เด็กกลายเป็นผู้ร้าย ปัจจัยและอิทธิพล

โจนาธาน เคลเลอร์แมน กล่าวว่า


"เด็กและวัยรุ่นที่เป็นฆาตกร หรือเป็นไซโคพาธ (psychopath) จะมาจากครอบครัวที่พ่อและหรือแม่เป็นไซโคพาธ

หรือมีแม่ที่เป็นโรคซึมเศร้า ทำให้ขาดการดูแลลูกที่ดีและไม่สามารถสร้างสัมพันธ์ที่ดีได้ อันเป็นเหตุให้เด็กไม่สามารถเกิดมาเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

ส่วนหนึ่งในเด็กเหล่านี้มาจากครอบครัวที่ดี

สังคมดี เป็นคนที่มีฐานะปานกลางถึงระดับสูง ให้ความดูแลลูกพร้อมทั้งปรนเปรอให้วัตถุลูกมากมาย แต่ขาดการอบรมฝึกวินัย

ถ้าเด็กทำผิดการลงโทษใช้วาจาอย่างเดียวหรือเพิกเฉยไม่สนใจและไม่เคยลงมือปฏับัติจัดการเอาจริงกับลูก เด็กก็จะเป็นคนที่ถูกตามใจจนเสียนิสัย"

เด็กกลายเป็นผู้ร้าย ปัจจัยและอิทธิพล


คำกล่าวข้างต้นค่อนข้างชัดเจนอย่างที่สุดที่บอกได้ว่า


ลูกของคุณจะเติบโตขึ้นมาเป็นคนดีหรือเปล่า หรือสร้างความเดือดร้อนให้กับตนเอง ครอบครัว หรือสังคมหรือไม่ คงไม่มีใครกำหนดได้ไปมากกว่าครอบครัวของคนๆ นั้น

การโยนความผิดไปให้เด็กอย่างเดียวคงเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องนัก

เพราะในความเป็นจริงการหล่อหลอมจิตใจเด็กให้เติบโตขึ้นมาเป็นคนดีหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย แต่ปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือครอบครัว

น.พ.กัมปนาท ตันสิถบุตรกุล จิตแพทย์ สถาบันราชนครินทร์ กล่าวถึงสถานการณ์การก่อคดีในเด็กและเยาวชนว่า


เด็กในปัจจุบันมีความอดทนอดกลั้นค่อนข้างน้อยมาก รวมถึงมีความก้าวร้าวที่สูงขึ้นเรื่อยๆ และมีความกล้าในการแสดงออกทางเพศมากขึ้น รวมถึงความเกรงกลัวและละอายต่อบาปลดลงไปไม่แพ้กัน

เรื่องราวแบบนี้มีให้เห็นตามสื่อแทบทุกวัน

และคดีที่เกิดขึ้นมักเริ่มต้นจากความผิดเล็กๆ น้อยๆ จนถึงขั้นรุนแรงขนาดที่สามารถก่อคดีอาชญากรรมฆ่าคนตายได้ ปัญหาเหล่านี้นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ

และความรุนแรงเหล่านี้ก็สามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานได้อีกไม่มีวันจบสิ้น

เด็กกลายเป็นผู้ร้าย ปัจจัยและอิทธิพล


มีคำกล่าวของท่านพุทธทาสว่า


"ถ้าเลี้ยงลูกแล้วไม่ฝึกฝนอบรม ก็คือการเลี้ยงดูลิงดีๆ นี่เอง เด็กจะต้องอยู่ในกรอบ ถึงเวลาที่มีการคะนองบ้างเล็กๆ น้อยๆ ก็เป็นธรรมดา แต่เมื่อถึงเวลาต้องสงบก็ต้องรักษาไว้ให้ได้เสมอ"

ในช่วงเวลา 20-30 ปีที่ผ่านมา

มีการศึกษาวิจัยมากขึ้นในด้านพัฒนาการทางด้านจิตใจ อันมาจากพัฒนาการด้านความเจริญของสมองและร่างกาย ตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์มารดา จนกระทั่งคลอดและเลี้ยงดูให้เติบใหญ่

ซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนคุณภาพของการเลี้ยงดูได้เป็นอย่างดี

เด็กกลายเป็นผู้ร้าย ปัจจัยและอิทธิพล


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาทางด้านจิตใจ ได้แก่


1.ปัจจัยด้านชีวภาพ พันธุกรรม

เป็นสิ่งที่ติดตัวเรามาตั้งแต่เกิด รวมถึงพื้นฐานอารมณ์ก็เช่นเดียวกัน ซึ่งจะพัฒนาตามลำดับโดยจะเป็นตัวควบคุมการแสดงออกทางพฤติกรรม สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวที่ตอบสนองกันระหว่างสารเคมีในสมองและปฏิกิริยาระหว่างผู้เลี้ยงดู

ซึ่งจะส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็กนั่นเอง

นอกจากนี้ความเจ็บป่วยทางด้านจิตเวชในเด็ก ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญอันหนึ่งที่ไม่ควรเพิกเฉย เนื่องจากจะทำให้เด็กมีปัญหาทางพฤติกรรมในระยะยาวได้เช่นกัน

