโดยเฉพาะเวลากระดกข้อเท้าจะทำให้ปวดมากขึ้น เมื่อกดบริเวณน่องก็จะทำให้ปวด ผู้ป่วยบางรายอาจจะไม่มีอาการที่เท้าอาจจะมาพบแพทย์ด้วยเรื่องหอบเหนื่อยเนื่องจากลิ่มเลือดไปอุดในปอด หากพบว่าเป็นโรคนี้ จะต้องรีบให้การรักษาโดยรับตัวไวในโรงพยาบาลแพทย์จะเลือกให้ heparin หรือ low molecular weight heparin หลังจากนั้นต้องให้ warfarin เพื่อป้องกันลิ่มเลือดอีก 3 เดือน
ดังนั้นหากใครที่มีปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้จึงควรตรวจสอบร่างกายของตนเองเป็นประจำเพื่อเช็คว่าร่างกายมีอะไรผิดปกติหรือไม่ แต่ทางที่ดีควรออกกำลังสม่ำเสมอจะเป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุดคะ
ข้อมูลจาก : siamhealth