
ในชีวิตคนเรามักเต็มไปด้วยความเครียดจากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น จากความท้าทาย อุปสรรคต่างๆที่เกิดขึ้น และจากความกดดันที่ยากต่อการจัดการแก้ไข เมื่อเราเผชิญกับสิ่งเหล่านี้มากๆ เราก็จะเกิดความเครียดขึ้น โดยความเครียดแบ่งออกเป็นสองระยะ คือ
1. Acute Stress Disorder คือ โรคเครียดซึ่งเกิดภายในระยะเวลา 1 เดือนหลังเกิดเหตุการณ์กระทบกระเทือนจิตใจ
2. Posttraumatic Stress Disorder คืออาการที่เกิดนานมากกว่า 1 เดือน คนไข้ความรู้สึกเหมือนตกอยู่ในเหตุการณ์ที่กระทบ กระเทือนจิตใจอยู่ตลอด พยายามหลีกเลี่ยงต่อสิ่งที่กระตุ้นให้ระลึกถึงเหตุการณ์ดังกล่าว หลับยาก หงุดหงิด สมาธิไม่ดี ระวังระไวเกินปกติ สะดุ้งตกใจง่าย กระสับกระส่าย เป็นต้น หากอาการดังกล่าวเป็นมากจนมีความทุกข์ทรมาน และทำให้เกิดความบกพร่องในการงาน กิจกรรมด้านสังคม ก็ควรจะต้องมาขอรับคำปรึกษาและรักษาโดยจิตแพทย์ ตัวอย่างเหตุการณ์ในอดีตที่พบว่าทำให้เกิดอาการของโรคนี้ ได้แก่ การก่อวินาศกรรมตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ในมหานครนิวยอร์ค การเกิดสึนามิในทะเลอันดามัน เป็นต้น ฉะนั้นความเครียดนี้เกิดได้จากทั้งมนุษย์ก่อขึ้นหรือจากภัยธรรมชาติ
การศึกษาวิจัยพบว่าผู้ชายจะเกิดความเครียดมากไปน้อยจากเหตุการณ์ดังต่อไปนี้ เห็นเหตุการณ์การทำร้ายร่างกายอย่างรุนแรง อุบัติเหตุที่ร้ายแรงถึงชีวิต อัคคีภัย เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ ในขณะที่ผู้หญิงจะเกิดความเครียดจากน้อยไปมากตรงข้ามกับเพศชายและอาจเกิดความเครียดได้จากการถูกข่มขืน
ความเครียดในคนที่เป็นโรคเครียด จะแตกต่างจากความเครียดปกติที่เกิดในคนทั่วๆไป คือจะเกิดอาการทางร่างกายซึ่งรบกวนหน้าที่การทำงานในชีวิตประจำวัน อาการที่พบบ่อยๆได้แก่ อาการปวดศีรษะ ปวดคอ ปวดหลัง ปวดท้อง
อาการ
อาการของความเครียดจะเกิดขึ้นในอวัยวะที่ถูกกำกับควบคุมโดยประสาทอัตโนมัติ ทำให้ประสาทอัตโนมัติเหล่านั้นทำงานมากขึ้นจนเกิดอาการต่างๆ เช่น
ในระบบทางเดินอาหาร กระเพาะอาหาร เกิดการหลั่งกรดมากผิดปกติ ทำให้กระอาหารเป็นแผล ปวดท้อง แน่นท้อง ท้องอืด คลื่นไส้อาเจียน ลำไส้ เกิดการหดตัวมากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการท้องเสีย ถ่ายบ่อย
ในระบบหัวใจและหลอดเลือด ทำให้หัวใจเต้นเร็ว เต้นผิดจังหวะหลอดเลือดที่เลี้ยงหัวใจตีบลง มีไขมันมาเกาะ ทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบตัน เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ความดันโลหิตสูง
ระบบกล้ามเนื้อ มีการหดตัว เกร็งแข็ง เกิดอาการปวดศีรษะ ปวดคอ ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อต่างๆทั่วตัว
ประสาทอัตโนมัติเป็นระบบที่ทำงานโดยไม่สามารถบังคับหรือสั่งการได้ หล่อเลี้ยงอวัยวะภายในทั้งหมด ได้แก่ หัวใจ ปอด ตับ ลำไส้ หลอดเลือด
ประสาทอัตโนมัติมีความเกี่ยวข้องกับสมอง และไขสันหลังเป็นอย่างยิ่ง ความเครียดจะกระตุ้นอารมณ์ในสมอง ซึ่งจะกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติให้ทำงานผ่านแนวเชื่อมโยงกับไขสันหลัง การทำงานนั้นอยู่นอกการควบคุมของจิตใจ
ทีนี้เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเป็นโรคเครียดหรือไม่
โรคเครียดสามารถวินิจฉัยได้ง่าย เราทุกคนก็สามารถวินิจฉัยตัวเองได้ คือ เมื่อ มีอาการทางกายเกิดขึ้นสัมพันธ์กับความเครียด แต่ปัญหาใหญ่มักอยู่ที่ตัวเราเองไม่ค่อยยอมรับว่าเครียด ผมมีคนไข้โรคเครียดหลายรายที่ปฏิเสธอย่างแข็งขันในตอนแรกว่าไม่เครียด แต่เมื่อได้สัมภาษณ์ลงลึกก็มักจะพบว่ามีความเครียดจำนวนมากแฝงอยู่ เช่น ทำงานวันละ12-16 ชั่วโมง
การรักษา
การรักษาใช้หลายๆวิธีรวมกัน ได้แก่
1. การรักษาโรคทางกายให้สงบ
ตามอาการที่เกิด เช่น ใช้ยาลดกรดในกระเพาะรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร ยาลดความดันโลหิตรักษาโรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ การรักษานี้เป็นการรักษาที่ปลายเหตุ แต่ก็จำเป็นต้องทำก่อน เพื่อลดอาการต่างๆ ให้ผู้ป่วยสบายขึ้น มิฉะนั้นอาการต่างๆเหล่านั้นจะทำให้ผู้ป่วยเกิดความเครียดต่อเนื่อง เป็นวงจรไม่รู้จบ
2. การรักษาทางจิตใจ
การผ่อนคลายความเครียด และทำใจให้สงบ การแก้ไขปัญหาชีวิตให้สำเร็จ มีการปรับตัวกับบุคคลอื่นได้ดี
การออกกำลังกายให้แข็งแรง จิตใจเผชิญความเครียดได้ดี มีการผ่อนคลาย งานอดิเรก พักผ่อนหย่อนใจ
3. การจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม
สถานที่ทำงาน ที่อยู่อาศัย ไม่เครียด การทำงานพอเหมาะ ไม่หนักมากเกินไป มีเวลาพักผ่อน
Love Attack เทศกาลความรักแบบนี้ บอกอ้อมๆให้เขารู้กัน
Chocolate Dreams สาวชั่งฝันและช็อคโกแลต กับหนุ่มหล่อ ไม่แน่คุณอาจจะได้เจอแบบนี้ก็ได้
Love You Like Crazy เพลงเพราะๆ ที่ถ้าส่งให้คนที่เรารัก โลกนี้ก็สีชมพูกันทีเดียว