ภาวะนอนกรน ไม่ได้สร้างปัญหาแค่เสียงรบกวนอันน่ารำคาญเท่านั้น แต่อันตรายจากการนอนกรนอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีอาการเหล่านี้
-รู้สึกนอนไม่อิ่ม นอนไม่เพียงพอหรืออ่อนเพลีย แม้ว่าจะนอนในชั่วโมงที่เพียงพอแล้วก็ตาม
-รู้สึกง่วงนอนในเวลาที่ไม่ควรง่วง เช่น นั่งสัปหงกในที่ทำงาน หรือในระหว่างขับรถ
-ตื่นขึ้นมาตอนเช้าไม่สดชื่นทั้งที่นอนเต็มที่ หรือมีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย
-หงุดหงิด อารมณ์เสียง่ายกว่าปกติ รู้สึกว่าการจดจำลดลง
-หรือถ้าเป็นเด็ก ก็มักจะนอนซักพักแล้วสะดุ้งตื่น นอนกระสับกระส่าย ปัสสาวะรดที่นอน หรืออาจมีปัญหาการเรียน
ผลกระทบจากการนอนกรน
นอนกรนแบบไหนที่อาจอันตรายถึงชีวิต
การตรวจการนอนกรนทำได้อย่างไร
1. ตรวจร่างกายโดยแพทย์ แพทย์จะตรวจร่างกายอย่างละเอียดทางหู คอ จมูก เพราะสาเหตุเริ่มต้นอาจพบความผิดปกติตั้งแต่จมูก โพรงจมูก หลังโพรงจมูก บริเวณเพดานอ่อน ช่องปาก ต่อมทอนซิล โคนลิ้น เป็นต้น
2. ตรวจพิเศษในท่านอน โดยกล้องส่องตรวจหลอดลมชนิดอ่อนตัวได้ (Flexible fiberoptic laryngoscope) บริเวณโพรงหลังจมูก ตำแหน่งเพดานอ่อนและโคนลิ้น (เฉพาะคนไข้บางราย)
3. ตรวจด้วยการเอกซเรย์ เพื่อหาตำแหน่งที่ตีบแคบของทางเดินหายใจส่วนบน
4. การตรวจความผิดปกติจากการนอน (Polysomnography : PSG / Sleep Lab)เป็นการตรวจการหายใจที่สัมพันธ์กับการทำงานของหัวใจและสมองขณะหลับ
“นอนกรน” หลับลึกหรือหลับร้าย?
การตรวจการนอนหลับนี้ประกอบด้วย
- การตรวจวัดคลื่นสมอง เพื่อวัดระดับความลึกของการนอนหลับ และการตรวจวัดการทำงานของกล้ามเนื้อขณะหลับ หลับได้สนิทมากน้อยแค่ไหน ประสิทธิภาพการนอนดีเพียงใด ในบางคนที่มีลมชักขณะหลับ
- การตรวจดูการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะหลับ เพื่อดูว่าหัวใจมีการเต้นผิดจังหวะ ที่อาจมีอันตรายได้หรือไม่ มากน้อยเพียงใด
-การตรวจวัดความอิ่มตัวของระดับออกซิเจนในเลือดแดงขณะหลับ เพื่อตรวจดูว่าร่างกาย มีการขาดออกซิเจนหรือไม่ในขณะหลับ แล้วหยุดหายใจหรือหายใจเบา
- การตรวจวัดลมหายใจ ที่ผ่านเข้าออกทางจมูกและปาก และการตรวจวัดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อทรวงอกและกล้ามเนื้อหน้าท้องที่ในการหายใจ ดูว่ามีการหยุดหายใจหรือเปล่า เป็นชนิดไหน ผิดปกติมากน้อยหรืออันตรายแค่ไหน
- ตรวจวัดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อทรวงอก และกล้ามเนื้อหน้าท้อง ที่ใช้ในการหายใจ
- ตรวจเสียงกรน ดูว่ากรนจริงหรือไม่ กรนดังค่อยแค่ไหน กรนตลอดเวลาหรือไม่ กรนขณะนอนท่าไหน
- การตรวจท่านอน ในแต่ละท่านอนมีการกรนหรือการหายใจผิดปกติแตกต่างกันอย่างไร
การรักษาภาวะนอนกรน