′เชอร์รี่′ หยุดโรคข้อต่ออักเสบ
อาการปวดบวมถึงขั้นอักเสบตามข้อมือข้อเท้า หรือข้อต่อต่างๆ ในร่างกาย อาจเป็นอาการของโรคข้อต่ออักเสบ (Arthritis) หรือโรคปวดข้อรูมาตอยด์ (Rhuematoid Arthritis) ซึ่งเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 4-5 เท่า และพบมากในช่วงอายุ 20-50 ปี โดยจะมีการอักเสบเรื้อรังของเยื่อบุข้อเกือบทุกแห่งทั่วร่างกายพร้อมๆ กัน ร่วมกับมีการอักเสบของพังผืดหุ้มข้อ เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อ
สาเหตุของโรค ทางการแพทย์เชื่อว่าเป็นผลมาจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีการตอบสนองอย่างผิดปกติต่อเชื้อโรค หรือสารเคมีบางอย่าง (ซึ่งในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน) ทำให้มีการสร้างแอนติบอดีที่มีปฏิกิริยาต่อเนื้อเยื่อในบริเวณข้อของตัวเอง เรียกว่าปฏิกิริยาภูมิต้านตนเอง หรือออโตอิมมูน (autoimmune)
ในปัจจุบันมีวิธีการเยียวยารักษา ทั้งยาทา ยากิน การผ่าตัด และการกายภาพบำบัด แต่สำหรับผู้ที่ต้องการป้องกันมากกว่าแก้ไข ผลทดสอบในห้องปฏิบัติการจากมหาวิทยาลัยแห่งมลรัฐมิชิแกน หรือ MSU และเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ www.arthritis- treatment-and-relief.com ระบุว่า สารสีแดงในผลเชอร์รี่ หรือที่เรียกว่า แอนโธไซยานิน นั้นมีสรรพคุณช่วยลดอาการอักเสบของข้อต่อได้มากกว่ายาแก้ปวดแอสไพรินถึง 10 เท่า อีกทั้งยังไม่ก่อผลข้างเคียงให้กับผู้ใช้ เหมือนกับที่ผู้ใช้แอสไพรินบางรายเคยพบเจอ
มีคำแนะนำว่า หากดื่มน้ำคั้นจากผลเชอร์รี่สด อย่างน้อยวันละ 1 แก้ว ติดต่อกัน 4 วัน และหยุดอีก 4 วัน และกลับมาดื่มใหม่ ติดต่อกันอีก 4-5 วัน จะทำให้ผู้เคยมีอาการปวดตามข้อต่อต่างๆ มีอาการดีขึ้น ส่วนปริมาณการบริโภคที่เหมาะสม มาราลิดฮาราน เนียร์ หัวหน้านักวิจัยโครงการ เชอร์รี่ MSU ระบุว่า ผลเชอร์รี่ 20 ลูก ให้ปริมาณแอนโธไซยานิน 25 มิลลิกรัม เพียงพอสำหรับหยุดการทำงานของเอ็นไซม์ที่ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุข้อ และป้องกันการเจ็บปวดต่างๆ ได้
นอกจากนี้ นักวิจัยยังแนะนำให้รับประทานผลเชอร์รี่สด ซึ่งจะให้ผลดีกว่าผลเชอร์รี่ที่ผ่านกระบวนการแปรรูปอาหารต่างๆ แล้วรักษาเนื้อรักษาตัวก่อนบิน สำหรับผู้มีเหตุต้องใช้บริการเครื่องบินในการเดินทาง โดยเฉพาะการเดินทางระยะไกลข้ามเส้นแบ่งเวลา ต้องเตรียมตัวให้พร้อม เว็บไซต์ www.familydoctor.org แนะนำการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ที่ต้องเดินทางไกลโดยเครื่องบินไว้ว่า ก่อนเดินทางต้องจัดเตรียมยาส่วนตัวไว้ใน กระเป๋าถือขึ้นเครื่องให้พร้อม และต้องปรึกษาแพทย์ให้แน่ใจว่า ควรทานยาในปริมาณเท่าใด หากต้องเปลี่ยนเวลากินและเวลานอน และเนื่องจากอากาศบนเครื่องบินแห้งมาก ดังนั้นควรงดดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกาเฟอีน และสารที่จะทำให้เกิดอาการขาดน้ำด้วย
นอกจากนี้ สำหรับผู้ผ่านการดำน้ำลึก ยิ่งต้องระวัง เพราะมีคำแนะนำทางการแพทย์ระบุว่าอันตรายมาก หากขึ้นเครื่องบินทันที หลังจากดำน้ำมา ดังนั้น ผู้ดำน้ำต้องรอเวลาประมาณ 12-24 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายปรับตัวก่อน จึงจะโดยสารเครื่องบินได้