อากาศร้อน... อย่าให้ใจร้อนตาม

เมื่อความหนาวพัดผ่านไป


เป็นสัญญาณเตือนให้รู้ว่า ฤดูร้อนกำลังจะย่างเข้ามาเยือนอีกครั้ง วาไรตี้เดือนเมษายนจึงมีหลากหลายวิธีคลายร้อนมาฝากกันตลอดทั้งเดือน สำหรับอาทิตย์นี้ มาหาคำตอบกันว่าทำไมความร้อนถึงได้ส่งผลให้คนเราอารมณ์แปรปรวนได้ง่ายกันก่อน

อากาศร้อน... อย่าให้ใจร้อนตามอากาศร้อน... อย่าให้ใจร้อนตาม


ศ.นพ.กวี สุวรรณกิจ จิตแพทย์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์


เล่าถึงพฤติกรรม ของคนในช่วงหน้าร้อนให้ฟังว่า อากาศร้อนทำให้คนเราเกิดความอึดอัด สภาวะ ความร้อนที่เกิดขึ้นในเมืองไทยนี้ อาจทำให้เกิดอาการหงุดหงิดได้ รวมทั้งทำให้ความอดทนลดลง จะเห็นได้จาก ในช่วงที่อากาศร้อนคนจะไม่ค่อยอยากทำงาน แต่เมื่อถึงในช่วงหน้าหนาว จะกลับมาคึกคักและมีความกระฉับกระเฉงขึ้นอีกครั้งแต่ไม่ใช่หนาวมากจนเกินไป

สิ่งที่ความร้อนสร้างปัญหาให้กับเรา คือ


ส่งผลทางร่างกาย ด้วยการเสียเหงื่อมากกว่าปกติ เกิดอาการ กระหายน้ำ ส่งผลให้อึดอัด ไม่อยากออกกำลัง เพราะเมื่อไรที่ใช้กำลังนั้น หมายความว่าเป็นการเพิ่มความร้อนให้กับร่างกาย ฉะนั้นในช่วงหน้าร้อนคนเราจึงพยายามไม่ใช้กำลัง ไม่ขยับเขยื้อนตัวมากนัก ทำให้เกิดความขี้เกียจตามมาได้

ด้านจิตใจ เป็นการเพิ่มความ กระสับกระส่าย ซึ่งแต่ละคนไม่เหมือนกัน


อย่างคนทำงานที่ต้องทำงานกลางแจ้ง ทำงานได้สักระยะหนึ่งจะต้องหลบแดดเข้าที่ร่ม เพื่อหยุดพักบ้างเป็นระยะ ๆ หรือสังเกตได้จากเมืองไทยสมัยก่อนยังไม่มีห้องแอร์ พบว่า คนที่ทำงานในสำนักงานหรือคนงาน จะทำงานเชื่องช้า มาในระยะหลังเมื่อมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงติดแอร์ ในห้องทำงานทำให้มีสภาวะของอากาศ ที่เย็นสบายขึ้น คนงานในสำนักงานต่าง ๆ จะมีความกระฉับกระเฉงในการทำงานมากขึ้นจากเดิม จากจุด นี้ทำให้ทราบว่า สิ่งที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในการทำงาน เป็นเรื่องของความรู้สึกสบายกายส่งผลถึงจิตใจที่สบายตามไปด้วย

อากาศร้อน... อย่าให้ใจร้อนตามอากาศร้อน... อย่าให้ใจร้อนตาม


อาการหงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย


ที่เกิดขึ้นในช่วงหน้าร้อนนั้น เกิดจากระบบของร่างกาย โดยธรรมชาติ สรีระของร่างกายจะมีอุณหภูมิที่พอเหมาะอยู่ที่ประมาณ 75 องศาฟาเรนไฮต์ เป็นระดับที่คนไม่ว่าจะเป็นชนชาติใดจะรู้สึกสบายที่สุด ไม่หนาว ไม่ร้อน เมื่ออุณหภูมิต่ำกว่านี้จะรู้สึกหนาว และเมื่ออุณหภูมิสูงกว่านี้จะรู้สึกร้อน

อุณหภูมิเพิ่มสูงมากขึ้นนี้


แต่ละคนจะมีความอดทนได้แตกต่างกันไป เช่น ถ้าเคยอยู่เมืองหนาวแล้วกลับมาอยู่ในเมืองร้อนที่สภาพอากาศที่ร้อนเพียงเล็กน้อยจะทนได้ไม่นาน รู้สึกว่าร้อนมาก ในขณะที่คนอยู่เมืองร้อนเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นในอุณหภูมิที่เท่ากัน จะยังสามารถอดทนได้อยู่ ไม่รู้สึกร้อนมากนัก นั่นเป็นเพราะสภาพร่างกาย ความคุ้นเคยของมนุษย์มีความแตกต่างกัน

ความร้อนที่สูงขึ้นไปจนถึงจุดที่ทนไม่ได้ของแต่ละคนนั้น


จึงขึ้นอยู่กับพื้นฐานความอดทนของแต่ละคน รวม ทั้งประสบการณ์ การเลี้ยงดู รวมถึงสภาวะแวดล้อม ซึ่งล้วนมีผลต่อความอดทนต่อสภาพอากาศที่ร้อนทั้งสิ้น แต่จะมีจุดที่ทนไม่ได้ที่เท่ากันในอุณหภูมิที่สูงขึ้นประมาณ 35-40 องศาเซลเซียสขึ้นไปเหมือนกันทุกคน

อากาศร้อน... อย่าให้ใจร้อนตามอากาศร้อน... อย่าให้ใจร้อนตาม


บางคนคุ้นกับอากาศร้อน เคย


ชินกับสภาพอากาศเช่นนี้ เมื่อต้องมา เผชิญกับอากาศร้อนจะรู้สึกเฉย ๆ หรือถ้าจะเกิดอาการหงุดหงิดก็มีเพียงเล็กน้อย ต่างกับบางคนที่เกิดและเติบโตขึ้นมาน้อยครั้งที่จะได้สัมผัสกับสภาพอากาศที่ร้อน เมื่อต้องเผชิญจึงรู้สึกไม่สบายตัว หงุดหงิด อึดอัด รับไม่ค่อยได้กับสภาพอากาศเช่นนี้ รวมถึงกรณีคนต่างชาติบางคนที่รู้สึกเบื่ออากาศหนาว เมื่อมาเมืองไทยกลับมานอนอาบแดดอย่างสบายใจ ในขณะที่คนไทยกลับหลีกเลี่ยงการเผชิญกับแสงแดดเป็นเวลานาน ซึ่งตรงนี้เป็นส่วนของภาวะจิตใจของคนที่ชอบหรือไม่ชอบกับสิ่งนั้นด้วย

ความร้อนจากสภาพอากาศจะส่งผลให้เพิ่มความหงุดหงิดพื้นฐานขึ้น


ทำให้เราอดทนต่อสิ่งอะไรที่เข้ามา กระทบจิตใจได้น้อยลง เพราะเมื่ออยู่ในอากาศปกติ ใครจะพูด จะแหย่ หรือจะแกล้งอะไร จะไม่ค่อยโมโหมากนัก ในทางตรงข้าม อากาศร้อน ๆ ใครมาพูดนิด สะกิดหน่อย อาจโดนสวนกลับอย่างรวดเร็วได้ หรือใครมาเพิ่มงานให้ทำงานมากขึ้นจากเดิมในขณะที่คนนั้นอยู่ในสภาวะความรู้สึกที่ร้อนอยู่ อาจทำให้เกิดอาการหงุดหงิด โมโห จนเกิดการมีปากเสียงขึ้นได้ จุดระเบิดเกิดง่ายขึ้น

