“หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม” (Degenerative Disc Disease) นับเป็นอีกหนึ่งปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญ
ซึ่งสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังเรื้อรัง โดยเฉพาะกลุ่มคนที่อยู่ในวัยทำงานเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของหมอนรองกระดูกสันหลัง ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงตามวัยที่สูงขึ้น (Natural Aging Process ) หรือ การบาดเจ็บที่มีต่อหมอนรองกระดูกเอง หรือ ปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย จากสาเหตุดังกล่าวทำให้สถิติของโรคปวดหลังเรื้อรังมีเพิ่มมากขึ้นใน "ทุกอาชีพ" และ "เกือบทุกช่วงอายุ"
จากเดิมเราอาจเข้าใจว่า "ความเสื่อม" ของอวัยวะในร่างกาย มักจะเริ่มเสื่อม และหมดสมรรถภาพในการทำงานเมื่อตอนวัยชรา
แต่ด้วยปัจจัยหลาย ๆ อย่างทั้งการดำเนินชีวิต การบริโภค ในปัจจุบัน ทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมเร็วขึ้น แต่คนเรามักมองข้ามปัญหาเหล่านี้ไปและไม่ค่อยใส่ใจดูแลสุขภาพของกระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกสักเท่าไหร่ ปล่อยปละละเลยรอให้เกิดอาการปวดหลัง หรือหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมขึ้นมาก่อนแล้วค่อยหาทางรักษา จนบางครั้งอาการหนักถึงขั้นหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทเลยก็ได้
ระวังหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมก่อนวัย
ไคโรแพรดร.นิโคล ลีเดอท ไคโรแพคเตอร์ จากประเทศออสเตรเลีย คลินิกกายภาพบำบัดดีสปายน์ ไคโรแพรคติก ให้ข้อมูลว่า
หมอนรองกระดูกที่อยู่ระหว่างชิ้นกระดูกสันหลังนั้น เป็นกระดูกอ่อนที่เชื่อมและรองรับกระดูกทั้ง 24 ชิ้นของแนวกระดูกสันหลังของคน โดยหมอนรองกระดูกแต่ละชิ้นนั้นจะแนบเข้ากับชิ้นกระดูกสันหลังแต่ละชิ้นที่อยู่เหนือและอยู่ข้างใต้หมอนรองกระดูกชิ้นนั้น ๆ ทำหน้าที่คอยรับแรงกระแทกของกระดูก และช่วยทำให้การเคลื่อนไหวดีขึ้น นอกจากนั้นยังคอยทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้กระดูกเคลื่อนที่ลงมากดทับเส้นประสาทบริเวณกระดูกสันหลังอีกด้วย หมอนรองกระดูกสันหลังที่มีสุขภาพดีนั้นจะมีความยืดหยุ่นทำให้สามารถหมุนตัว หรือก้มเงยได้ แต่ถ้าหากหมอนรองกระดูกเสื่อมลงแล้วก็อาจจะทำให้การเคลื่อนไหว หรือหมุนตัวลำบากขึ้น และอาจเกิดอาการเจ็บปวดร่วมด้วย
ลักษณะของความผิดปกติ และอาการเสื่อมของหมอนรองกระดูกที่พบบ่อยที่สุดนั้น ดร.นิโคล ให้ข้อมูลว่า
ส่วนมากเป็นอาการหมอนรองกระดูกที่ไม่เป็นแนวเดียวกันกับกระดูกสันหลัง ทำให้เยื่อหมอนรองกระดูกปรับตัวเข้ากันมีรูปร่างเหมือนลิ่ม ลักษณะนี้จะเป็นการรุกล้ำหรือเบียดเนื้อเยื่อประสาทที่อยู่ติดกันบริเวณนั้น ก็อาจจะทำให้เกิดอาการเจ็บปวดได้ หรืออีกลักษณะหนึ่งก็คือหมอนรองกระดูกเกิดการนูนออกมาเนื่องจากนิวเคลียสที่อยู่ภายในหมอนรองกระดูกถูกการกดอัด ก็จะเกิดการผลักตัวของนิวเคลียสไปยังหมอนรองกระดูกส่วนที่อ่อนที่สุด ทำให้เกิดอาการผิดรูปของหมอนรองกระดูก ผู้ป่วยลักษณะนี้จะมีอาการปวดตามประสาทไซแอติก เนื่องจากการทำให้หมอนรองกระดูกผิดรูปจะส่งผลกระทบต่อเส้นประสาทใกล้เคียง กล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวจะรัดตัวเพื่อป้องกันข้อต่อไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือน จนทำให้เกิดอาการปวดหลัง
สำหรับอาการของโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท และหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมที่สามารถสังเกตได้ด้วยตนเองนั้น ดร.นิโคล อธิบายว่า
คนที่มักมีอาการปวดหลังร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างนั้น ถือว่าเป็นอาการเด่นของโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท จะปวดมากหรือปวดน้อยก็อาจจะขึ้นอยู่ว่าเกิดการกดทับมากหรือน้อยแค่ไหน ถ้าปล่อยทิ้งไว้นาน เส้นประสาทจะทำงานได้น้อยลง อาการชาและอ่อนแรงของขาซีกนั้นจะเริ่มเด่นชัดขั้น อาการทั้งหมดจะเป็นลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้น คนที่เป็นจะคุ้นเคยกับอาการและบอกรายละเอียดของอาการได้เป็นอย่างดี สำหรับอาการของหมอนรองกระดูกเสื่อม มักจะเกิดจากการใช้งานข้อต่อบริเวณต่างๆ มากเกินไป อาทิ บริเวณกระดูกส่วนคอจากการก้มๆ เงยๆ ทำกิจกรรมต่างๆ และกระดูกบั้นเอว ที่มีการบิดตลอดเวลาทุกครั้งที่มีการก้มเงย หรือคลื่อนไหว ทำให้มีอาการปวดบริเวณหลัง สะโพก หรือคอ บางครั้งมีร้าวลงไปที่ก้นและต้นขา
"อาการนี้พบได้ในผู้มีอายุตั้งแต่ 40 - 50 ปี โดยผู้ชายมีโอกาสเป็นโรคดังกล่าวได้เร็วกว่าผู้หญิง เนื่องจากลักษณะการทำงานอาจต้องใช้แรงมาก แต่ในปัจจุบันพบว่าผู้ที่อาการหมอนรองกระดูกเสื่อมนั้นเริ่มเป็นตั้งแต่เด็ก วัยรุ่น และวัยทำงานแล้ว อย่างไรก็ตาม โรคกลุ่มนี้แม้พบไม่บ่อย แต่ผู้ป่วยมักจะไม่หายขาด ในรายที่มีอาการมาก เป็นเรื้อรังอาจต้องทำการผ่าตัดหรือเปลี่ยนหมอนรองกระดูกเทียม"
ในการรักษาอาการหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท และหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมนั้นนอกจากการใช้วิธีการผ่าตัดแล้ว
ดร.นิโคล กล่าวว่ายังสามารถใช้ทางเลือกใหม่ในการรักษาโดยไม่ต้องใช้ยา ก็คือการรักษาโดยวิธีของ ไคโรแพรคติก โดยการแก้ไขส่วนต่าง ๆ ของกระดูกสันหลังที่แทรกแซงต่อการควบคุมระบบประสาทอันถูกต้องของร่างกาย เพราะหมอนรองระหว่างชิ้นของกระดูกสันหลังนั้น อยู่ใกล้กับไขสันหลังและรากประสาท ซึ่งการรักษาแบบไคโรแพรคติกจะเข้าไปปรับและช่วยทำให้การเคลื่อนไหวเป็นไปอย่างเหมาะสมดังเดิม และจัดวางให้ชิ้นกระดูกที่ทำงานผิดปกตินั้นกลับเป็นดังเดิม ช่วยลดการมีส่วนเกี่ยวพันของระบบประสาท ซึ่งหากสามารถตรวจพบได้ก่อนที่ความเสียหายถาวรจะเกิดขึ้น เนื้อเยื่อหมอนรองกระดูกก็มักจะกลับคืนสู่ขนาดและรูปร่างที่เป็นปกติยิ่งขึ้น
ดร.นิโคล กล่าวว่า ปัญหาหมอนรองกระดูกหลายๆประการนั้น เป็นผลมาจากการปล่อยปละละเลยที่ยาวนานนับหลายปี
โดยที่หลาย ๆ ปัญหาที่เกี่ยวกับกระดูกสันหลังนั้น จะไม่ปรากฏอาการจนกว่าจะถึงระยะของการเสื่อมถอยในขั้นที่รุนแรง มีผู้ป่วยสูงอายุหลายๆรายที่บำรุงรักษากระดูกสันหลังของตนไว้ได้จนตลอดอายุขัย ทำให้ยังคงมีความสุขกับสุขภาพและการทำงานของกระดูกสันหลังที่ยอดเยี่ยมได้
ดังนั้นควรที่จะหันมาให้ความสนใจในเรื่องของการดูแลกระดูกสันหลัง และหมอนรองกระดูกสันหลังตั้งแต่เนิ่นๆ หากปล่อยไว้รอให้เกิดอาการปวดขึ้นมาก็ อาจจะทำให้ส่งผลกระทบต่อการทำงาน และการดำเนินชีวิตประจำวันได้