การนอนหลับ ที่ถูกต้อง
เป็นที่รู้กันทุกคนอยู่แล้วนะครับว่า การนอนหลับ นั้นเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุดสำหรับร่างกาย แต่ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนส่วนมากนอนไม่ค่อยหลับก็คือความเครียด ที่ยิ่งทุกวันนี้มีปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียดเพิ่มมากขึ้นทุกวันไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเศรษฐกิจ มลพิษจากสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น รถติด เรื่องการบ้านการเมือง เป็นต้น ดังนั้นทางที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาการนอนไม่หลับก็คือ แก้ปัญหาจากภาวะความเครียดต่าง ๆ ที่เราต้องพบเจอสถาบันวิจัยสุขภาพแห่ง USA ได้ทำการแบ่งระดับความรุนแรงของอาการนอนไม่หลับเป็น 3 ระดับคือ
- นอนไม่หลับชั่วคราว คือ การนอนไม่หลับที่เป็นอยู่ในระยะสั้น ๆ มักไม่เกิน 1 สัปดาห์ เกิดจากความเครียด วิตกกังวล ในแต่ละวัน รวมไปถึงการได้รับสารกระตุ้นการทำงานของร่างกายไม่ว่าจะเป็น คาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา รวมไปถึงเครื่องดื่มชูกำลัง
- นอนไม่หลับระยะสั้น หมายถึง การนอนไม่หลับเป็นระยะเวลา 1-3 สัปดาห์ อาจจะเกิดจากความเจ็บป่วยเรื้อรัง เนื่องจากว่าการเจ็บป่วยบางชนิดนั้นก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบการนอนได้ เช่น โรคหัวใจ การไอเรื้อรัง ไทรอยด์ ปัญหาต่อมลูกหมาก ติดยา เป็นต้น
- นอนไม่หลับระยะยาว หมายถึงการนอนไม่หลับ เป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์ขึ้นไป เนื่องจากเป็นการนอนไม่หลับเรื้อรัง สาเหตุมักเกิดจากโรคประจำตัวต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคทางระบบประสาทและจิตเวช เช่น โรคสมองเสื่อม ภาวะซึมเศร้า เป็นต้น
สร้างเสริมนิสัยการนอนที่ดี เพื่อช่วยลดภาวะการนอนไม่หลับ
- ควรเข้านอนและตื่นนอนให้เป็นเวลา สม่ำเสมอ ไม่ว่าคืนก่อนจะนอนหลับหรือไม่ก็ตาม
- จำกัดระยะเวลานอนให้เหมาะสม และเพียงพอ โดยทั่วไปวัยรุ่นต้องการเวลานอน 11 ชม. วัยทำงาน 8 ชม. และผู้สูงอายุ 6 ชม. ต่อวัน
- การจัดห้องนอนและบรรยากาศในห้องนอนให้เหมาะสม ก็จะช่วยได้มาก เช่น อากาศในห้องไม่ร้อน อับ อบอ้าว หรือหนาวเกินไป ที่นอนไม่นุ่มหรือไม่แข็งเกินไป หมอนหนุนไม่สูงมากไม่ต่ำมาก ไม่มีเสียงดังรบกวน ยกเว้นเสียงพัดลมหรือแอร์ซึ่งเป็นเสียงที่สม่ำเสมอ ไม่รบกวนการนอนหลับ และห้องนอนไม่ควรสว่างเกินไป ท่านอนที่ดีที่สุดคือท่านอนหงาย
- ผ่อนคลายความตึงเครียดอย่างสม่ำเสมอ เช่น ฝึกการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ ประมาณ 3-4 ครั้ง ต่อสัปดาห์ แต่ไม่ควรออกกำลังกายในช่วงค่ำและก่อนนอน
- งดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา น้ำอัดลม โดยเฉพาะหลังเที่ยงวัน
- งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ถึงแม้ว่าการดื่อมสุราทำให้หลับเร็วขึ้น แต่จะเป็นการหลับ ๆ ตื่น ๆ
- ถึงแม้ว่าบางคืนจะนอนไม่หลับ ในช่วงเวลากลางวันสั้น ๆ ไม่เกิน 30 นาที ก็ควรที่จะทำงานให้ยุ่งเสมอ แทนที่จะนอนพักผ่อนเว้นแต่ ในบางรายที่พบว่าการงีบในระหว่างวันจะช่วยให้นอนหลับดีในเวลากลางคืน
ภญ. อัมพร อยู่บาง
แหล่งข้อมูล : นิตยสาร - HealthToday
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!