วิธีเอาตัวรอด..เมื่อหลงป่า ??

ภาพประกอบทางอินเตอร์เน็ตภาพประกอบทางอินเตอร์เน็ต


เมื่อไม่กี่วันมานี้ มีข่าวเรื่องพระธุดงค์ 2 รูปหลงป่าในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่   เลยเอาวิธีการป้องกันตัวเวลาหลงป่า และวิธีหนีเอาชีวิตรอดมาฝากกันนะคะ

เมื่อเดินหลงป่า ทะเลขุนเขาถ้าหลงทางล่ะก็....หนาว

          
การแก้ไขปัญหาหากว่าเราเกิดหลงป่าขึ้นมานั้น พรานหลายๆ ท่านได้แนะนำและก็บอกกับวิธีมาดังนี้ครับ

1.ให้สังเกตทิวไม้
          ถ้าหลงป่าให้พยายามเดินขึ้นที่สูงเอาไว้ให้สังเกตว่าชายเขาอยู่ที่ไหนให้ยึดแนวนั้นเป็นหลัก เพราะสุดชายเขามักจะมีลำธารอยู่เสมอ ชาวบ้านป่ามักจะอาศัยอยู่ติดกับต้นน้ำลำธาร เมื่อพบลำธารก็จะพบบ้านคน พร้อมกันนั้นให้สังเกตทิวไม้ชายเขา ดูสีของใบไม้ของป่าบริเวณนั้นเป็นหลัก ช่วงที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์ใบไม้จะเขียว แต่ผิดจากใบไม้ในส่วนอื่น ๆ ที่จางกว่า มุ่งไปได้เลย รับรองว่าเจอน้ำในจุดนั้นอย่างแน่นอน แล้วจึงค่อย ๆ เดินตามน้ำที่ไหลลงไป รับรองว่าได้รอดออกจากป่าแน่นอนครับ

2. ให้สังเกตรากไม้
บ่อยครั้งที่ความแห้งแล้งเกิดขึ้น หากเดินไปพบลำธารที่แห้งแล้วก็จะรู้ได้อย่างไรว่ายามมีน้ำจะไหลลงไปทางไหน พรานสอนไว้ว่าให้สังเกตรากไม้ลำธารแห้งว่า รากไม้ลู่ไปทางทิศไหน ก็ให้ไปทางนั้น เพราะยามลำธารมีน้ำ รากไม้จะลู่ไปตามน้ำเสมอไป ให้ท่านเดินไปแล้วจะพบน้ำหรือบ้านคนแน่นอน

การหลีกเลี่ยงจากโรคมาลาเรียและโรคจากไรอ่อน

มีธารน้ำ ปลายลำธาร
ย่อมมีบ้านคน


          การพิจารณาภูมิประเทศในการนอนพักแรมเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยเฉพาะในป่าเขา เพราะจุดพักแรมใดที่มีความชื้น จุดนั้นจะเป็นแหล่งเพาะยุงที่อาจมีเชื้อไข้มาลาเรีย บ่อยครั้งที่พบในป่าชื้นที่มีต้นไม้ขึ้นเป็นดง มีตะไคร่น้ำขึ้นเขียวพร้อมกับฟอสฟอรัสเรืองแสงเต็มไปหมด พรานสอนว่าอย่าไปลงแคมป์พักแรมเป็นอันขาดเลย เพราะที่ชื้นแบบนั้นรับรองมาลาเรียเพียบแต่ส่วนใหญ่พวกเราก็มักจะพักแรมกันเนื่องจากสะดวกในการทำกิจกรรมทั้งการประกอบอาหารหรือชำระร่างกาย ดังนั้นเราจึงควรป้องกันไม่ให้ยุงและไรอ่อนกัดเราได้ โดยการสมเสื้อที่มิดชิด ทายาป้องกันยุงกันและแมลง และนอนในเต็นท์ หรือเปลที่มีมุ้งป้องกัน และในกรณีที่ออกจากป่าแล้วมีไข้สูงหนาวสั่น ถ้าไม่แน่ใจให้รีบพบแพทย์โดยด่วน เพื่อเจาะเลือดตรวจสอบ

