ขนมจีนถือเป็นอาหารคาวที่มีแทบจะทุกภาคของประเทศไทยเรา ประกอบไปด้วยเส้นขนมจีน และน้ำยา ที่มีหลายชนิดแล้วแต่จะนิยม
ไม่ว่าจะเป็นน้ำยาป่า น้ำยากะทิ น้ำยาเขียวหวาน น้ำเงี้ยว น้ำพริก ซาวน้ำและน้ำยาหวาน ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นต่างก็มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป
ทางเหนือเรียกขนมจีนว่า "ขนมเส้น"
ทางอิสานเรียกขนมจีนว่า "ข้าวปุ้น"
แต่ทั้งหมดทั้งมวลนั้นต่างก็เข้าใจตรงกันว่ามันคือ ขนมจีน ซึ่งด้วยชื่อของมันที่ว่า "ขนมจีน" นั้นอาจจะทำให้หลาย ๆ คนเกิดสงสัยขึ้นมาว่า ขนมจีนนั้นถือเป็นอาหารคาว แล้วทำไมถึงได้เรียว่า "ขนม"ล่ะ ซึ่งเรื่องนี้นั้นมีที่มา ....
สันนิษฐานกันว่าน่าจะมาจากมอญซึ่งเรียกขนมจีนว่า "คนอมจิน"
หมายถึง "สุก 2 ครั้ง" พิศาล บุญปลูก ชาวไทยเชื้อสายรามัญผู้สนใจศึกษาอาหารและวัฒนธรรมมอญกล่าวว่า "จริง ๆ แล้ว ขนมจีนเป็นอาหารของคนมอญหรือรามัญ คนมอญเรียกขนมจีนว่า คนอมจิน คนอม หมายความว่าจับกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน จินแปลว่าทำให้สุก"
นอกจากนี้ "คนอม" นั้นสันนิษฐานว่าน่าจะใกล้เคียงกับคำไทย "เข้าหนม"
แปลว่าข้าวที่นำมานวดให้เป็นแป้งเสียก่อน ซึ่งภายหลังกร่อนเป็น "ขนม" จริง ๆ แล้ว ขนม ในความหมายดั้งเดิมจึงมิใช่ของหวานอย่างที่เข้าใจในปัจจุบัน ขนม หรือ หนม ในภาษาเขมร หรือ คนอม ในภาษามอญหมายถึงอาหารที่ทำจากแป้ง
ดังนั้นขนมจีน จึงน่าจะเพี้ยนมาจาก คนอมจิน ซึ่งทำให้เกิดสมมุติฐานตามมาอีกว่า ดั้งเดิมทีเดียวขนมจีนเป็นอาหารมอญ แล้วจึงแพร่หลายไปสู่ชนชาติอื่น ๆ ในสุวรรณภูมิตั้งแต่โบราณกาล จนเป็นอาหารที่ทำงานและมีความนิยมสูง สามารถหาทานได้ทั่วไป
และนี่ก็คือที่มาของคำว่า "ขนมจีน" คราวหน้าถ้าจะสั่งขนมจีนก็คงจะไม่ต้องสงสัยกันแล้วนะจ๊ะว่าทำไม อาหารคาวถึงเรียกว่า "ขนม" !!~
ไม่ใช่ขนม แต่ทำไมเรียกขนมจีนล่ะ ?!?
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!