เตือนภัยจาก “ตะเกียบไม้”

เดี๋ยวนี้เวลาหิวทีไร มองไปตามสองข้างทาง เรามักเห็นร้านขายก๋วยเตี๋ยวปรากฏเป็นระยะ ๆ การฝากท้องไว้กับร้านก๋วยเตี๋ยวจึงเป็นอะไรที่ง่ายดายมาก ๆ แต่ช้าก่อน...อย่าเพิ่งนึกถึงแต่ความสะดวกสบายเพียงอย่างเดียว เพราะเบื้องหลังชามก๋วยเตี๋ยวที่แสนอร่อย นั้น เราอาจนึกไม่ถึงว่ามันจะมีพิษภัยซ่อนเร้นเอาไว้ โดยที่ไม่ทันได้ฉุกใจคิดสักนิดเดียว...





พิษภัยที่แฝงมากับตะเกียบ
          อุปกรณ์หนึ่งในการกินก๋วยเตี๋ยวที่จะขาดเสียไม่ได้เลยก็คือ “ตะเกียบ” โดยส่วนใหญ่ที่ผลิตออกมาขาย หรือใช้กันอยู่ทุกวันนี้ทำจากวัสดุหลัก 2 ชนิด ได้แก่

          1. พลาสติก เป็นการนำเอาพลาสติกมาทำให้มีรูปร่างลักษณะเหมือนกับตะเกียบไม้ มีหลายสี ทั้งสีอ่อนคล้ายงาช้าง สีชมพู จนถึงสีแดง ตะเกียบพลาสติกที่มีสีไม่เหมาะที่จะใช้กับอาหารที่ร้อนมาก ๆ หรืออาหารที่เป็นกรด เพราะทำให้สีและองค์ประกอบของพลาสติกเสื่อมจนละลายออกปะปนกับอาหาร

          2. ไม้ที่นิยมนำมาใช้ทำตะเกียบคือ ไม้ไผ่และไม้โมกข์ เนื่องจากมีสีขาว เนื้อละเอียด ไม่ทำให้อาหารมี สี กลิ่น รส ผิดเพี้ยนไป ส่วนใหญ่ไม่นิยมเคลือบหรือทาสีใด ๆ อย่างไรก็ตาม มีผู้ผลิตบางรายที่เคลือบตะเกียบด้วยสีน้ำมัน เช่น สีแดงสลับดำ จึงไม่เหมาะที่จะใช้คีบอาหารที่ยังร้อนอยู่ อาหารที่มีน้ำมันมาก รวมถึงอาหารที่เป็นกรด เพราะสีที่เคลือบไว้จะละลายลงไปในอาหาร ซึ่งสีที่ใช้เคลือบนี้มีสารโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว เจือปนอยู่ เมื่อใช้ไปนาน ๆ สีจะหลุดร่อนกะเทาะออกมาปนอยู่ในอาหารเข้าสู่ร่างกายของเรา จนเกิดการสะสมในร่างกายปริมาณมาก


          นอกจากนั้นแล้วผู้ประกอบการร้านอาหาร ส่วนใหญ่ยังนิยมใช้ “ตะเกียบอนามัย” ชนิดใช้แล้วทิ้ง ฟังชื่อแล้วทำให้มั่นใจว่าจะได้ตะเกียบที่สะอาด ปลอดภัย แต่แท้จริงแล้วตะเกียบชนิดนี้เป็นที่สะสมของสารเคมีอันตรายหลายชนิด โดยเฉพาะ “สารฟอกขาว” ซึ่งเป็นชนิดเดียวกับที่ใช้แช่ถั่วงอก ที่มีสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์เป็นส่วนประกอบ เมื่อสารชนิดนี้ถูกน้ำร้อนหรือของที่มีอุณหภูมิสูงจะเปลี่ยนเป็นสารซัลฟูริก ชนิดเดียวกับที่ใช้ในแบตเตอรี่รถยนต์ เมื่อเราใช้ตะเกียบที่มีสารฟอกขาว ในอาหารที่ร้อนจัด เช่น สุกี้ หม้อไฟ หมูกระทะ เป็นต้น จะทำให้สารดังกล่าวละลายออกมาจากตะเกียบปะปนในอาหาร

