ป้องกันปวดข้อเข่าให้หลีกเลี่ยงสามท่านั่งอันตราย
ปวดข้อเข่าเป็นโรคที่พบบ่อยในบ้านเราโดยเฉพาะสตรีเพศที่อายุเกิน 40 ปีขึ้นไป ด้วยวิถีชีวิตการทำมาหากินด้านเกษตร กรรม ทำไร่ ทำนา ทำสวน ต้องลุกนั่ง-ยืนกันอยู่ตลอด ทำให้ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักและทำงานด้วยการเคลื่อนไหวเกินขีดจำกัดอยู่เสมอ ลงท้ายทำให้มีการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนในข้อเข่าลุกลามไปจนถึงกระดูกทำให้มีอาการปวดเกิดขึ้น
ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักตัวทั้งหมด คนที่มีน้ำหนักมากยิ่งต้องรับแรง กดมาก ถ้าเกิดปวดใช้งานไม่ได้ขึ้นมาปัญหาจะเกิดทันที เพราะในชีวิตประจำวันต้องใช้ข้อเข่ามาก ใช้กันตลอดเวลาที่ร่างกายเคลื่อนไหว
สาเหตุข้อเข่าปวด ความเสื่อม อายุมากขึ้นมักเกิน 40 ปี น้ำหนักตัวมาก ยืน นั่งงอเข่านาน ๆ ขาโก่งออกนอกหรือเข้าใน กล้ามเนื้อรอบข้ออ่อนแรง เช่น จากบาดเจ็บ เข่าอักเสบจากโรคต่าง ๆ เช่น เกาต์ รูมาตอยด์ ฯลฯ
อาการที่เกิดขึ้น จะปวดรอบเข่า นั่งแล้วลุกขึ้นลำบาก ปวดร้อนรอบเข่า ปวดมากเวลาเดินไปจนถึงอยู่เฉย ๆ ก็ปวด ทำให้ทรมานไม่สบายใจ ทำงานได้ไม่สะดวก
ผมมาคุยเรื่องปวดข้อเข่าวันนี้ เนื่องด้วยได้ไปพบคนไข้ส่วนใหญ่เป็นสตรีวัยกลางคนจนถึงสูงอายุไปรอรับการตรวจรักษาเรื่องปวดข้อเข่ากันมากที่โรงเรียนวังประจบ อ.เมือง จ.ตาก เมื่อ 17 พ.ย. 52 ด้วยคณะ วปอ. รุ่น 27 ประธาน คุณสวาสดิ์ ปุ้ยพันธวงศ์ และประธานมูลนิธิแสง-ไซ้กี เหตระกูล คุณประพีร์ ปุ้ยพันธวงศ์ ร่วมกับอีกหลายองค์กรนำหน่วยแพทย์เคลื่อนที่มาบริการประชาชนที่นี่
คุณสามารถ ลอยฟ้า ผวจ.ตาก ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิด งานนี้ทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเป็นแม่งานใหญ่ ดูแลทุกอย่างตั้งแต่กำลังเจ้าหน้าที่ การจัดสถานที่ไปจนถึงหาเครื่องอุปกรณ์ต่าง ๆ น้ำ-ไฟ-อาหารการกิน พร้อมด้วยการสนับสนุนอย่างดีตั้งแต่ท่านผู้ว่าการ กฟภ. อดิศร เกียรติโชควิวัฒน์ และ ผู้บริหารระดับสูงที่มาร่วมในงาน ชวน ศิลปสุวรรณ, พนม ทิพย์สุทะ, ช.ฐิติธร เพ็ชญไพศิษฎ์, เอกศิษฐ์ พิมพ์ธีรภักดี และ อภิสิทธิ์ ทองปัสโนว์ ผู้ประสานงานเยี่ยม รวมทั้ง ผอ. โรงเรียนวังประจบ ศักดา โพร้งพนม ให้คณะครูนักเรียนมาช่วยบริการด้วย ที่สำคัญเจ้าของพื้นที่ทางสาธารณสุข สสจ.ตากและคณะ และ รพ. ตากฯ ทั้งกำลังคนและเวชภัณฑ์มาช่วยพร้อม
