มารู้จักรองช้ำกันเถอะ
ไม่ทราบว่าเพื่อน ๆ ที่นี่มีใครเคยเป็น "รองช้ำ" กันบ้างหรือเปล่าเอ่ย ส่วนตัวเราเองยังไม่เคยเป็นนะคะ แต่พอดีว่าได้ยินญาติข้าง ๆ บ้านบ่น ๆ ว่าเป็น "รองช้ำ" ก็เลยเกิดอาการสงสัยว่า เอ๊ะ .... รองช้ำนี่มันคืออะไรกันหนอ ? นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ทำให้เป็นโรคนี้คือ ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกิน และผู้ที่เป็นโรคอ้วน / ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน พวกนักวิ่ง หรือผู้ที่ต้องใช้เท้ามาก ๆ/ ผู้ที่เป็นโรคเท้าแบน หรือว่าผู้ที่มีส่วนโค้งของเท้ามาก
ก็เลยลองเสิรชหาข้อมูลเกี่ยวกับอาการนี้มาฝากเพื่อน ๆ ชาวที่นี่ให้ได้อ่านกัน
รองช้ำ หมายถึง การมีจุดปวดบนเท้า เช่น ที่ส้นเท้าเวลาเดินลงน้ำหนัก โดยเฉพาะก้าวแรกหลังจากตื่นนอนตอนเช้า หรือนั่งนาน ๆ แล้วลุกขึ้นยืนเดิน โรคนี้มีการอักเสบ ปวดส้น ผังผืดฝ่าเท้า Placentar fascia สัมพันธ์กับการเดินลงน้ำหนักที่เท้า มักพบมีความผิดปกติของการลงน้ำหนักที่เท้าร่วมด้วย
อาการของการเจ็บส้นเท้า/ฝ่าเท้า อาการที่พบคือปวดส้นเท้า หรือส่วนโค้งของเท้า และจะมีลักษณะเจ็บคล้ายๆกับมีของแหลมมาทิ่ม กล้ามเนื้อน่องจะมีอาการเกร็ง อาการจะเป็นมากในตอนเช้าหลังจากที่ตื่นนอน และจะเริ่มดีขึ้นเมื่อมีการบริหารฝ่าเท้า หรือบางครั้งอาการปวดจะมีขึ้นเมื่อยืนนานๆ ในกรณีที่เป็นมากอาจจะมีอาการปวดตลอดทั้งวัน
โรคนี้ไม่ถึงกับเป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ก็ควรได้รับการรักษาเนื่องจากกระทบการเทือนต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย การรักษาสามารถทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการโดย
อาจจะหยุดกิจกรรมที่ต้องทำการใช้เท้านานๆ สามารถที่จะช่วยให้ผู้ป่วยหายจากอาการปวดนี้ได้ รวมไปถึงการวิเคราะห์ถึงสภาพกิจกรรมหรือร่างกายที่ผ่านมาว่า มีส่วนทำให้เป็นโรคนี้ได้หรือไม่เช่นน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น หรือการฝึกวิ่งที่หักโหมมากเกินไป
ใช้ Ice Packs เป็นการใช้ความเย็นช่วยในการรักษาการอักเสบของเส้นเอ็น โดยนำ Ice packs เข้าไปประคบฝ่าเท้าหลังการทำกิจกรรมการยืดกล้ามเนื้อ เป็นเวลา 10-15 นาที หรืออาจจะใช้วิธีการออกกำลังกายก็จะช่วยได้เช่นกัน
ใช้แผ่นรองรองเท้า เพราะการใช้แผ่นรองรองเท้าที่ดีนั้นจะช่วยลดแรงกระแทกที่ฝ่าเท้ากระทำกับเข้ากับพื้นรองเท้า ในกรณีที่ใช้แผ่นรองรองเท้าที่ทำแค่เฉพาะเท้าของผู้ป่วยนั้น ก็จะยิ่งช่วยลดแรงกระแทกได้
หรือถ้าใช้วิธีต่าง ๆ แล้วอาการไม่ดีขึ้น ยังคงมีอาการปวดอยู่แนะว่าให้ลองผ่าตัด ซึ่งการฝ่าตัดจะถูกใช้เมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยวิธีอื่นๆแล้ว แต่ว่าอาการปวดก็ยังคงอยู่ แต่วิธีนี้ไม่ค่อยจะนำมาใช้ในการรักษาเท่าไหร่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการ และคำวินิจฉัยของแพทย์
ที่มา : ลานสน