พฤติกรรมเช่นนี้ไม่ใช่สาเหตุ ของคนที่เป็นโรคจิตหรือโรคประสาท


แต่ถ้าเกิดขึ้นกับคนที่เป็นโรคจิตอยู่แล้ว อากาศร้อนจะสร้างความหงุดหงิด รวมทั้งความเครียดให้เพิ่มมากขึ้น จนทำให้โรคที่เป็นอยู่แล้วเกิดอาการกำเริบขึ้นได้ แต่ถ้าคนคนนั้นไม่มีแนวโน้มที่จะเป็นมาก่อน ไม่ว่าจะร้อนมากเพียงใดคงไม่ถึงขั้นเป็นโรคจิตได้ คงเพียงแค่รู้สึกไม่สบายใจ หงุดหงิด วุ่นวายใจเท่านั้น

อากาศร้อน... อย่าให้ใจร้อนตามอากาศร้อน... อย่าให้ใจร้อนตาม


อาการหงุดหงิด อารมณ์เสีย


จากสภาวะอากาศที่ร้อนส่งผลกับสภาวะจิตใจของคนด้วย เช่น ถ้าเกิดขึ้นกับคนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือคนที่มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง ความเครียดที่เกิดจากอากาศที่ร้อนสามารถที่จะทำให้ความดันสูงขึ้นได้ รวมทั้งผู้สูงอายุจะมีการสูญเสียไขมันใต้ผิวหนังเพราะผิวหนังจะทำหน้าที่ให้ความอบอุ่น เมื่ออากาศเปลี่ยนแปลงคนสูงอายุจะปรับตัวได้ยากกว่าคนที่อายุน้อย เพราะคนอายุน้อยจะมีชนวน คือ ไขมันมากกว่าคนสูงอายุ ฉะนั้นเมื่ออากาศร้อนขึ้นมาเล็กน้อย คนสูงอายุจะร้อนง่าย เมื่ออากาศเย็นขึ้น ก็จะหนาวง่าย เพราะตามธรรมชาติไขมันใต้ผิวหนังเมื่ออายุเพิ่มขึ้นจะลดลงนั่นเอง

นอกจากนี้ ผู้หญิงเมื่อถึงช่วง เวลาที่ประจำเดือนใกล้จะหมดของแต่ละคน


ที่เรียกกันว่า เลือดจะไป ลม จะมา ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนในร่างกาย ส่งผลกระทบต่อระบบประสาทการรับรู้ ร้อน หนาว ฉะนั้นจึงเอาแน่ไม่ได้ คนปกติรู้สึกว่าอากาศตอนนี้กำลังดี แต่คนคนนั้นจะบอกว่าหนาว ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นชั่วคราวเมื่อหมดประจำเดือนก็จะกลับมาสู่สภาพปกติ

อากาศร้อน... อย่าให้ใจร้อนตามอากาศร้อน... อย่าให้ใจร้อนตาม



สิ่งที่ทำได้ คือ


การหลีกเลี่ยงการเผชิญสภาพอากาศที่ร้อน แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องเตรียมตัวป้องกันตนเอง ในการเผชิญกับสภาพอากาศร้อนโดยมีอุปรณ์ช่วยบรรเทา เช่น ร่ม เสื้อ หมวก น้ำ เครื่องดื่มต่าง ๆ

ความร้อนที่เกิดขึ้นจากอากาศ


ก็ไม่ร้อนเท่าความรุ่มร้อนที่เกิดขึ้นในใจจากปัญหาที่มารุมเร้า จึงมีคำกล่าวที่ว่า ร้อนกายยังพอดับได้แต่อย่าให้ร้อนใจ เมื่อต้องเผชิญกับอากาศที่ร้อน...ยิ้มเข้าไว้ อย่าให้ใจรุ่มร้อนตามอากาศ...ใจเย็น ๆ....


ขอขอบคุณข้อคิดนานาสาระดี โดย: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์