ปั ญ ญ า ชั้ น สู ง

ปั ญ ญ า ชั้ น สู ง


ปั ญ ญ า ชั้ น สู ง
พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฐ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)


• ปุจฉา


เมื่อพูดถึงศีล สมาธิ ปัญญา ตัวปัญญามาก่อนหรือมาทีหลังครับหลวงพ่อ ?

• วิสัชนา


อันนี้ก็ในทำนองอันเดียวกับทาน ศีล ภาวนา
ท่านยกเอาศีล สมาธิ ปัญญา มาตั้งไว้เป็นลำดับ
ก็เอาปัญญาไว้สุดท้าย ยกเอาศีลไว้เบื้องต้น
พูดแต่หยาบไปหาละเอียดคนจะได้เข้าใจง่ายเข้า

เมื่อเราปฏิบัติธรรม
คืออบรมใจให้เข้าถึงความสงบแล้วนั้น
จะเห็นได้ว่าผู้จะรักษาศีลให้บริสุทธิ์
หมดจดเรียบร้อยหรือมั่นคง หนักแน่นนั้น
เพราะปัญญาเกิดก่อน

คือปัญญาเห็นว่าสิ่งนี้ดี สิ่งนี้ถูก
สิ่งนี้ไม่ดี สิ่งนี้ชั่ว สิ่งนี้ควรทำ สิ่งนี้ไม่ควรทำ
ปัญญาเกิดขึ้นแล้วจงค่อยงดเว้นจากความชั่ว
คือรักษาศีล นี่จึงว่าปัญญาเกิดก่อนศีล


สมาธิก็เหมือนกันที่เราจะทำให้สงบแน่วแน่
มันต้องมีปัญญาฉลาด มีแยบคายไหวพริบในตัว
มีการชำระจิตตนอยู่รอบด้าน
หรือระวังสังวรณ์ในอินทรีย์ทั้งหลาย
ไม่ให้ฟุ้งซ่านส่งไปภายนอกให้เห็นโทษเห็นภัยของอารมณ์นั้นๆ
จึงจะสละอารมณ์ทั้งหลายนั้นๆ ทำให้เข้าถึงความสงบได้

เมื่อเราพูดถึงเรื่องปัญญาเกิดก่อนศีล เกิดก่อนสมาธิแล้ว
คราวนี้ตัวปัญญาก็ไม่ต้องพูดกันละคราวนี้

แต่คราวนี้ถ้าจะพูดอีกนัยหนึ่ง
ปัญญาในที่นี้ท่านบัญญัติปัญญาไว้สุดท้ายนั้น
ท่านพูดถึงปัญญาชั้นสูง ปัญญาที่พิจารณาวิปัสสนา
คือรู้แจ้งเห็นสัจจธรรมตามความเป็นจริง



หากคุณเชื่อว่าเมื่อทำความดีแล้วส่งผลต่อการทำงานที่ดี มีประสิทธิภาพ ในหนังสือเล่มนี้มีแรงบันดาลใจหลากหลายในการทำดีเพื่อให้คุณไปคิด เพื่อจะทำความดี หรือเริ่มต้นที่ความดี หรือทำความดีต่อไปอย่างต่อเนื่อง

ถ้าไม่มีศีล ไม่มีสมาธิ ปัญญาก็ไม่เกิด
ปัญญาที่จะเกิดวิปัสสนา
ปัญญาจะต้องมีศีลสมบูรณ์ สมาธิแน่วแน่
ปัญญาวิปัสสนาจึงจะเกิดขึ้น
เหตุนั้นท่านจึงบัญญัติไว้ตอนท้าย

นักปฏิบัติทั้งหลาย ผู้ที่มองเห็นว่า
ปัญญาเกิดก่อนศีล สมาธิ
บางคนอาจจะลบล้างหรือลบหลู่ว่าอันนั้นผิดก็ได้

เมื่อผู้ที่พิจารณาเห็นถึงวิปัสสนาปัญญาตรงนี้แล้ว
จะเห็นภูมิฐานชั้นเชิงที่ท่านเทศนาไว้
เป็นของจริงทุกสิ่งประการ


เพราะธรรมะมันมีหลายชั้นหลายภูมิ
เหตุนั้นปัญญาที่ท่านบัญญัติไว้
ท่านหมายเอา ปัญญาชั้นสูง
ที่เรียกว่า ปัญญาวิปัสสนา
หรือปัญญาที่รู้แจ้งสัจจธรรมตามความเป็นจริง
จนกระทั่งสละหรือเบื่อหน่ายปล่อยวางอุปาทานทั้งหลายได้




(ที่มา : วิสัชนาธรรม โดย หลวงพ่อชา สุภัทโท :
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี, ธรรมสภา จัดพิมพ์, หน้า ๑๕๒-๑๕๓)


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์