คณะแพทย์พยาบาลจากหลายองค์กรได้มาช่วยตรวจรักษาคนไข้ ทั้งตรวจโรคทั่วไปและตรวจโรคเฉพาะทาง เริ่มงานตั้งแต่เช้าบางหน่วยอยู่ถึงค่ำ คนไข้มามาก นอกจาก จ.ตาก เจ้าของพื้นที่แล้วยังมาจาก จ.สุโขทัย และ จ.กำแพง เพชร ด้วย คนไข้เกิน 3,000 คน เจ้าหน้าที่ทุกคนแม้จะเหนื่อยแต่ดูหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสดี ถือว่าได้มาทำบุญกุศลร่วมกัน
ขอย้อนกลับมาเรื่องปวดข้อเข่าใหม่ นพ.วิชัย วนดุรงค์วรรณ ผช.รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ, เจ้าของโรงพยาบาลศรีวิชัย ได้นำแพทย์ทางกระดูก นพ.พงษ์ศักดิ์ วัฒนา และคณะมาตรวจคนไข้กระดูก ส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นเรื่องปวดเข่า ปวดหลังมาก ผมไปดูการแนะนำของคุณหมอ ดูแล้วเห็นว่าคงจะเป็นประโยชน์บ้าง จึงขอมาถ่ายทอดให้ฟัง
ทีมของคุณหมอเรื่องปวดข้อเข่ามีทั้งดูดน้ำออกจากข้อ ฉีดยาเข้าข้อ ให้การแนะนำทางกายภาพบำบัดต่อ และอีกทีมให้คำแนะนำ เรื่องกายภาพบำบัดแล้วให้ยาไปกินเมื่อมีอาการปวด สิ่งแรกที่คุณหมอบอกกล่าวไว้ก่อนคือ โรคนี้เป็นโรคของความเสื่อม เกิดพยาธิสภาพเสื่อมสลายของกระดูกในข้อเข่า อันดับแรกต้อง อย่าคิด อย่าหวัง อย่าห่วงว่าโรคนี้จะหาย โรคไม่หาย การรักษาเป็นเพียงเพื่อประคับประคองไม่ให้เป็นมากขึ้น ให้เรื่องปวดลดลง เพื่อทำงานได้ อาจกลับเป็นอีกถ้ารักษาตัวไม่ ดีพอ
ท่านั่งต้องห้าม นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิหรือนั่งยอง ๆ ให้หลีกเลี่ยง เพราะจะทำให้เข่าตึง กล้ามเนื้อรอบเข่าตึงตัวไปด้วย หากทำนาน ๆ นั่งนาน ๆ คนที่ยังไม่เคยปวดอาจเสี่ยงให้ปวดเร็วขึ้น คนที่ปวดอยู่จะปวดและเสื่อมมากขึ้น รวมไปถึงการงอเข่า ชันเข่า การขึ้นที่สูง ขึ้นบันไดบ่อย ๆ ยืนหรือเดินนาน ๆ หรือวิ่ง เข่าต้องรับแรงกระแทกมากขึ้นไปด้วย ต้องหลีกเลี่ยงเช่นกัน
การนั่งส้วม ควรใช้แบบส้วมนั่ง แบบเดิมสมัยเก่านั่งยอง ๆ เข่าจะตึงมากทำให้ปวดมากขึ้น หากยังมีส้วมแบบนั่ง ยอง ๆ อยู่อาจแก้ไขโดยเจาะรูกลางบนเก้าอี้นั่ง แล้ววางสวมลงไปแทนได้