          ในรายที่แพ้ง่ายหรือเป็นโรคหอบหืดจะมีอาการแสดงทันทีที่ได้รับสารนี้เข้าไป ส่วนในคนที่ร่างกายแข็งแรงจะยังไม่แสดงอาการ แต่จะค่อย ๆ สะสมในร่างกาย ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำลง จึงมีโอกาสเกิดโรคต่าง ๆ ได้ง่ายกว่าปกติ เพราะร่างกายไม่มีภูมิต้านทาน หากได้รับสารสะสมนานเข้าอาจกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็ง


ตะเกียบใช้แล้วทิ้งกว่าจะถึงมือผู้บริโภค

          เรารู้หรือไม่ว่า ตะเกียบไม้ใช้แล้วทิ้งที่แสนจะสะดวกสบายนั้น มีกรรมวิธีการผลิตรวมถึงการขนส่ง  ที่ค่อนข้างสุ่มเสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัย เริ่มตั้งแต่วิธี   การผลิตตะเกียบไม้จากท่อนไม้เล็ก ๆ ให้เป็นตะเกียบ แล้วผ่านการฟอกขาวด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์หรือ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เมื่อตากให้แห้งแล้วจึงทำการขนส่งทางเรือข้ามน้ำ ข้ามทะเล (ในกรณีที่ผลิตจากต่างประเทศ) ไปส่งยังผู้ค้า ในระหว่างนี้ตะเกียบที่เก็บ ไว้อาจโดนทั้งหนูและแมลงสาบแทะ เมื่อถึงมือผู้ค้าแล้วจะนำมาห่อใหม่โดยไม่ได้ฆ่าเชื้อ เราจึงมีโอกาสได้รับทั้งเชื้อโรคและสารตกค้างที่ติดอยู่ในรูพรุนของเนื้อไม้ ไปจนถึงเวลาใช้ ทำให้สุ่มเสี่ยงต่อการท้องเสียและหอบหืด

เพื่อความปลอดภัยเมื่อต้องใช้ตะเกียบ

          วิธีการที่ช่วยให้เราเลี่ยงจากพิษภัยของสารเคมีในตะเกียบ เมื่อต้องใช้ตะเกียบกินของร้อน ๆ สามารถป้องกันได้ด้วยการนำตะเกียบไปแช่ในน้ำร้อนก่อนประมาณ 3-4 นาที แล้วเทน้ำทิ้งไป จึงค่อยนำตะเกียบ มาใช้ แต่ในความเป็นจริงการแช่ตะเกียบตามร้านอาหาร หรือร้านก๋วยเตี๋ยวข้างทางค่อนข้างยุ่งยาก และคนขาย ไม่อยากทำให้ ทางที่ดีคือ เราอาจนำตะเกียบส่วนตัวไป ใช้เอง หรือทำความสะอาดตะเกียบให้เรียบร้อยก่อนนำมาใช้ จะได้ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ


ข้อมูลน่ารู้

          • นักเรียนในญี่ปุ่นทดลองนำน้ำที่แช่ตะเกียบ 7 วัน และมีกลิ่นเหม็นมาเพาะถั่วเขียว ผลปรากฏว่า ถั่วเขียวโตช้ากว่าปกติ และหยุดโตเมื่อต้นสูงได้ประมาณ 5-6 เซนติเมตร และตายลงในที่สุด
          • จากการทดสอบควันที่ได้จากการเผาตะเกียบพบว่ามีฤทธิ์เป็นกรด
          • เฉพาะในไต้หวัน แต่ละปีมีการใช้ตะเกียบ กว่า 1,000 ล้านคู่ นั่นหมายความว่า ต้นไม้ 29 ล้านต้น ต้องถูกตัดโค่นลง
          • เมื่อรวมปริมาณการใช้ตะเกียบทั่วทั้งโลก ต้นไม้กี่ล้านต้นที่จะถูกตัดโค่นลงเพื่อนำมาทำตะเกียบ ?


ที่มา วิชาการ.คอม

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์