“บุหรี่” ตัวสารพัดสารเคมี

“บุหรี่” ตัวสารพัดสารเคมี


          บุหรี่ มีลักษณะเป็นทรงกระบอกม้วนห่อด้วยกระดาษ (ขนาดปกติจะมีความยาวสั้นกว่า 120 มิลลิเมตร และ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 10 มิลลิเมตร) มีใบยาสูบบดหรือซอยบรรจุภายในห่อกระดาษ ปลายด้านหนึ่งเป็นปลายเปิดสำหรับจุดไฟ และอีกด้านหนึ่งจะมีตัวกรอง ไว้สำหรับใช้ปากสูดควัน คำนี้ปกติจะใช้หมายถึงเฉพาะที่บรรจุใบยาสูบภายใน แต่ในบางครั้งก็อาจใช้หมายถึงมวนกระดาษที่บรรจุสมุนไพรอื่น ๆ เช่น กัญชา (en:marijuana)

          บุหรี่ ต่างจาก ซิการ์ (en:cigar) ตรงที่บุหรี่นั้นมีขนาดเล็กว่า และใบยาสูบนั้นจะมีการบดหรือซอย รวมทั้งกระดาษที่ห่อ ซิการ์โดยปกติจะใช้ใบยาสูบทั้งใบ ซิการ์ชนิดที่มีขนาดเล็กพิเศษเท่าบุหรี่ เรียกว่า ซิการ์ริลโล (en:cigarillo) บุหรี่เป็นที่รู้จักในกลุ่มคนที่ใช้ภาษาอังกฤษตั้งแต่ก่อนสงครามแห่งครายเมีย เมื่อทหารแห่งจักรวรรดิอังกฤษ เริ่มเลียนแบบการใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อใบยาสูบ จากทหารตุรกีแห่งอาณาจักรออตโตมัน


          สารเคมีในบุหรี่

          ไส้บุหรี่นั้น ทำจากใบยาสูบตากแห้ง นำไปผ่านกระบวนการทางเคมี และมีการเพิ่มสารอื่น ๆ ควันบุหรี่ประกอบด้วยสารเคมีมากกว่า 4,000 ชนิด ซึ่งในจำนวนนั้นมีสารเคมีจำนวนมากที่เป็นสารพิษ สารที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม (en:mutagenic) และสารก่อมะเร็ง (en:carcinogen) สารเคมีที่เป็นองค์ประกอบได้แก่

           อะซีโตน (Acetone)

           อะลูมิเนียม (Aluminiam)

           แอมโมเนีย (Ammonia)

           สารหนู (Arsenic)

           เบนซีน (Benzene)

           บิวเทน (Butane)

           แคดเมียม (Cadmium)

           คาเฟอีน (Caffeine)

           คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide)

           คาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide)

           คลอโรฟอร์ม (Chloroform)

           ทองแดง (Copper)

           ไซยาไนด์/ไฮโดรเจนไซยาไนด์ (Cyanide/Hydrogen cyanide)

           ดีดีที/ดีลดริน (DDT/Dieldrin)

           เอทิลแอลกอฮอล์ (Ethenol)

           ฟอร์มัลดีไฮด์ (Formaldehyde)

           ตะกั่ว (Lead)

           แมกนีเซียม (Magnesium)

           มีเทน (Methane)

           เมทิลแอลกอฮอล์ (Methanol)

           ปรอท (Mercury)

           นิโคติน (Nicotine)

           พอโลเนียม (Polonium)

           ทาร์ (Tar)

           ไวนิลคลอไรด์ (Vinyl Chloride)

           โพแทสเซียมไนเตรต (Potassium nitrate) 


          เมื่อรู้กันอย่างนี้นะคะก็ควรเลิกกันเถอะค่ะ  จะได้ไม่ต้องรับสารเคมีอะไรเข้าไปในร่างกายเราอีก....




ขอขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์