เทคนิคเปเปอร์โครมาโทกราฟฟี่

เปเปอร์โครมาโทกราฟี


เป็นวิธีการแยกสารที่ผสมกันโดยอาศัยหลักการแพร่พื้นผิวของตัวทำละลาย 2 ชนิดที่ไม่เท่ากัน อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากคุณสมบัติเกี่ยวกับความสามารถของตัวทำละลาย เปเปอร์โครมาโทกราฟีเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย

เทคนิคเปเปอร์โครมาโทกราฟฟี่


โดยใช้กระดาษกรองเป็นตัวดูดซับมีเทคนิคการทำเป็นขั้น ๆ ดังต่อไปนี้


1. ตัดกระดาษกรองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าให้มีขนาดที่ต้องการ

2. ที่ด้านใดด้านหนึ่งของกระดาษกรอง ลากเส้นด้วยดินสอดำให้ห่างจากขอบประมาณ 1 นิ้ว

3. หยดสารละลายที่ต้องการจะแยกด้วยปิเปอตต์รูเล็ก ลงบนกระดาษกรองตามแนวเส้นที่ลากไว้ให้มีระยะห่างพอสมควรแล้วตั้งทิ้งไว้ให้แห้ง

4. ม้วนกระดาษให้เป็นรูปทรงกระบอกแล้วเย็บปลายทั้งสองข้างให้ติดกัน แต่อาจใช้แถบกระดาษเล็ก ๆ แทนก็ได้

เทคนิคเปเปอร์โครมาโทกราฟฟี่


5. เตรียมตัวทำละลายผสมให้เหมาะกับสารที่ต้องการจะแยก

6. ใส่ตัวทำละลายในภาชนะที่จะใช้ทำเปเปอร์โครมาโทกราฟี (อาจเป็นบีกเกอร์ แก้วก้นกลมหรือฟลาสก็ได้ แต่ควรมีขนาดเหมาะสมกับกระดาษที่ใช้) ให้สูงจากก้นภาชนะไม่ควรเกิน 3/4 นิ้ว

7. นำม้วนกระดาษกรองที่ทำเตรียมไว้ในข้อ 4 มาใส่ในภาชนะที่เตรียมไว้ในข้อ 6 (ต้องให้จุดบนกระดาษกรองอยู่เหนือตัวทำละลายเล็กน้อย และอย่าให้กระดาษกรองสัมผัสกับข้างภาชนะ) ปิดภาชนะเพื่อป้องกันมิให้ตัวทำละลายระเหย

เทคนิคเปเปอร์โครมาโทกราฟฟี่



8. ตั้งทิ้งไว้ให้ตัวทำละลายสูงขึ้นประมาณ 3/4 ของกระดาษกรอง นำออกมาทำเครื่องหมายที่ตัวทำละลายเคลื่อนที่มาถึง แล้วปล่อยให้แห้งด้วยอากาศ

9. วัดระยะทางที่ตัวทำละลายเคลื่อนที่โดยเร็มวัดจากแนวที่จุดสารไปจนถึงจุดที่ตัวทำละลายเคลื่อนที่ไปถึงและวัดระยะทางที่ตัวละลายเคลื่อนที่ไปเช่นเดียวกันการวัดระยะทางนี้ใช้หน่วยเป็นเซนติเมตร

หมายเหตุ หากตัวละลายไม่มีสีจะไม่ทราบว่าตัวละลายขึ้นไปอยู่ ณ ตำแหน่งใดจำเป็นจะต้องพ่นด้วยสารเคมีเพื่อทำให้เกิดสีจะได้เห็นว่าตัวละลายอยู่ที่ใด

10. หาค่า Rf ซึ่งหาได้จากอัตราส่วนระหว่างระยะทางที่ตัวละลายเคลื่อนที่กับระยะทางที่ตัวทำละลายเคลื่อนที่ ดังนี้

เทคนิคเปเปอร์โครมาโทกราฟฟี่


Rf เป็นค่าเฉพาะ ของตัวละลายแต่ละชนิดสำหรับตัวทำละลายนั้น ๆ


ดังนั้นสารที่เรายังไม่ทราบว่าเป็นอะไรและผสมกันอยู่หลายชนิด สามารถจะวิเคราะห์หาได้โดยการหาค่า Rf ของสารนั้น ๆ ก่อนแล้วนำค่า Rf เปรียบเทียบกับค่า Rf ที่ทราบแล้ว


ขอขอบคุณ ข้อมูลที่มีประโยชน์จาก เว็บไซต์ Digital Library For school net
เพื่อร่วมกันสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้บนโลกอินเตอร์เน็ต

ผู้มีบทความทางด้านวิทยาศาสตร์น่ารู้
สามารถส่งผลงานของท่านมาได้ที่ arunee@teeneemedia.com

เทคนิคเปเปอร์โครมาโทกราฟฟี่


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์