สรุปการป้องกันและการแก้ไขให้เรื่องความเสื่อมของเข่าจะช่วยให้เข่าไม่ปวดเร็วขึ้น ด้วยการระวังไม่ให้เข่าตึงเกินไป อาการปวดจะลดลง ด้วยการหลีกเลี่ยงท่านั่งที่ทำให้เข่าตึงมาเปลี่ยนเป็นนั่งเก้าอี้แทนเสีย เป็นการถนอมข้อเข่าให้มีอายุการใช้งานได้ยาวนานขึ้น
ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักตัวทั้งหมด คนที่มีน้ำหนักมากยิ่งต้องรับแรง กดมาก ถ้าเกิดปวดใช้งานไม่ได้ขึ้นมาปัญหาจะเกิดทันที เพราะในชีวิตประจำวันต้องใช้ข้อเข่ามาก ใช้กันตลอดเวลาที่ร่างกายเคลื่อนไหว
สาเหตุข้อเข่าปวด ความเสื่อม อายุมากขึ้นมักเกิน 40 ปี น้ำหนักตัวมาก ยืน นั่งงอเข่านาน ๆ ขาโก่งออกนอกหรือเข้าใน กล้ามเนื้อรอบข้ออ่อนแรง เช่น จากบาดเจ็บ เข่าอักเสบจากโรคต่าง ๆ เช่น เกาต์ รูมาตอยด์ ฯลฯ
อาการที่เกิดขึ้น จะปวดรอบเข่า นั่งแล้วลุกขึ้นลำบาก ปวดร้อนรอบเข่า ปวดมากเวลาเดินไปจนถึงอยู่เฉย ๆ ก็ปวด ทำให้ทรมานไม่สบายใจ ทำงานได้ไม่สะดวก
ผมมาคุยเรื่องปวดข้อเข่าวันนี้ เนื่องด้วยได้ไปพบคนไข้ส่วนใหญ่เป็นสตรีวัยกลางคนจนถึงสูงอายุไปรอรับการตรวจรักษาเรื่องปวดข้อเข่ากันมากที่โรงเรียนวังประจบ อ.เมือง จ.ตาก เมื่อ 17 พ.ย. 52 ด้วยคณะ วปอ. รุ่น 27 ประธาน คุณสวาสดิ์ ปุ้ยพันธวงศ์ และประธานมูลนิธิแสง-ไซ้กี เหตระกูล คุณประพีร์ ปุ้ยพันธวงศ์ ร่วมกับอีกหลายองค์กรนำหน่วยแพทย์เคลื่อนที่มาบริการประชาชนที่นี่
คุณสามารถ ลอยฟ้า ผวจ.ตาก ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิด งานนี้ทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเป็นแม่งานใหญ่ ดูแลทุกอย่างตั้งแต่กำลังเจ้าหน้าที่ การจัดสถานที่ไปจนถึงหาเครื่องอุปกรณ์ต่าง ๆ น้ำ-ไฟ-อาหารการกิน พร้อมด้วยการสนับสนุนอย่างดีตั้งแต่ท่านผู้ว่าการ กฟภ. อดิศร เกียรติโชควิวัฒน์ และ ผู้บริหารระดับสูงที่มาร่วมในงาน ชวน ศิลปสุวรรณ, พนม ทิพย์สุทะ, ช.ฐิติธร เพ็ชญไพศิษฎ์, เอกศิษฐ์ พิมพ์ธีรภักดี และ อภิสิทธิ์ ทองปัสโนว์ ผู้ประสานงานเยี่ยม รวมทั้ง ผอ. โรงเรียนวังประจบ ศักดา โพร้งพนม ให้คณะครูนักเรียนมาช่วยบริการด้วย ที่สำคัญเจ้าของพื้นที่ทางสาธารณสุข สสจ.ตากและคณะ และ รพ. ตากฯ ทั้งกำลังคนและเวชภัณฑ์มาช่วยพร้อม
