มะเร็งปากมดลูก

ภาพประกอบจาก Internetภาพประกอบจาก Internet


มะเร็งปากมดลูกเกิดขึ้นได้อย่างไร

ไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด แต่พบว่าเหตุส่งเสริมที่ทำให้เกิด
- มีการร่วมเพศตั้งแต่อายุยังน้อย

- การมีบุตรมาก หรือมีบุตรน้อยกว่า 20ปี

- ติดเชื้อโรค กามโรค หรือโรคทางอวัยวะสีบพันธุ์บ่อยครั้ง

- ไม่รักษาความสะอาดอวัยวะสีบพันธุ์

- มีการอักเสบ หรือระคายเคืองบริเวณปากมดลูกอยู่เป็นประจำ

- มีการฉีกขาดบริเวณปากมดลูก จากการคลอด บุตรมาก

มะเร็งปากมดลูกมีอาการอย่างไรบ้าง

ในระยะแรกเริ่มที่เป็น อาจไม่มีอาการอะไรเลย หรืออาจมีอาการเหล่านี้

- มีตกขาวมากกว่าปกติ หรือออกบ่อย ตกขาวจะมีสีเหลืองปนเขียวหรือมีเลือดปน และมีกลิ่นเหม็น

- มีเลือดออกกระปริดกระปรอย

- มีเลือดออกขณะร่วมเพศ หรือหลังการร่วมเพศ

- มีเลือดออกทางช่องคลอด ขณะที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือนแล้ว

- มีอาการอ่อนเพลีย ซีด น้ำหนักตัวลด


ภาพประกอบจาก Internetภาพประกอบจาก Internet


การป้องกันมะเร็งปากมดลูก

- การรักษาความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์เป็นประจำ ไม่สำส่อนทางเพศ

- มีเพศสัมพันธุ์เมื่ออายุ 20 ปี ไปแล้ว

- มีบุตรไม่เกิน 2 คน

- คลอดบุตรกับแพทย์ พยาบาล หรือเจ้าหน้าที่อนามัย

- เมื่อมีอาการผิดปกติ เช่น มีตกขาวออกมากกว่าปกติ หรือมีเลือดออกทางช่องคลอด ซึ่งไม่ใช่เลือดประจำเดือน ควรปรึกษาแพทย์

- สตรีที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจภายใน เพื่อหาเชื้อมะเร็งปากมดลูกระยะแรกเริ่ม ปีละครั้ง ในสตรีอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจภายในปีละ 2 ครั้ง
 

วิธีตรวจหามะเร็งปากมดลูก

          เป็นการตรวจที่ง่าย สะดวกไม่ยุ่งยาก ใช้เวลาประมาณ 10 นาที เชื่อผลได้ประมาณ 90% ตรวจโดยใช้เครื่องมือขยายช่องคลอด แล้วป้ายเอาเนื้อเยื่อที่บริเวณปากมดลูก รวมทั้งตกขาวในช่องคลอด แล้วนำไปย้อมสี ส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ จะรู้ผลภายใน 2 อาทิตย์

ผลดีของการตรวจมะเร็งปากมดลูก

          นอกจากจะทำให้การรักษาได้ผลดีแล้ว ยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการลุกลาม ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ง่าย การตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มแรกมีประโยชน์มากเพราะไม่มีวิธีอื่นอีกแล้ว ที่จะทราบได้ อีกด้วย


ภาพประกอบจาก Internetภาพประกอบจาก Internet


วิธีการรักษา

1. การผ่าตัด ถ้ามะเร็งอยู่เฉพาะปากมดลูกอาจจะตัดแค่บริเวณปากมดลูก แต่ถ้ามะเร็งแพร่กระจายมากแพทย์อาจจะตัดมดลูก ท่อรังไข่ รังไข่ รวมทั้งต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง
2. การให้รังสีรักษาทำได้ 2 วิธี
- โดยการให้รังสีรักษาจากเครื่องแพทย์จะให้รังสีเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง 5วัน/สัปดาห์เป็นเวลา 5-6 สัปดาห์
- โดยการฝังแร่อาบรังสีบริเวณปากมดลูกฝังแต่ละครั้งนาน 1-3 วันต้องอยู่โรงพยาบาลใช้เวลารักษา 1-2 สัปดาห์
3. การให้เคมีบำบัด โดยการให้เคมีเข้าในเลือดเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง
4. การสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อให้ภูมิคุ้มกันทำลายมะเร็ง ยาที่ใช้บ่อยคือ interferon

ผลข้างเคียงของการรักษา

1. การผ่าตัด หลังการผ่าตัดมักจะมีอาการปวด เลือดออก ถ้าต้องตัดมดลูกผู้ป่วยอาจจะปัสสาวะและอุจาระลำบากต้องคาสายสวนปัสสาวะไว้ระยะหนึ่ง ผู้ป่วยควรพักระยะหนึ่งเพื่อให้แผลหาย จะมีเพศสัมพันธ์หลังผ่า 4-8 สัปดาห์ ผู้ป่วยที่ตัดมดลูกยังคงมีอารมณ์ทางเพศปกติแต่อาจมีปัญหาทางจิตใจกังวลว่าไม่สามารถมีบุตรได้คู่ครองควรที่จะช่วยกันปลอบใจและให้กำลังใจ
2. การให้รังสีรักษา ระหว่างการให้รังสีรักษาผู้ป่วยจะเพลีย ไม่มีแรง เบื่ออาหาร ผมร่วง ผิวบริเวณที่สัมผัสรังสีจะมีสีน้ำตาล ห้ามทาโลชั่น อาการต่างๆจะหายไปหลังหยุดการรักษา การร่วมเพศอาจจะลำบากเนื่องจากช่องคลอดจะแคบและแห้งต้องใช้ครีมหล่อลื่นช่วย นอกจากนี้อาจมีปัญหาเรื่องปัสสาวะและถ่ายเหลว
3. การให้เคมีบำบัด จะฆ่าเซลล์ที่แบ่งตัวเร็ว
- ซีด เม็ดเลือดขาวต่ำ เกร็ดเลือดต่ำทำให้เหนื่อยง่าย ติดเชื้อง่าย และเลือดออกง่าย
- ผมร่วง
- เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน 
- เป็นหมัน
4. การสร้างภูมิคุ้มกัน ผลข้างเคียงมีไม่มาก มีอาการคล้ายไข้หวัด ปวดตามตัว คลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วง



ขอบคุณข้อมูลจาก siamhealth.net และ school.net

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์