ก่อนหน้านี้เวลาที่ผู้สูงอายุเกิดอาการหลง ๆ ลืม ๆ เรามักจะคิดว่าเป็นเรื่องปกติ แต่เดี๋ยวนี้จะนิ่งนอนใจไม่ได้อีกแล้ว เพราะบางครั้งอาการหลง ๆ ลืม ๆ นี้อาจจะเป็นสัณญาณบ่งบอกว่า ท่านกำลังเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้
โรคอัลไซเมอร์เป็นอาการสมองเสื่อม (DEMENTIA) ชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อย ซึ่งเกิดจากการตายของเซลล์สมอง
ทำให้การทำงานของสมองเสื่อมลงจนกระทั่งส่งผลกระทบต่อกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย ในช่วง 8 -10 ปี หลังจากเริ่มมีอาการและไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์จะมีอาการสมองเสื่อมรุนแรงยิ่งขึ้น จนกระทั่งไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันตามปกติ แม้กระทั่งการแปรงฟัน โรคนี้ต่างจากอาการสมองเสื่อมที่เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ตรงที่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
อัลไซเมอร์ โรคร้ายทำลายผู้สูงอายุ
สาเหตุที่อาจจะก่อให้เกิดโรคอัลไซเมอร์
... ... พันธุกรรมเป็นปัจจัยสำคัญบองการเกิดโรคอัลไซเมอร์ก่อนวัยอันควร เนื่องจากความผิดปกติในยีนที่กำหนดโครโมโซมในตำแหน่งต่างๆ อาจส่งเสริมให้เกิดโปรตีนบางชนิดในสมอง ซึ่งมีผลทำให้เซลล์สมองตายแล้วรวมตัวกันทำให้สูญเสียความทรงจำและเสียชีวิตในที่สุด
... ... สมองถูกกระทบกระเทือน ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่อายุยังน้อยส่วนใหญ่เกิดจากการบาดเจ็บของสมองซึ่งเคยประสบอุบัติเหตุแล้วสมองได้รับการกระทบกระเทือน ผู้ป่วยในกลุ่มนี้มีสิทธิเป็นอัลไซเมอร์สูงและเมื่อมีพันธุกรรมมาเกี่ยวด้วยยิ่งทำให้เป็นโรคอัลไซเมอร์ได้เร็วและมากกว่าคนปกติถึง 10 เท่า
... ... ความเครียดเป็นตัวการสำคัญในการทำลายเซลล์สมอง เพราะความเครียดไปเปลี่ยนแปลงการทำงานของสมอง การทำงานของต่อมไร้ท่อ ทำให้เกิดสารอะดรีนาลิน หลั่งมากเกินไป ทำให้ความสมดุลของร่างกายและจิตใจเปลี่ยนไป
... ... โรคเบาหวาน จากการวิจัยพบว่าผู้ป่วยเบาหวานมีความเสี่ยงสูงถึง 65 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากผลการทดลองผู้ป่วยเบาหวานมีการตอบสนองในเรื่องของความจำและความเร็วน้อยกว่า และพบว่าร่างกายของผู้ป่ายอัลไซเมอร์ไม่สามารถนำอินซูลินที่ผลิตมาใช้ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งคล้ายคลึงกับการต้านอินซูลินในผู้ป่วยเบาหวาน เมื่อปริมาณอินซุลินมากเป็นการส่งเสริมการออกซิเดชันในร่างกาย ทำให้เพิ่มการอักเสบและความเครียด
... ... โรคความดันโลหิตสูง ผู้มีความดันโลหิตสูงมีความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดในสมองทำให้สมองได้รับออกซิเจนน้อยลง จึงเป็นเหตุทำให้ความเชื่อมโยงของประสาทถูกทำลายจนนำไปสูงโรคอัลไซเมอร์
... ... คอเลสเตอรอล จากการวิจัยพบว่าระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงเกี่ยวพันกัยการพัฒนาของโรคอัลไซเมอร์
ในปัจจุบันโรคอัลไซเมอร์ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เป็นการรักษาเพื่อให้อาการดีขึ้น
ให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เหตุผลหนึ่งที่ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์มีความจำเสื่อมเนื่องจากมีระดับของสารสื่อประสาทอะเซติลโคลีน จึงมีการพัฒนายาซึ่งสามารถยับยั้งเอนไซม์อะเซติลโคลีนเอสเทอเรส ซึ่งน่าจะให้สารอะเซติลโคลีนคงเหลืออยู่มากขึ้น ปัจจุบันมียาที่เรียกว่าสารยับยั้งอะเซติลโคลีนเอสเทอเรส ซึ่งช่วยลดการย่อยสารอะเซติลโคลีนและเป็นการรักษาระดับของอะเซติลโคลีน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ในระยะเริ่มต้นและระยะปานกลางในการรักษาอาการความจำเสื่อม
คนไข้อัลไซเมอร์ ต้องได้รับการตรวจดูแลติดตามโดยแพทย์อย่างใกล้ชิด
เพื่อทราบอาการของโรคว่าทรุดเร็วแค่ไหน จะได้รักษาความก้าวร้าวของคนไข้ ขณะที่ไปเยี่ยมตรวจคนไข้ แพทย์ต้องแนะนำวิธีบริบาลคนไข้ให้แก่ญาติที่ดูแลคนไข้วันต่อวัน เมื่อโรคก้าวหน้าไปมาก การรักษาต้องใกล้ชิด อาจต้องอยู่ในโรงพยาบาล ในช่วงสุดท้ายของโรค ต้องให้กำลังใจญาติ และดูแลสุขภาพของพวกเขาด้วย
แม้ว่าปัจจุบันจะยังไม่มีวิธีการรักษาโรคนี้ให้หายขาดได้ แต่ก็มีวิถีทางที่เชื่อกันว่าจะช่วยสามารถป้องกันการเกิดโรคนี้ได้ด้วยเช่นกัน โดย
เลือกทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ ประกอบไปด้วย ใบแปะก๊วย วิตามินอี น้ำมันปลา โคลีน ออกกำลังกาย ทำให้เลือดไหวเวียนดีและได้รับออกซิเจนเป็นผลดีต่อระบบประสาท ฝึกเซลล์สมอง เล่นเกมปริศนาต่าง ๆ เป็นการให้สมองได้ออกกำลังกายเช่นเดียวกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ สามารถป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้
พยายามทำใจไม่เครียด พยายาททำจิตใจให้เบิกบานและผ่อนคลายอารมณ์อยู่เสมอ เพื่อทำให้ร่างกายและจิตใจสมดุลไม่มีการกระตุ้นทำให้เกิดสารอะดรีนาลีนหลั่งจนไปรบกวนการทำงานของระบบประสาท
เพราะฉะนั้นถ้าเกิดที่บ้านใครมีผู้สูงอายุ ก็ต้องหมั่นใส่ใจท่านให้มาก ๆ นะคะ และก็อย่าลืมทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายมาก ๆ นะคะ