คณะแพทย์พยาบาลจากหลายองค์กรได้มาช่วยตรวจรักษาคนไข้ ทั้งตรวจโรคทั่วไปและตรวจโรคเฉพาะทาง เริ่มงานตั้งแต่เช้าบางหน่วยอยู่ถึงค่ำ คนไข้มามาก นอกจาก จ.ตาก เจ้าของพื้นที่แล้วยังมาจาก จ.สุโขทัย และ จ.กำแพง เพชร ด้วย คนไข้เกิน 3,000 คน เจ้าหน้าที่ทุกคนแม้จะเหนื่อยแต่ดูหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสดี ถือว่าได้มาทำบุญกุศลร่วมกัน
ขอย้อนกลับมาเรื่องปวดข้อเข่าใหม่ นพ.วิชัย วนดุรงค์วรรณ ผช.รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ, เจ้าของโรงพยาบาลศรีวิชัย ได้นำแพทย์ทางกระดูก นพ.พงษ์ศักดิ์ วัฒนา และคณะมาตรวจคนไข้กระดูก ส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นเรื่องปวดเข่า ปวดหลังมาก ผมไปดูการแนะนำของคุณหมอ ดูแล้วเห็นว่าคงจะเป็นประโยชน์บ้าง จึงขอมาถ่ายทอดให้ฟัง
ทีมของคุณหมอเรื่องปวดข้อเข่ามีทั้งดูดน้ำออกจากข้อ ฉีดยาเข้าข้อ ให้การแนะนำทางกายภาพบำบัดต่อ และอีกทีมให้คำแนะนำ เรื่องกายภาพบำบัดแล้วให้ยาไปกินเมื่อมีอาการปวด สิ่งแรกที่คุณหมอบอกกล่าวไว้ก่อนคือ โรคนี้เป็นโรคของความเสื่อม เกิดพยาธิสภาพเสื่อมสลายของกระดูกในข้อเข่า อันดับแรกต้อง อย่าคิด อย่าหวัง อย่าห่วงว่าโรคนี้จะหาย โรคไม่หาย การรักษาเป็นเพียงเพื่อประคับประคองไม่ให้เป็นมากขึ้น ให้เรื่องปวดลดลง เพื่อทำงานได้ อาจกลับเป็นอีกถ้ารักษาตัวไม่ ดีพอ
ท่านั่งต้องห้าม นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิหรือนั่งยอง ๆ ให้หลีกเลี่ยง เพราะจะทำให้เข่าตึง กล้ามเนื้อรอบเข่าตึงตัวไปด้วย หากทำนาน ๆ นั่งนาน ๆ คนที่ยังไม่เคยปวดอาจเสี่ยงให้ปวดเร็วขึ้น คนที่ปวดอยู่จะปวดและเสื่อมมากขึ้น รวมไปถึงการงอเข่า ชันเข่า การขึ้นที่สูง ขึ้นบันไดบ่อย ๆ ยืนหรือเดินนาน ๆ หรือวิ่ง เข่าต้องรับแรงกระแทกมากขึ้นไปด้วย ต้องหลีกเลี่ยงเช่นกัน
การนั่งส้วม ควรใช้แบบส้วมนั่ง แบบเดิมสมัยเก่านั่งยอง ๆ เข่าจะตึงมากทำให้ปวดมากขึ้น หากยังมีส้วมแบบนั่ง ยอง ๆ อยู่อาจแก้ไขโดยเจาะรูกลางบนเก้าอี้นั่ง แล้ววางสวมลงไปแทนได้
สรุปการป้องกันและการแก้ไขให้เรื่องความเสื่อมของเข่าจะช่วยให้เข่าไม่ปวดเร็วขึ้น ด้วยการระวังไม่ให้เข่าตึงเกินไป อาการปวดจะลดลง ด้วยการหลีกเลี่ยงท่านั่งที่ทำให้เข่าตึงมาเปลี่ยนเป็นนั่งเก้าอี้แทนเสีย เป็นการถนอมข้อเข่าให้มีอายุการใช้งานได้ยาวนานขึ้น