ปวดศีรษะจากความเครียด มีอาการอย่างไร
ปวดศีรษะจากความเครียด เป็นภาวะที่พบได้บ่อยมาก ประมาณ 80%-90% ของผู้ที่มีอาการปวดศีรษะ พบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อาจมีสาเหตุได้หลายอย่าง เช่น ทำงานหนัก ใช้สมองมาก กังวลใจ นอนไม่พอ ทำให้มีการปวดตึงของกล้ามเนื้อตรงต้นคอและรอบ ๆ ศีรษะ
อาการ
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตื้อ ๆ หนัก ๆ ตรงบริเวณต้นคอ (ท้ายทอย) หรือปวดรอบศีรษะคล้ายถูกเข็มขัดรัด บางคนอาจปวดตื้อไปทั่วศีรษะ ส่วนมากมักจะปวดตอนบ่าย ๆ หรือเย็น ๆ
มักไม่ปวดหลังตื่นนอนตอนเช้า และถ้าได้นอนพักสักครู่อาจทุเลาไปได้เอง อาการมักเป็นอยู่เพียงไม่กี่ชั่วโมง แต่บางคนอาจปวดเป็นวัน ๆ ก็ได้ ผู้ป่วยจะมีอาการภายหลังจากได้
คร่ำเคร่งกับการงานมาก หรือขณะที่มีเรื่องคิดมาก กังวลใจ หรือนอนไม่หลับ อาการปวดมักเป็นรุนแรง และโดยมากจะไม่มีอาการอื่น ๆ เช่น ตาพร่ามัว คลื่นไส้ อาเจียน เป็นไข้ เป็นหวัด เป็นต้น ร่วมด้วย
การรักษา
1. ควรบอกให้ผู้ป่วยนอนหลับพักผ่อนสักพักหนึ่ง หรือนวดต้นคอและขมับ (ด้วยมือหรือทานวดด้วยยาหม่อง) หากไม่ดีขึ้นให้ยาแก้ปวด เช่น แอสไพริน หรือ พาราเซตามอลครั้งละ 1-2 เม็ด ร่วมกับยากล่อมประสาท เช่น ไดอะซีแพม ขนาด 2 มิลลิกรัม ครั้งละ 1-2
เม็ด ให้ซ้ำได้ทุก 4-6 ชั่วโมง ถ้ามีอาการนอนไม่หลับตอนกลางคืน ควรให้ไดอะซีแพม
ขนาด 5 มิลลิกรัม 1-2 เม็ด กินก่อนนอน ในนรายที่มีเรื่องกังวลใจ ก็ให้การดูแลรักษาแบบ
เดียวกับโรคกังวล
2. ถ้าปวดรุนแรง ปวดติดต่อกันนานเกิน 24 ชั่วโมง ปวดถี่หรือปวดแรงขึ้นทุกวันปวดมากตอนดึกหรือเช้ามืด จนทำให้สะดุ้งตื่น เป็น ๆ หาย ๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ แน่ชัดนานเกิน 2 สัปดาห์ หรือสงสัยว่าอาจมีสาเหตุร้ายแรง ควรส่งโรงพยาบาลเพื่อตรวจหาสาเหตุให้แน่ชัด ถ้าเป็นโรคปวดศีรษะจากความเครียดเรื้อรัง อาจเกิดจากอาการซึมเศร้า(ท้อแท้เบื่อหน่าย และตื่นกลางดึกแล้วนอนไม่หลับ) ควรให้ยาแก้ซึมเศร้า ได้แก่ อะมิทริปทีลีน (Amitripty line) 25 มก. กินก่อนนอน อาจช่วยให้ดีขึ้นได้
อาการ
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตื้อ ๆ หนัก ๆ ตรงบริเวณต้นคอ (ท้ายทอย) หรือปวดรอบศีรษะคล้ายถูกเข็มขัดรัด บางคนอาจปวดตื้อไปทั่วศีรษะ ส่วนมากมักจะปวดตอนบ่าย ๆ หรือเย็น ๆ
มักไม่ปวดหลังตื่นนอนตอนเช้า และถ้าได้นอนพักสักครู่อาจทุเลาไปได้เอง อาการมักเป็นอยู่เพียงไม่กี่ชั่วโมง แต่บางคนอาจปวดเป็นวัน ๆ ก็ได้ ผู้ป่วยจะมีอาการภายหลังจากได้
คร่ำเคร่งกับการงานมาก หรือขณะที่มีเรื่องคิดมาก กังวลใจ หรือนอนไม่หลับ อาการปวดมักเป็นรุนแรง และโดยมากจะไม่มีอาการอื่น ๆ เช่น ตาพร่ามัว คลื่นไส้ อาเจียน เป็นไข้ เป็นหวัด เป็นต้น ร่วมด้วย
การรักษา
1. ควรบอกให้ผู้ป่วยนอนหลับพักผ่อนสักพักหนึ่ง หรือนวดต้นคอและขมับ (ด้วยมือหรือทานวดด้วยยาหม่อง) หากไม่ดีขึ้นให้ยาแก้ปวด เช่น แอสไพริน หรือ พาราเซตามอลครั้งละ 1-2 เม็ด ร่วมกับยากล่อมประสาท เช่น ไดอะซีแพม ขนาด 2 มิลลิกรัม ครั้งละ 1-2
เม็ด ให้ซ้ำได้ทุก 4-6 ชั่วโมง ถ้ามีอาการนอนไม่หลับตอนกลางคืน ควรให้ไดอะซีแพม
ขนาด 5 มิลลิกรัม 1-2 เม็ด กินก่อนนอน ในนรายที่มีเรื่องกังวลใจ ก็ให้การดูแลรักษาแบบ
เดียวกับโรคกังวล
2. ถ้าปวดรุนแรง ปวดติดต่อกันนานเกิน 24 ชั่วโมง ปวดถี่หรือปวดแรงขึ้นทุกวันปวดมากตอนดึกหรือเช้ามืด จนทำให้สะดุ้งตื่น เป็น ๆ หาย ๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ แน่ชัดนานเกิน 2 สัปดาห์ หรือสงสัยว่าอาจมีสาเหตุร้ายแรง ควรส่งโรงพยาบาลเพื่อตรวจหาสาเหตุให้แน่ชัด ถ้าเป็นโรคปวดศีรษะจากความเครียดเรื้อรัง อาจเกิดจากอาการซึมเศร้า(ท้อแท้เบื่อหน่าย และตื่นกลางดึกแล้วนอนไม่หลับ) ควรให้ยาแก้ซึมเศร้า ได้แก่ อะมิทริปทีลีน (Amitripty line) 25 มก. กินก่อนนอน อาจช่วยให้ดีขึ้นได้
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!