การเข้าถึงของวัฒนธรรม
วันนี้ได้มีโอกาสไอ้ไปดูโขนมาครับ ไม่ใช่โขนธรรมดา แต่เป็นโขนที่เล่นคนเดียวครับ ไม่ใช้ชุดโขนด้วย ชื่อการแสดง "I am a demon" (ผมเป็นยักษ์) โดยคุณพิเชษฐ กลั่นชื่น น่าชื่นชมมากครับที่ยังมีคนอนุรักษ์วัฒน์ธรรมไทยอยู่ เค้าได้กล่าวตอนหลังจากแสดงจบว่า อยากทำให้โขนเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประวันของคนไทยให้ได้ การที่โขนจะคงอยู่คู่กับคนไทยได้ตลอดไปต้องมีการขับเคลื่อนตลอดเวลา(ตามความเข้าใจของผมคือ การที่มีโขนเรื่องใหม่ ๆ ออกมาบ้างครับ เพื่อไม่ให้จำเจกับแบบเดิม) ซื่งเป็นเรื่องที่ดีมาก ๆ ที่มีแนวคิดอย่างนี้ครับ น่าชื่นชม แต่มีอยู่คำพูดหนึ่งว่า การกลืนกินชาติในปัจจุบันไม่ใช่การใช้กำลังรบกันแต่เป็นการกลืนกินทางวัฒนธรรม ซึ่งผลที่ตามมาทำให้ไม่เหลือความเป็นชาติอยู่เลย (ในวันนี้มีการประกวดอะไรสักอย่างอยู่ฝั่งมาบุญครองด้วยเป็นการประกวดเกี่ยวกับการเต้นประกอบเพลงเกาหลี่) ทำให้ผมฉุดคิดขึ้นมาได้ว่า เมื่อหลายปีก่อน น่าจะสมัยผมอยู่ม.ปลายผมมีโอกาสได้ทำเครื่องประดับไทย แต่ก่อนที่ผมจะได้ลงมือทำก็ต้องมีการครอบครูก่อนครับ นี้คือประเด็นครับ ไม่ว่าจะดนตรีไทย ทำเครื่องประดับไทย การแสดงโขน ไม่สามารถทำเล่น ๆ ได้ ไม่สามารถทำเพื่อความบันเทิงส่วนตัวได้เพราะมีการกล่าวอ้างว่ามีครูอยู่ ต้องให้ความเคารพเท่านั้น เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เข้าถึงได้ยาก เมื่อเข้าถึงได้ยาก ก็ไม่มีใครอยากเข้าหา (เหมือนกันกับคนที่ไม่เปิดใจยอมรับนั้นแหละครับไม่ว่าเราจะทำอย่างไรก็ไม่มีทางทำให้เค้ายอมรับได้) เมื่อไม่มีคนอยากเข้าหา ก็ทำให้ความนิยมน้อยลงไปด้วยครับ นั้นก็คือ ดนตรีไทยนั้นเอง ก่อนจะเล่น ก่อนจะเรียน ต้องมีพิธีมากมาย เราไม่สามารถหัดเล่นเองได้ครับ ถ้ามีผู้พบเห็นก็จะบอกว่าไม่เหมาะสม อย่างนี้จะเป็นที่นิยมได้อย่างไร ตอนที่ผมหัดเล่นกีต้าร์ ไม่ให้มีใครว่าต้องไปครอบครูเลยครับ (ตอนผมหัดเป่าขลุ่ยมีคนตำหนิผมเรื่องนี้) ผิดถูกอย่างไรลองแสดงความคิดเห็นดูนะครับ
Love illusion ความรักลวงตา เพลงที่เข้ากับสังคมonline
Love illusion Version 2คนฟังเยอะ จนต้องมี Version2กันทีเดียว
Smiling to your birthday เพลงเพราะๆ ไว้ส่งอวยพรวันเกิด หรือร้องแทน happybirthday