2.ปัจจัยทางด้านสังคมและสภาพแวดล้อม


โดยทั่วไปพฤติกรรมของเด็กต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมที่อยู่ภายนอกครอบครัวเด็กด้วย ถ้าสังคมมีปัญหามากก็จะมีผลกระทบต่อการอบรมเลี้ยงดูของบิดามารดาที่นำมาซึ่งปัญหาได้

เช่น ปัจจัยทางการเมือง เศรษฐกิจ ภูมิศาสตร์ ชนชั้นทางสังคม ค่านิยมและวัฒนธรรม

เด็กกลายเป็นผู้ร้าย ปัจจัยและอิทธิพล


3.ปัจจัยทางครอบครัวและวิธีอบรมดูแลเด็ก


เดิมเราเคยสนใจเฉพาะการเลี้ยงดูโดยมารดาอย่างเดียว แต่ในความเป็นจริงแล้วการเลี้ยงดูโดยบิดาก็เป็นส่วนที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน นอกจากนี้ผู้เลี้ยงดูเด็กก็มีส่วนสำคัญด้วยเช่นกัน

บุคลิกภาพของคนทั้งหมดดังกล่าว

ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญในการที่เด็กจะเรียนรู้ประสบการณ์ที่ได้รับมา รวมถึงการกระตุ้นและการตอบสนองต่อพฤติกรรมต่างๆ ที่มีต่อกันด้วย

จากการศึกษาพบว่า บิดามารดาที่เป็นอาชญากรจะมีความบกพร่องในการเลี้ยงดูเด็ก อันส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านจิตใจ

เด็กกลายเป็นผู้ร้าย ปัจจัยและอิทธิพล


น.พ.กัมปนาทกล่าวถึงแนวทางป้องกันปัญหาคือ


1.การป้องกันแก้ไขที่ตัวเด็ก

ให้เป็นคนดีและมีความคิดสร้างสรรค์ โดยการฝึกเด็กให้เห็นคุณค่าของตัวเอง สร้างเป้าหมายในชีวิตและสร้างทักษะในการเผชิญปัญหา มีการช่วยเหลือในกลุ่มเพื่อน รวมถึงการฝึกวินัยในตัวเอง

ฝึกวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาและการวางแผนแก้ปัญหาในทางที่เหมาะสมโดยมีผู้ใหญ่ที่เป็นแบบอย่างที่ดีคอยแนะนำ


2.การป้องกันแก้ไขที่ครอบครัว


ครอบครัวต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กโดยให้ความรู้ ความเข้าใจในการเลี้ยงดูที่ถูกต้อง การให้คำปรึกษาแก่ครอบครัวและการแนะนำเรื่องความสม่ำเสมอในการควบคุมดูแลหรือการลงโทษที่เหมาะสมของพ่อแม่

รวมถึงการรู้จักให้รางวัลเชิงบวกเมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่เหมาะสมหรือทำความดี และมีการสื่อสารกันอย่างสม่ำเสมอในครอบครัวด้วย

เด็กกลายเป็นผู้ร้าย ปัจจัยและอิทธิพล


3.การป้องกันแก้ไขในโรงเรียน


โดยการทำให้โรงเรียนน่าอยู่ มีครูที่มีทักษะในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก โดยการพัฒนาครูให้มีเจตคติที่ดีในวิชาชีพและการอบรมสั่งสอนนักเรียน รวมถึงการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมสติปัญญาและความรู้แก่นักเรียนและการรู้จักประสานงานกับผู้ปกครองในการปลูกฝังจริยธรรมแก่เด็ก

4.การแก้ไขปรับปรุงสิ่งแวดล้อม


ภาครัฐควรมีบทบาทสำคัญในการไม่ให้มีแหล่งมั่วสุม ใช้มาตรการทางกฎหมายควบคุมสิ่งยั่วยุ รวมทั้งส่งเสริมให้สื่อมวลชนสร้างค่านิยมและส่งเสริมความรู้ที่เกิดประโยชน์แก่เด็กและเยาวชน

เพื่อให้เด็กที่กำลังจะเติบโตเป็นพลังที่สำคัญของชาติเดินไปในวิถีที่ถูกต้อง

สอดคล้องเหมาะสมกับวัยและพัฒนาการที่ควรจะเป็น ผู้ใหญ่ทุกๆ คนควรจะร่วมมือกันดูแล คุ้มครองและปกป้องเด็กๆ ดังพระราชดำรัสของในหลวงที่ว่า

เด็กกลายเป็นผู้ร้าย ปัจจัยและอิทธิพล


เด็กเป็นผู้ที่ได้รับช่วงทุกสิ่งทุกอย่างต่อจากผู้ใหญ่


"รวมทั้งภาระรับผิดชอบในการธำรงรักษาความสงบสุขของบ้านเมือง ดังนั้นทุกคนจึงสมควรและจำเป็นที่ต้องได้รับการอบรมอย่างถูกต้องเหมาะสม ให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์ประโยชน์ต่างๆ

ทั้งการฝึกหัด ขัดเกลาชีวิตจิตใจให้ประณีต

ให้มีศรัทธามั่นคงในคุณงามความดี มีความประพฤติเรียบร้อย มีปัญญาฉลาดแจ่มใส มีเหตุมีผล หน้าที่นี้เป็นของทุกคนที่จะต้องร่วมมือกระทำพร้อมเพรียงโดยสม่ำเสมอ"

สนับสนุนข้อคิดนานาสาระโดย: หนังสือพิมพ์ข่าวสด


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์