การนอนหลับหลังกินข้าวทำให้อ้วนจริงหรือ?

การนอนหลับหลังกินข้าวทำให้อ้วนจริงหรือ?


น้ำหนักร่างกายขึ้นอยู่กับปัจจัยมากมาย และทั้งรูปแบบการใช้ชีวิตและพันธุกรรมมีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้มาก หลักสำคัญของการควบคุมน้ำหนักก็คือ การทำให้พลังงานที่รับและพลังงานที่ใช้มีความสมดุลกัน

ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่เรารู้จักกันในชื่อ สมการสมดุลพลังงาน (energy balance equation)

พลังงานที่รับได้มาจากอาหารและเครื่องดื่มที่เราบริโภคมักจะวัดกันเป็นหน่วยกิโลแคลอรี่ (kcal) กระทรวงเกษตรสหรัฐได้กำหนดระดับแคลอรี่ตามเพศ อายุ และกิจกรรมของแต่ละคนไว้ ปริมาณแคลอรี่ที่รับจะมีค่าตั้งแต่ 3,000 กิโลแคลอรี่สำหรับผู้ชายอายุระหว่าง 19-20 ปีที่ชอบทำกิจกรรมจนถึง 2,000 กิโลแคลอรี่สำหรับชายอายุ 76 ปีขึ้นไปที่ชอบนั่ง (ในส่วนผู้หญิงจะมีค่าอยู่ที่ 2,400 กิโลแคลอรี่ และ 1,600 กิโลแคลอรี่ตามลำดับ) เมื่อพลังงานที่รับมากกว่าพลังงานที่ใช้ไป ร่างกายเราจะเก็บพลังงานส่วนเกินในรูปของไขมัน ไม่ว่าพลังงานส่วนเกินนั้นจะมาจากไขมัน คาร์โบไฮเดรต หรือแม้แต่แอลกอฮอล์

พลังงานที่ใช้จะมีด้วยกัน 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ resting metabolic rate (BMR) ซึ่งเป็นพลังงานที่ร่างกายคุณใช้ให้ทำงานได้ปกติตลอดทั้งวัน, diet induced thermogenesis (DIT) เป็นพลังงานที่ใช้ในการย่อยอาหาร ดูดซึม ขนส่ง ย่อยสลาย และเก็บอาหารและเครื่องดื่ม และกิจกรรมทางร่างกาย ในคนชราแต่ละคนจะมีค่า BMR ประมาณ 60-70% ของพลังงานที่ใช้ไป ค่า DIT คิดเป็นประมาณ 10% และกิจกรรมทางร่างกายจะอยู่ประมาณ 10-25% (คนที่ไม่ชอบอยู่นิ่งจะมีสัดส่วนของพลังงานที่ใช้ไปมากกว่ากิจกรรมทางร่างกาย) ร่างกายของเราจะใช้พลังงานตลอดเวลาแม้แต่ขณะกำลังหลับ ร่างกายก็ต้องการพลังงานในการทำหน้าที่ที่ซับซ้อนหลายอย่างเพื่อทำให้เรามีชีวิตอยู่

ไขมันร่างกาย 1 ปอนด์จะให้พลังงานประมาณ 3,500 กิโลแคลอรี่ สมการสมดุลพลังงานแสดงให้เห็นว่าถ้ามีการเพิ่มขึ้นของอาหารที่บริโภคหรือการลดลงของพลังงานที่ใช้ไปเท่ากับ 3,500 กิโลแคลอรี่จะทำให้เรามีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 1 ปอนด์ ถึงแม้ว่านี่อาจจะเป็นการคำนวณอย่างง่ายในการคาดคะเนทั้งน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ตาม แต่ยังมีความแตกต่างในแต่ละบุคคลที่สมการสมดุลพลังงานไม่สามารถนำมาคิดได้ การเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักเป็นกระบวนการที่ค่อนข้างช้าคือมันต้องใช้เวลานานกว่าสองสามนาที ชั่วโมง หรือวัน ตัวอย่างเช่น การเพิ่มของน้ำหนักเกี่ยวข้องกับภาวะที่การรับปริมาณแคลอรี่มากกว่าการใช้มากเป็นระยะเวลานาน


และคำตอบของคำถามนี้ไม่ใช่คำตอบที่ตายตัวถึงแม้ว่าเราจะรู้ปัจจัยทั้งหมดของการใช้ชีวิตของคนๆ หนึ่ง แน่นอนว่าคนที่เดินเร็วๆ จะต้องใช้พลังงานมากกว่าการงีบในตอนกลางวัน

อย่างไรก็ตาม การนอนหลับไม่ใช่สาเหตุของน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น อย่างที่เราอ่านมาแล้ว หลักสำคัญคือความสมดุลของพลังงานในระยะยาว แต่ในปัจจุบันโดยเฉพาะคนสหรัฐอเมริกาจำนวนมากกำลังรับพลังงานมากกว่าที่ร่างกายของพวกเขาใช้ ซึ่งนำไปสู่ภาวะที่ทำให้คนมากกว่า 1 ใน 3 เป็นโรคอ้วน

ที่น่าสนใจก็คือมีการศึกษาสองสามอัรที่บ่งชี้ว่าคนแต่ละคนที่นอนไม่พอและได้นอนในเวลาที่กำจัดจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ง่ายกว่าคนที่นอนเพียงพอ การนอนหลับไม่เพียงพอจะทำให้การหลั่ง ฮอร์โมนเลปติน (leptin) ลดลง ฮอร์โมนตัวนี้ถ้ามีระดับสูงจะทำให้เรารู้สึกอิ่ม แต่ถ้ามีระดับต่ำจะทำให้เรารู้สึกหิวได้ กระนั้น การนอนหลับไม่เพียงพอจะเพิ่มระดับฮอร์โมนเกรห์ลิน (grehlin) ซึ่งทำให้คนรู้สึกหิวมากขึ้น


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์