ยางรถยนต์ทุกชนิดในปัจจุบันนี้ จะมีดอกยาง ยกเว้นยางรถยนต์ที่ใช้ในการแข่งขันทางเรียบและแห้ง หรือที่เรียกว่า ยางสลิ้ก (slick)
ดอกยาง คือส่วนที่อยู่บนหน้ายาง และสำผัสพื้นผิวถนนตลอดเวลาที่รถวิ่ง ร่องยาง คือร่องที่ลึกลงไปจากหน้ายาง หรือร่องที่อยู่ระหว่างดอกยาง แต่โดยทั่วไปแล้วหลายท่านมักจะเรียกกันผิดไปจากหลักความเป็นจริง คือเรียกร่องยางว่าดอกยาง เช่น เมื่อร่องยางตื้นมาก หรือใช้งานมานานจนแทบไม่มีร่องยางปรากฏให้เห็น มักจะเรียกว่าดอกยางหมด ทั้งนี้ตามหลักการที่ถูกต้องแล้ว ดอกยางก็คือ ตัวแท่งที่สำผัสพื้น และร่องยาง คือร่องที่อยู่ระหว่างแท่งนั้น
ร่องยางที่ตื้น หรือเรียกในภาษาชาวบ้านว่า ยางหัวโล้น ไม่ได้ทำให้ยางเส้นนั้นเกาะถนนแห้งในสภาพแดดจัดได้น้อยลง แต่จะทำให้รีดน้ำได้น้อยลง และลื่นบนสภาพถนนที่มีฝนตกหนักและมีน้ำท่วมขังอยู่บนผิวถนน
เพระร่องยางที่เห็นนั้น มีไว้เพื่อรีดน้ำ ให้ออกจากหน้ายาง ไม่ให้น้ำ แทรกตัวอยู่ระหว่างหน้ายาง กับพื้นถนนจนเกิดอาการลื่น
รู้จักดอกยางดีหรือยัง
หากท่านขับรถบนสภาพถนนที่มีแดดจัดและเรียบแห้ง ยางไม่มีร่องหรือยางหัวโล้น จะเกาะถนนได้ดีกว่ายางที่มีร่องมาก ๆ เพระยางมีพื้นที่สำผัสกับผิวถนนมากกว่า
แต่บนถนนเปียก และมีฝนตกหนักนั้น ยางหัวโล้นจะลื่นจนไม่สามารถบังคับทิศทางของรถได้ เพระไม่มีร่องยางช่วยรดน้ำออกจากหน้ายาง การเกาะถนนเกิดขึ้นจากหน้าสำผัสอันหมายถึงดอกยาง ไม่ไช่ร่องยางที่สำผัสพื้นถนนเลย ยิ่งยางเส้นนั้น ๆ มีร่องยางที่ถี่ หน้าสำผัสของดอกยาง กับผิวถนนก็จะยิ่งน้อยลงไป
ปัจจุบัน เทคโนโลยีในการผลิดยางในบริษัทยางทุกยี่ห้อ ต่างคิดค้นเพื่อออกแบบดอกยางในรูปแบบและวัตถุประสงค์ในการใช้งาน เพระลักษณะของดอกยางทุกประเภท ล้วนมีผลต่อพื้นที่สำผัสผิวถนน การรีดน้ำ การสลัดโคลน การตะกุย การยึดเกาะและปีนในองศาที่ปลอดภัย และเสียงรบกวนในเวลาใช้งาน
ยางรถยนต์ที่ใช้งานบนถนนที่เรียบ ดอกยางควรเป็นแบบดอกละเอียด ร่องยางไม่ห่าง เพื่อไม่ให้เสียหน้าสำผัสกับผิวถนนมากจนเกินไป
สามารถรีดน้ำออกด้านข้างได้อย่างรวดเร็ว มีพื้นที่สำผัสกับผิวถนนมาก และมีเสียงรบกวนน้อย
ส่วนยางประเภทออฟโรด ลุยโคลน หินหรือใช้งานในเส้นทางวิบาก ดอกยางควรมีบั้งใหญ่ และมีร่องยางห่าง
เพื่อเน้นการสลัดโคลน หิน หรือน้ำ หากใช้ดอกยางละเอียด เศษโคลนหรือหินกรวดอาจเข้าไปติดตามดอกและร่องยาง จนหน้ายางลื่น และถ้านำดอกยางบั้งใหญ่มาใช้งานบนทางเรียบ ร่องยางที่ห่างทำให้มีผิวสำผัสน้อยลง จึงเกาะถนนได้แย่มาก และใน้ช่วงความเร็วสูงนั้น จะมีเสียงรบกวนจากการฟาด หรือบดกับถนนจนน่ารำคาญ
ยางสำหรับเส้นทางกึ่งลุย กึ่งเรียบ ดอกยางจะผสมกันระหว่างยางถนนเรียบ และยางสำหรับลุยทางวิบาก
การใช้งานบนทางเรียบก็จะเกาะถนนไม่ได้มาก และมีเสียงรบกวนบ้าง และหากนำไปลุยหนัก ๆ ยางมักจะไม่ค่อยไหว มันจึงเหมาะสำหรับใช้งานบนเส้นทางลูกรัง หรือออฟโรดที่ยางถูกนำไปวิ่งลุยบ้างเป็นบางครั้ง
ประเภทของดอกยาง มีการแบ่งออกเป็น4 ประเภท
1 ดอกยางละเอียด (rib pattern)
มีดอกยาง และร่องยางเป็นแถวตามแนวเส้นรอบวงของยาง และมีรูแบบการเรียงตัวของร่องยาง ตามการออกแบบของบริษัทผู้ผลิด โดยทั่วไปแล้ว เน้นให้ยางใช้งานได้ดีในสภาพถนนเรียบ
2. ดอกบั้ง (lug pattern)
ดอกยางและร่องยางเป็นแนวขวาง กับเส้นรอบวงของยาง ซึ่งการออกแบบยางเช่นนี้ต้องการประสิทธ์ภาพในการตะกุย อีกทั้งร่องยางมีความลึก ทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน เหมาะสำหรับใช้งานบนถนนที่ขรุขระ และทางเรียบในความเร็วต่ำ และปานกลาง
3.ดอกแบบผสม (rib lug pattern)
เป็นการผสมจุดเด่นของยางทั้งสองแบบ โดยดอกละเอียดจะอยู่ตรงกลาง โดยมีดอกบั้งอยู่รอบนอกทั้งสองด้าน
4 ดอกแบบบบล็อก (block pattern)
ดอกยางประเภทนี้มีลักษณะเป็นจุด หรือก้อน อาจมีรูปทรงแบบวงกลม หรือเหลี่ยมก็ได้ ให้แรงตะกุยสูง เมหาะสำหรับใช้งานแบบออฟโรดทั้งลุยโคลนและทราย