ป้องกันสัตว์ป่าทำร้าย

          หลายครั้งที่พวกเราต้องรอนแรมอยู่ในป่า อาจได้ยินเสียงช้างป่าร้องอยู่ใกล้ๆ หากเป็นเราท่านทั่วไป ก็มักจะคิดและนึกว่าสัตว์ป่าย่อมกลัวไฟเสมอ เลยมักจะก่อกองไฟกันไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้มันเข้ามาใกล้เรา ซึ่งโดยทั่วไปแล้วนั่นใช่ว่าสัตว์ป่ากลัวไฟ แต่ไฟที่ว่านั้นมันเป็นไฟป่าต่างหากที่พวกมันกลัว ไม่ใช่กองไฟย่อมๆที่พวกเราก่อ เพราะว่าโดยทั่วไปแล้วช้างป่า มันจะวิ่งเข้ามาหากองไฟเพื่อหาความอบอุ่นเสมอ เพราะฉะนั้นดูให้ดีเสียก่อนล่ะว่ามีสัตว์อะไรอยู่แถวนั้น หากเป็นช้างป่าก็อย่าไปจุดกองไฟเชียวเดี๋ยวจะวิ่งกันกระเจิงแล้วหาว่าไม่เตือนน่ะครับ แต่หากว่าเป็นสัตว์ป่าทั่วไป คงจะจุดไว้ได้เพื่อเป็นการป้องกัน 

ข้อแนะนำผู้หลงทางหรือ ผู้ที่แตกจากกลุ่มใหญ่

1.ควบคุมสติให้ได้ อย่ากลัว
2.ตรวจเช็คสิ่งของที่ติดตัว ว่ามีอะไรใช้ประโยชน์ได้บ้าง และวางแผนใช้อย่างคุ้มค่าที่สุด
3.เมื่อรู้ตัวว่าหลงทางให้หยุดอยู่กับที่ อย่าพยายามเดินต่อไป ให้เลือกหยุดคอยบริเวณที่ผู้ตามหามองเห็นตัวเราได้ง่าย เช่นกลางด่าน เนินเขา ทุ่งโล่ง
4.ทิ้งรอย หรือเครื่องหมายแสดงทิศทางที่จะไป หากจำเป็นต้องเดินต่อ เช่นไปหาแหล่งน้ำหรือที่พักฯลฯ
5.ส่งสัญาณขอความช่วยเหลือ เป็นระยะ ๆ (นกหวีดไง ผมพกติดตัวเวลาเข้าป่าทุกที เป็นอุปกรณ์ฉุกเฉินที่บ้านเรามองข้ามครับ)
6.มองหาที่พัก เสบียง และจัดหาหาฟืนไว้ก่อนมืด

ส่วนมากบ้านเราไม่ค่อยหลงกันไกลเท่าไรนัก ความจริงมีอีกหลายข้อ เอาแค่นี้แล้วกันครับ

สำหรับผู้ตามหา

1.เริ่มจากจุดสุดท้ายที่พบเห็นผู้หลงทาง
2.สังเกตรอยหรือเครื่องหมายของผู้หลงทางที่อาจทิ้งไว้
3.จดจำหรือขอข้อมูลบางประการของผู้หลงทางจากเพื่อนๆเช่นยี่ห้อรองเท้า แบบของพื้นรองเท้า ของใช้ส่วนตัว น้ำหนักผู้หลงทาง สิ่งขิงที่เขานำติดไปด้วย ฯลฯ ทางที่ดีเอาญาติ ๆ หรือเพื่อน ๆ เขาไปตามหาด้วย ถ้าไม่ลำบากนัก จะช่วยในการตามรอยได้รวดเร็วและเม่นยำขึ้น
4.ถ้ามีหลายคนให้แยกกันค้นหาจนพบรอยของผู้หลงทาง
5.เตรียมอุปกรณ์ปฐมพยาบาล และเสบียงเพื่อผู้หลงทางไปด้วย
6.อย่าหยุดตามหา แม้ในเวลากลางคืน ผู้หลงทางอาจกำลังรอความช่วยเหลือเร่งด่วน


FW


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์