สิ่งที่ตนมีและตนเป็น
นานมาแล้ว เทพเจ้าเรียกบรรดาสัตว์มาชุมนุมกัน
เพื่อถามถึงความพอใจในรูปร่างหน้าตาของพวกเขา
" เจ้าลิง เจ้าเป็นสัตว์ที่มีความรู้สึกไว ลองมองดูเพื่อน ๆ ของเจ้าสิ เจ้าอยากมีอะไรเหมือนเขาบ้าง ? " เทพเจ้าถาม
" ข้ารึ .. ทำไมข้าถึงจะต้องการอะไรที่แตกต่างไปจากนี้ละ?
ข้ามิได้มี 4 เท้าเหมือนสัตว์อื่นรึ - หน้าตาข้าไม่ดีเท่าสัตว์อื่นรึ? ดูพี่หมีซิ
เมื่อเทียบกับข้าแล้วเขาดูเหมือนภาพเขียนสีน้ำมันหยาบ ๆ ใครนะช่าเขียนเขาขึ้นมาได้ ? " เจ้าลิงตอบ
เจ้าหมียืนขึ้น 2 เท้า บรรดาสัตว์ต่างคิดว่า เขาคงบ่นถึงความอัปลักษณ์ของตัวเอง แต่มันกลับพูดขึ้นว่า
" ข้าคิดว่า หันไปดูเจ้าช้างดีกว่า ดูสิ หางก็น่าเกลียด หูก็ใหญ่ มันเป็นสัตว์ตัวใหญ่เทอะทะเกินไป "
" ข้าคิดว่าเจ้าปลาวาฬต่างหากที่ทั้งใหญ่ทั้งอ้วน น่าเกลียด" เจ้าช้างตอบ
ส่วนมดก็กล่าวหาว่า ตัวเหมัดมีรูปร่างผอมมากจนดูไม่ได้ ในขณะที่มันมีรูปร่างดีที่สุดในบรรดาแมลง
ในที่สุดเทพเจ้าก็รำคาญส่งสัตว์ทั้งหลายกลับเข้าป่าไปเพื่อชื่นชมโอ้อวดตัวเองและตำหนิผู้อื่น..
มนุษย์เราก็เช่นกันมิใช่หรือ
คนส่วนมากฉลาดที่จะมองข้อเสียของผู้อื่น และมักมองไม่เห็นข้อเสียของตัวเอง
และหากเขามองเห็นข้อเสียของตัวเองก็มักทำเป็นลืมไปเสียโดยเร็ว
เปรียบเสมือนกับคนที่มีกระเป๋า 2 ใบอยู่ ด้านหน้า และ ด้านหลัง
กระเป๋าหลังใส่ความผิดของตัวเองทำให้มองไม่เห็นอย่างถนัด
ส่วนกระเป๋าหน้าใส่ความผิดของผู้อื่น
ซึ่งสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน
นิทานเรื่องนี้สอนว่า ถ้าคนเราไม่สามารถที่จะพอใจในสิ่งที่ตนมีและตนเป็น เขาก็คงไม่พอใจอยู่ดี แม้ว่าโลกนี้ทั้งโลกเป็นของเขา...