กินอย่างไร ได้ทั้งอิ่มและคุณค่า
อาการหิว นั้นไม่ได้เป็นอาการที่บ่งบอกว่าร่างการของเราต้องการสารอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือเมื่อร่างกายคนเราขาดสารอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง ความหิวก็ไม่ใช่เป็นตัวกำหนด แต่ว่าความหิวนั้นเกิดจากร่างกายทำการหลั่งน้ำย่อยเพื่อกระตุ้นให้เกิด ความรู้สึกหิว เมื่อถึงเวลากินหรือบางทีก็เหมือนกับจะมีเสียงท้องร้องอีกด้วย
ซึ่งเป็นที่แน่นอนอยู่แล้วว่า เมื่อเราหิวเราก็จะต้องหาอาหารกินให้อิ่ม แต่การที่เรากินอาหารจนอิ่มแล้วนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าร่างกายของเราจะได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน เนื่องจากอาหารนั้น ๆ ที่เรากินไปอาจจะไม่มีสารอาหารที่ครบถ้วนก็ได้ ดังนั้นการเลือกกินอาหารจะต้องเลือกอาหารที่มีสารอาหารให้ครบถ้วนด้วย
ตัวอย่าง ในเด็กอายุต่ำกว่า 4 เดือน ความเป็นจริงควรกินนมแม่เพียงอย่างเดียวไม่ให้กินอาหารอื่นใดเลย แม้กระทั่งน้ำ แต่มีแม่ไทยจำนวนมากที่ป้อนกล้วยครูดและข้าวบดให้ลูกิน บางเวลาป้้อนตั้งแต่คลอดออกมาไม่ถึง 10 วัน กล้วยกับข้าวบดทำให้เด็กอิ่มท้องได้ แต่ร่างกายเด็กจะได้สารอาหารไม่พอเพียง ครบถ้วน เพราะข้าวและกล้วยเป็นอาหารประเภทแป้ง มีโปรตีน และสารอาหารอื่นต่ำมากเมื่อเทียบกับน้ำนมแม่ จึงทำให้เด็กขาดสารอาหาร เจริญเติบโตช้า
ใน ผู้ใหญ่ก็เช่นเดียวกัน เมื่อเกิดหิวขึ้นมาแล้ว ตั้งหน้าตั้งตากินข้าวมากกว่าการกินกับข้าวหรือกินกับข้าวที่ด้อยคุณค่า เช่น กินเฉพาะข้าวกับผัดผักบุ้งไฟแดงไม่ใส่หมู กินจนกระทั่งอิ่มท้องอิ่มได้ด้วยความรู้สึก แต่รับรองได้ว่าร่างกายได้รับสารอาหารประเภทโปรตีนไม่เพียงพอ หรือกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 2 ซอง โดยไม่เติมผักหรือเนื้อสัตว์เลย ทำให้เราอิ่มท้องได้แน่นอน แต่ร่างกายหรือท้องไม่ได้มีอาการแสดงออกมาให้เรารู้ว่าร่างกายยังไม่อิ่มสารอาหาร การกินอาหารแบบนี้เป็นประจำจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคขาดสารอาหาร ร่างกายอ่อนแอและเจ็บป่วยบ่อย ในเมื่อความรู้สึกของคนเราบอกได้เฉพาะความอิ่มอาหาร แต่ไม่ได้บอกว่าอิ่มสารอาหาร แต่เราก็สามารถที่จะทำให้ร่างกายของเราได้รับสารอาหารอย่างพอเพียงไปพร้อมกับความอิ่มอาหารได้โดยการใส่ใจต่อการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ทุกมื้อที่เรากินอาหารอิ่มท้องแต่ร่างกายต้องไม่พร่องสารอาหาร โดยการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ทุกมื้อ
ที่มา : กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข