
ทำไม นิทาน จึงชอบขึ้นต้นด้วย กาลครั้งหนึ่ง ณ...

"กาลครั้งหนึ่ง ณ กรุงพาราณสี..."
"ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ในเมืองตักกสิลา..."
เวลาที่บอกนั้น ไม่เจาะจงว่านานมาแล้วเพียงใดหรืออยู่ในสมัยใด เพียงแต่บอกให้รู้ว่าเป็นเรื่องที่เกิดไกลตัว ไม่ใช่เรื่องที่ผู้ฟังหรือแม้แต่ผู้เล่ามีโอกาสได้ประสบมาเอง
ในนิทานตะวันตกใช้คำว่า "Once upon a time..."
ในนิทานอินเดียใช้คำว่า "กทาจิตฺ" ซึ่งมีความหมายเดียวกัน
นิทานชาดกก็ใช้ฉากบอกเวลาที่ไม่เจาะจง เช่น "อตีเต กาเล..." (ในเวลาอดีต) แม้ในอรรถกถาจะแบ่งให้เจาะจงลงไปว่าเป็นเรื่องดั้งเดิมในกาลไกล (ทูเรนิทาน)
เรื่องดั้งเดิมในกาลไม่ไกล (อวิทูเรนิทาน) หรือเรื่องระหว่างพุทธกาล (สันติเกนิทาน) ก็ยังนับว่าทุกเรื่อง "ไกล" จากยุคสมัยของผู้เล่าและผู้ฟังนิทานอยู่ดี
ขอบคุณเนื้อหาจาก..ศาสตราจารย์ ดร.กุสุมา รักษมณี (ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร)
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
Love Attack เทศกาลความรักแบบนี้ บอกอ้อมๆให้เขารู้กัน
Chocolate Dreams สาวชั่งฝันและช็อคโกแลต กับหนุ่มหล่อ ไม่แน่คุณอาจจะได้เจอแบบนี้ก็ได้
Love You Like Crazy เพลงเพราะๆ ที่ถ้าส่งให้คนที่เรารัก โลกนี้ก็สีชมพูกันทีเดียว