ภาวะโรคอ้วนในเด็ก...สัญญาณร้ายสุขภาพ
ปัจจุบันปัญหาเรื่องของปัญหาพฤติ กรรมการกิน และรูปแบบการใช้ชีวิตที่เร่งรีบอันนำมาสู่โรคอ้วนและโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ นั้น ไม่ได้คุกคามเฉพาะผู้ใหญ่วัยทำงานเท่านั้น
แต่ปัจจุบันปัญหาโรคอ้วนยังลามไปถึงวัยนักเรียน ซึ่งถือเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ผู้ปกครองควรใส่ใจ และหันกลับมาแก้ไขปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของลูกหลานกันอย่างจริงจัง
ในอดีตคนทั่วไปมักคิดว่าเลี้ยงลูกให้อ้วนทำให้ดูน่ารัก น่าเอ็นดู แต่ในทางการแพทย์ เด็กที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานถือว่ามีภาวะโรคอ้วน ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกประเมินว่า ทั่วโลกมีเด็กอ้วนที่อายุต่ำกว่า 5 ปี จำนวนกว่า 22 ล้านคน ทำให้เด็กเหล่านี้กลายเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่าง ๆ ส่วนประเทศไทยจากการสำรวจสถานการณ์ปัญหาโรคอ้วนในนักเรียนพบว่าเด็กไทยทุก ๆ 5 คนจะพบอย่างน้อย 1 คนที่เป็นโรคอ้วน ซึ่งนับเป็นตัวเลขที่น่าตกใจอย่างมาก เนื่องจากโรคอ้วนเป็นต้นเหตุที่ก่อให้เกิดโรคร้ายต่าง ๆ ตามมาอีกมากมาย อาทิ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ โรคมะเร็งและโรคหัวใจ เป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้นเด็กหญิงที่อ้วน จะเข้าสู่ภาวะวัยรุ่นเร็วกว่าปกติ ประจำเดือนจะมาเร็ว และกระดูกปิดเร็ว ทำให้สูงได้ไม่เต็มศักยภาพ จึงน่าเป็นห่วงว่าเด็กรุ่นใหม่จะเตี้ยลงเรื่อย ๆ
นอกจากนี้ภาวะโรคอ้วนยังมีผลกระทบต่อการเรียนของเด็กอีกด้วย โดยพบว่าเด็กอ้วนส่วนมากมักมีปมด้อยจากรูปร่างของตัวเองและมักถูกเพื่อน ๆ ล้อ
ทำให้ไม่อยากไปโรงเรียน เบื่อหน่ายการเรียนได้ ส่งผลให้เรียนไม่ดี ผู้ปกครองจึงต้องดูแลในเรื่องนี้เป็นสำคัญ เพื่อ ไม่ให้โรคอ้วนอันเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ปกครองมามีส่วนทำให้เด็ก ๆ เหล่านี้ต้องเสียอนาคต
ข้อมูลจาก รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงชุติมา ศิริกุลชยานนท์ ภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ และประธานโครงการเด็กไทยดูดีและมีพลานามัย มหา วิทยาลัยมหิดล ระบุว่า กล่าวถึงแนวทางการที่จะให้เด็กมีภาวะทางโภชนาการที่สมบูรณ์ ต้อง เตรียมตัวตั้งแต่ยังเล็ก อย่าเลี้ยงดูให้อ้วน พ่อแม่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีต่อลูกและส่งเสริมการกินที่ถูกต้องให้แก่ลูก หันกลับมารับประทานอาหารธรรมชาติที่ครบ 5 หมู่ ได้แก่ ข้าวกล้อง แทนข้าวขัดสี ธัญพืช ปลา สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง รับประทานผักและผลไม้มีเก็บไว้ในตู้เย็นเป็นประจำ แทนขนมที่ให้พลังงานสูง เช่น เค้ก ขนมกรุบกรอบ หรือมันฝรั่งทอด งดซื้อน้ำอัดลม น้ำหวานไว้ในตู้เย็น เด็กควรดื่มน้ำเปล่า และนมที่ดีคือนมจืดหรือนมไขมันต่ำ หลีกเลี่ยงอาหารฟาสต์ฟู้ดเนื่องจากมีไขมันสูง หลีกเลี่ยงการกินอาหารหรือของว่าง (ขนมขบเคี้ยว) ขณะดูทีวี หรือรับประทานอาหารพร้อมกับดูทีวีจะทำให้ลืมความอิ่มไปและออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที
นอกจากนี้ ควรแนะนำวิธีการเลือกซื้อขนม รวมถึงเครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์อาหารธรรมชาติแปรรูปต่าง ๆ ให้เด็กรู้จักเลือกทานอาหารที่ดีมีประโยชน์อย่างมีหลักวิชาการด้วยตัวเอง ในปริมาณที่พอเหมาะต่อร่างกาย ไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป
โดยให้เด็กยึดหลัก 3 ป.ในการเลือกซื้อ
(1) ป.-ปลอดภัย กินแล้วไม่มีโทษต่อร่างกาย ดูลักษณะทั่วไปสะอาด ไม่มีสีฉูดฉาด บรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่มิดชิด ดูฉลากอาหาร เลขทะเบียน อย. วันผลิต วันหมดอายุ และส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ไม่มีวัตถุกันเสีย สารปนเปื้อนต่อสุขภาพ เช่น จุลินทรีย์
(2) ป.-ประโยชน์ ควรสอนให้เด็กรู้จักเปรียบเทียบ คุณค่าอาหารทางโภชนาการ
(3) ป.-ประหยัด ควรสอนให้เด็กรู้จักคิดก่อนซื้อว่าสิ่งใดคุ้มค่าเงินที่จะจ่ายหรือไม่เปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกัน อย่างไรก็ตาม สำหรับท่านผู้ปกครอง การเลือกผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพขึ้นกับดุลพินิจ คงต้องพิจารณาถึงความจำเป็นต้องใช้หรือไม่ ความปลอดภัย ประโยชน์ที่ได้รับ ความคุ้มค่า และอัตภาพของแต่ละบุคคล
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีการตระหนักถึงปัญหาภาวะโภชนา การเกินและโรคอ้วนในเด็ก มีการขับเคลื่อนทั้งภาครัฐ ร่วมกับภาคเอกชน
และมีการคำนึงถึงสุขภาพของผู้บริโภคมากขึ้น โดยในส่วนของบริษัทผู้ผลิตอาหาร ได้มีการลดหวาน ลดไขมันอิ่มตัว ลดเกลือ ในผลิตภัณฑ์ และเพิ่มคุณค่าอาหารและนำประโยชน์ของอาหารธรรมชาติมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เอื้อต่อสุขภาพ เช่น ขนมกรุบกรอบจากเดิมมีเพียงแป้ง น้ำตาล ไขมัน มีการเพิ่มคุณค่าโดยเสริมโปรตีน ใยอาหารจากธัญพืช แต่เด็กไม่ควรบริโภคเกิน 1 ซองเล็กต่อวัน และในด้านอุตสาหกรรมมีการปรับลดเกลือในผลิตภัณฑ์อาหาร หรือน้ำตาลในเครื่องดื่มบางชนิดและเพิ่มคุณค่าเสริมโปรตีน ใยอาหารจากธัญพืช เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม ยังคงแนะนำว่าผลไม้เป็นอาหารว่างที่ดีที่สุดกับสุขภาพเด็ก
คุณค่าจากอาหารธรรมชาติช่วยลดปัญหาสุขภาพนี้ได้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เรวดี จงสุวัฒน์ ภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า อาหารธรรมชาติเป็นแหล่งอาหารที่มีประโยชน์สูงเหมาะสมกับทุกวัย แต่ต้องรู้จักเลือกกินให้เหมาะสม
โดยเทรนด์ฮิตของอาหารธรรมชาติ ที่ได้รับความนิยมในลำดับต้น ๆ คือ กลุ่มธัญพืชต่าง ๆ โดยเฉพาะงาดำ ถั่วเหลือง ลูกเดือย จมูกข้าวสาลี และมอลต์ เป็นต้น เนื่องจากรับประทานได้ทุกเพศทุกวัย และให้คุณค่าทางโภชนาการสูง ทั้งคาร์โบไฮเดรต รวมถึงโปรตีนที่ช่วยในการเจริญเติบโต นอกจากนี้ยังเป็นแหล่ง วิตามินและเกลือ แร่ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายสูง ทั้งวิตามินเอ บี 1 บี 2 บี 12 แคล เซียม ธาตุเหล็ก โฟเลท และไอโอ ดีน อีกทั้งยังมีเส้นใยอาหารสูง
