เตือนภัย คนใช้คอมพิวเตอร์นานๆ

เตือนภัย คนใช้คอมพิวเตอร์นานๆ



       โรค Carpal Tunnel Syndrome (CTS) ซึ่งเกิดขึ้นกับผู้ใช้ที่ข้อมือ หรือการใช้งานข้อมือท่าเดิมๆ ทำให้เกิด พังผืดตรงบริเวณช่องเส้นเอ็น (ตรงข้อมือของคนเราจะมีเส้นเอ็นยึดข้อต่อกระดูกและกล้ามเนื้อรวมทั้งเส้นประสาท วิ่งผ่าน) จะสังเกตได้ง่ายมากสำหรับคนที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์ทุกคน จะเป็นพังผืดบริเวณข้อมือ เนื่องจากการใช้เมาส์โดยใช้ข้อมือเป็นจุดหมุน หรือแม้แต่กดคีย์บอร์ด


       CTS เกิดจากการที่เส้นประสาทวิ่งผ่านท่อนแขนจากข้อศอกไปยังข้อมือ ได้รับแรงกดซ้ำแล้วซ้ำเล่า หรือเกิดจากพังผืดซึ่งคนเรา มีเป็นปกติที่บริเวณอุโมงค์ข้อมือหนาตัวขึ้น จนไปกดทับเส้นประสาทมีเดียน (median nerve) ซึ่งเป็นเส้นประสาทที่ลอดใต้พังผืด นี้ผ่านเข้าไปในอุโมงค์ข้อมือ พบได้ในคนที่ต้องใช้มือหรือข้อมือมากๆในชีวิตประจำวัน ในคนที่มีโรคประจำตัวที่มีผลต่อปลายประสาท เช่น เบาหวาน โรคข้ออักเสบ ในหญิงตั้งครรภ์ระยะใกล้คลอด รวมไปถึงผู้ที่ใช้งานมือและข้อมือติดต่อกันเป็นเวลานานๆ แม้จะเป็นงานเบาๆอย่างเช่นการถักนิตติ้ง ก็เสี่ยงต่อการเกิด CTS ได้ และแน่นอน นักท่องเน็ตหรือผู้ที่ทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา ก็พบว่าเป้นกันมากขึ้นเรื่อยๆ กระทั้งเสียวและชาไปทั้งมือ และมันมักจะเป็นตอนนอนหลับกลางคืน ก่อนจะ รุนแรงถึงขั้นปวดร้าวไปทั้งแขน ส่วนอาการอื่นที่อาจจะเกิดขึ้นกับอีกหลายคนก็คือ มืออ่อนแรงและกล้ามเนื้อหัวแม่มือลีบ เล็กลงเรื่อยๆ

การรักษาเมื่อเป็น CTS
มีทั้งแบบให้ยาและผ่าตัด ถ้าเพิ่งเริ่มเป็น แค่อาจจะกินยาแก้ปวดแล้วก็พักข้อมือ หยุดการเคลื่อนไหว อาการก็อาจทุเลาและหายไปได้เอง แต่ถ้าเริ่มปวดมาก ให้กินแอสไพรินหรือไอบูโพรเฟน และแพทย์อาจให้สวมอุปกรณ์ประคองมือเพื่อลดการเคลื่อนไหวของข้อมือ หรือฉีด corticosteroids เข้าอุโมงค์ข้อมือเพื่อลดการอักเสบโดยตรง ส่วนในรายที่เป็นมานานกว่า 6 เดือน อาจจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อรักษาเท่านั้น


เตือนภัย คนใช้คอมพิวเตอร์นานๆ


เตือนภัย คนใช้คอมพิวเตอร์นานๆ


เตือนภัย คนใช้คอมพิวเตอร์นานๆ



คำแนะนำในการป้องกัน
ขณะใช้คอมพิวเตอร์ ควรผ่อนคลายอิริยาบททุกๆ 15-20 นาทีด้วยการบริหารมือและข้อมือ

ท่าบริหารที่1ท่าบริหารที่1


ท่าบริหารที่2ท่าบริหารที่2


ท่าบริหารที่3ท่าบริหารที่3


ท่าบริหารที่4ท่าบริหารที่4


ท่าบริหารที่5ท่าบริหารที่5


ท่าบริหารที่6ท่าบริหารที่6



วางคอมพิวเตอร์ให้ห่างจากตัวพอดีกับแขน จับเม้าท์และคีย์บอร์ดได้สบาย ๆ ไม่เหยียดหรืองอข้อมือขณะพิมพ์คีย์บอร์ด
 

 

ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก ladytip


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์