ซึ่งเส้นใยอาหารที่มีอยู่ในธัญพืชนั้นเป็นชนิดพิเศษที่ละลายในน้ำได้ ทำหน้าที่เหมือนเจลที่คอยอุ้มน้ำไว้ ลำไส้จึงขับเคลื่อนได้ดี
ช่วยลดปัญหาเรื่องท้องผูกและความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ได้ อีกทั้งยังช่วยลดภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ ตัวอย่างเครื่องดื่มคุณค่าจากธรรมชาติ ที่รับความนิยมมานาน เช่น เครื่องดื่มมอลต์เพราะมอลต์เป็นคุณค่าธรรม ชาติ ที่ได้จากข้าวบาร์เลย์ที่ไม่ผ่านการขัดสี ซึ่งอุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งเหมาะกับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะเด็กเล็กที่อยู่ในวัยกำลังเจริญเติบโต
ปกติร่างกายคนเรา ควรได้รับปริมาณ เส้นใยอาหาร 20-25 กรัมต่อพลังงานที่ร่างกายต้องการ 2,000 แคลอรีต่อวัน นักโภชนาการจึงแนะนำให้รับประทานผักและผลไม้ทุกมื้อ แต่อย่างไรก็ดี ปริมาณเส้นใยอาหารที่ได้รับจากผักผลไม้นั้น ถ้าจะให้ได้ตามปริมาณที่แนะนำต้องรับประทานในปริมาณที่เยอะมาก ๆ ซึ่งเป็นไปได้ยาก ดังนั้น หากเราสามารถรับประทาน ธัญพืชต่าง ๆ ได้ทุกมื้อก็จะช่วยให้เราได้รับเส้นใยอาหารมากขึ้น
ด้วยประโยชน์มากมายของธัญพืชเหล่านี้ นักโภชนาการส่วนใหญ่จึงมักแนะนำให้ผสมเมล็ดธัญพืชหลาย ๆ ชนิดลงในอาหารทุก ประเภทที่บริโภคเพื่อให้ได้คุณค่าทางโภชนาการมากที่สุด เช่น เติมถั่ว งา ลูกเดือย ข้าวโอ๊ต หรือ ข้าวบาร์เลย์ เข้าด้วยกันในเมนูอาหาร ที่กินในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว แต่ต้องมั่นใจธัญพืชเหล่านั้นไม่มีสารปนเปื้อน ส่วนผู้ที่มีเวลาน้อย หรือไม่สะดวกในการปรุงอาหารเอง อาจพิจารณาเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของธัญพืชก็ได้ ซึ่งปัจจุบันธัญพืชได้ถูกนำมาแปรรูปเป็นสินค้าออกสู่ตลาดมากมาย เพื่อเป็นทางเลือกให้กับคนรุ่นใหม่ผู้รักสุขภาพ เช่น ในรูปของเครื่องดื่มสุขภาพ เพราะนอกจากจะสะดวกยังช่วยให้ร่างกายได้รับคุณค่าสารอาหารจากธรรมชาติซึ่งดีต่อสุขภาพอีกด้วย
แต่อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคควรพิจารณาเลือกซื้อผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารจากธรรมชาติ โดยคำนึงถึง 3 องค์ประกอบสำคัญคือ หวานน้อย ไขมันต่ำ และมีเส้นใยอาหารสูง นอกจากนี้ ต้องมีแหล่งที่มาและบริษัทคุณภาพน่าเชื่อถือ เพื่อให้ได้คุณค่าจากธัญญาหารอย่างแท้จริง เพราะหากวัตถุดิบ และขบวนการผลิตไม่ได้มาตรฐาน เนื่องจากธัญพืชและธัญญาหารเหล่านี้เป็นเชื้อราได้ง่าย หากเก็บรักษาและผลิตไม่ถูกวิธี ดังนั้นนอกจากจะไม่ให้คุณค่าอาหารจากธรรมชาติแล้วยังก่อให้เกิดโทษร้ายแรงต่อสุขภาพอีกด้วย
ข้อมูลจาก ดร.อภิสิทธิ์ ฉัตรทนานนท์ ประธานมูลนิธิคุณแม่คุณภาพ.
นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์